พฤติกรรมคนยุคใหม่แบบไหน? เพิ่มเสี่ยงมะเร็งโรคที่คร่าชีวิตอันดับ 1
“โรคมะเร็ง” กลายเป็นโรคร้ายที่พบได้บ่อยมากในปัจจุบันมีแนวโน้มสูงขึ้นทุกปี ในขณะที่อายุของผู้ป่วยเองก็เริ่มลดน้อยลงเรื่อยๆ ซึ่งหนึ่งในสาเหตุมาจาก “พฤติกรรมการใช้ชีวิตของคนยุคใหม่” ที่เป็นโทษต่อสุขภาพร่างกาย
จากสถิติทะเบียนมะเร็งประเทศไทย โดยสถาบันมะเร็งแห่งชาติ รายงานว่าตลอด 20 ปีที่ผ่านมาโรคมะเร็งยังเป็นสาเหตุการตายอันดับหนึ่งของคนไทย ซึ่งแต่ละปี จะมีจำนวนผู้ป่วยมะเร็งรายใหม่ประมาณ 140,000 คน หรือคิดเป็นประมาณ 400 คนต่อวัน โรคมะเร็ง ที่พบมาก 5 อันดับแรกในคนไทย ได้แก่ มะเร็งตับและท่อน้ำดี มะเร็งปอด มะเร็งเต้านม มะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนักและมะเร็งปากมดลูก
สาเหตุการเกิดโรคมะเร็ง มีทั้งปัจจัยภายในร่างกาย เช่น พันธุกรรมมีสัดส่วนเพียง 5-10 % เท่านั้นแต่ส่วนใหญ่สาเหตุการเกินมะเร็ง เกือบ 100% มาจากพฤติกรรมการดำเนินชีวิตและสิ่งแวดล้อม เช่น การสูบบุหรี่ ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ กินอาหารที่ปนเปื้อนสารก่อมะเร็ง รวมไปถึงการได้รับสารก่อมะเร็งจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม ซึ่งล้วนเป็นพฤติกรรมคนรุ่นใหม่ที่ก่อโรคด้วยตัวเองโดยไม่รู้ตัว ดังนั้นการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการจะทำให้ลดความเสี่ยงได้ถึงร้อยละ 40
พฤติกรรมผิดๆ ทำยิ่งเสี่ยงมะเร็ง
- สูบบุหรี่หรือดื่มเหล้า
- ชอบทานอาหารไขมันสูง อาหารปิ้งย่าง อาหารทอด
- ไม่ชอบทานผัก เน้นหนักประเภทเนื้อแดง
- ทานอาหารแช่แข็ง อาหารแปรรูป อาหารกระป๋อง
- เครียดจัด นอนดึก กินดึก
- กลั้นปัสสาวะบ่อย
7 พฤติกรรมก่อโรคมะเร็ง เลี่ยงได้ช่วงลดโรค เพิ่มคุณภาพชีวิต
“กรดไหลย้อน” ปล่อยไว้นานเสี่ยง “มะเร็งหลอดอาหาร” ได้ แล้วอะไรคือสัญญาณโรค?
สัญญาณเตือนโรคมะเร็งควรพบแพทย์
- มีเลือดหรือสิ่งผิดปกติออกจากร่างกาย เช่น ตกขาวมากเกินไป
- มีก้อนหรือตุ่มเกิดขึ้นโดยที่ก้อนนั้นโตเร็วผิดปกติ
- ถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ ผิดปกติหรือเปลี่ยนไปจากเดิม เช่น มีเลือดปน
- มีแผลเรื้อรัง หายช้า เช่น แผลคล้ายร้อนในที่เป็นมานานเกินกว่าสัปดาห์
- เสียงแหบ ไอเรื้อรัง
- กลืนอาหารลำบาก เบื่ออาหาร น้ำหนักลด
- สังเกตเห็นว่าหูด ไฝ หรือปาน มีการเติบโตผิดปกติ
มะเร็งทุดชนิดมักไม่มี สัญญาณหรืออาการแสดงแน่ชัดในระยะแรกเริ่ม กว่าจะความผิดปกติ เซลล์มะเร็งก็อาจลุกลามและเข้าสู่ระยะท้ายๆ ทำให้การรักษาโรคมะเร็งทำได้ยากขึ้น โอกาสเสียชีวิตของผู้ป่วยก็ยิ่งเพิ่มสูงขึ้นด้วย ดังนั้นเพื่อลดอัตราการเสียชีวิตและความเจ็บป่วยจากโรคมะเร็ง การตรวจคัดกรองโรคมะเร็งต่างๆ จึงเป็นแนวทางปฏิบัติที่ดีที่สุด
ขอบคุณข้อมูลจาก : โรงพยาบาลเปาโล และ กรมการแพทย์