ทีมหมอ สธ. ออกชี้แจง "ประสิทธิภาพวัคซีนสูตรไขว้หลังฉีดไปแล้ว 1.5 ล้านโดส"


โดย PPTV Online

เผยแพร่




ประเทศไทยเป็นประเทศที่นำสูตรวัคซีนสูตรไขว้มาใช้ โดยเป็นการฉีดเข็มแรกซิโนแวค และ ตามด้วยแอสตร้าเซเนก้าในเข็มที่สอง ซึ่งที่ผ่านมาก็มีข้อสงสัยถึงประสิทธิภาพและความปลอดภัยของการใช้สูตรนี้ ล่าสุด ทีมแพทย์กระทรวงสาธารณสุข ต่างออกมายืนยันโดยพร้อมกันว่า "วัคซีนสูตรไขว้ ภูมิขึ้นสูง มีความปลอดภัย"

ปัจจุบันประเทศไทยมีการฉีดวัคซีนสูตรไขว้ ซิโนแวค-แอสตร้าเซนเนก้า แล้วทั้งสิ้น 1.5 ล้านโดส เพื่อนำมาเพื่อประสิทธิภาพในการต่อต้านสายพันธุ์กลายพันธุ์ที่กำลังเกิดขึ้น โดยเฉพาะสายพันธุ์เดลตาที่กลายเป็นสายพันธุ์กำลังระบาดในไทยขณะนี้ การฉีดวัคซีนสูตรไขว้จึงเกิดขึ้นด้วยเหตุผลว่า

เปิดสูตร "ฉีดวัคซีนไขว้" ในแต่ละกลุ่มเป้าหมาย

โชว์ผลวิจัย "ระดับภูมิคุ้มกัน" หลังฉีดวัคซีนสลับชนิด ซิโนแวค + แอสตร้าเซเนก้า

ฉีดสูตรไขว้ซิโนแวคเป็นเข็มแรก ตามด้วยแอสตร้าเซนเนก้า พบว่า มีประสิทธิผลเทียบเท่าฉีดแอสตร้าเซนเนก้า 2 เข็ม แต่สามารถฉีดได้รวดเร็วและครอบคลุม 2 เท่า ตามที่ กระทรวงสาธารณสุขได้ร่วมกับคณะผู้เชี่ยวชาญวิจัยติดตามภูมิคุ้มกันจากวัคซีน 

แต่ในระหว่างนั้น ก็เกิดคำถามขึ้นมากมายรวมถึงแพทย์จากสถาบันต่างๆ ที่ตั้งคำถามถึง "ประสิทธิภาพและความปลอดภัย" ไปจนถึงการตั้งคำถามว่า จะเป็นเพียงแนวทางการบริหารการใช้วัคซีนที่มีอยู่อย่างจำกัด โดยเฉพาะจำนวนของซิโนแวคที่มีมากกว่าแอสตร้าเซเนก้า ซึ่งจากเดิมจะใช้เป็นวัคซีนหลักของประเทศ ขณะที่การวิจัยสูตรไขว้ก็อาจยังไม่มากเพียงพอที่จะนำมาใช้กับประชาชน ซึ่งประเด็นเหล่านี้ถูกตั้งคำถามในการ อภิปรายไม่ไว้วางใจ ล่าสุด ทำให้ ทีมแพทย์ผู้บริหาร กระทรวงสาธารสุข ต้องออกมาชี้แจง 

นายแพทย์เกียรติภูมิ วงศ์รจิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข  กล่าวว่า  ข้อมูลที่มีการนำมาใช้ประกอบการอภิปราย ส่วนใหญ่เป็นเทคนิคทางวิชาการ อาจสร้างความเข้าใจคลาดเคลื่อน จึงชี้แจงว่า ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ถึงปัจจุบัน ฉีดไปแล้ว 32 ล้านโดส เป็นไปตามแผนการจัดการวัคซีน ซึ่งเป็นการใช้ทรัพยากรที่มีอย่างจำกัด และคุ้มค่าที่สุดภายใต้หลักฐานทางวิชาการที่ได้มีการวิจัย ทดลอง สังเกต นำมาประยุกต์ใช้ 

โดยวัคซีนสูตรไขว้ซิโนแวคตามด้วยแอสตร้าเซนเนก้า จะเป็นวัคซีนพื้นฐานที่ฉีดให้กับประชาชน ยืนยันว่า มีความปลอดภัย ระยะต่อไปเมื่อมีวัคซีนเข้ามามากขึ้น ทั้งแอสตร้าเซนเนก้า ไฟเซอร์ โมเดิร์นนา ซิโนฟาร์ม จะหาแนวทางเพิ่มประสิทธิภาพวัคซีน ให้ทันกับสถานการณ์สู้กับการกลายพันธุ์ของไวรัส

ด้าน นายแพทย์ศุภกิจ ศิริลักษณ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวว่า  กระทรวงสาธารณสุขได้ร่วมกับคณะผู้เชี่ยวชาญวิจัยติดตามภูมิคุ้มกันจากวัคซีน นำมาสู่การบริหารจัดการฉีดสูตรไขว้ซิโนแวคเป็นเข็มแรกตามด้วยแอสตร้าเซนเนก้า พบมีประสิทธิผลเทียบเท่าฉีดแอสตร้าเซนเนก้า 2 เข็ม แต่สามารถฉีดได้รวดเร็วและครอบคลุม 2 เท่า รวมทั้งแผนฉีดกระตุ้นเข็ม 3 ในผู้ฉีดวัคซีนซิโนแวค 2 เข็มโดยใช้วัคซีนต่างชนิดกัน จำนวน 3 ล้านคน โดยงานวิจัยดังกล่าวกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์และคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาลอยู่ระหว่างการเสนอตีพิมพ์ ซึ่งกระบวนการใช้เวลานานในสถานการณ์เร่งด่วนและฉุกเฉินไม่สามารถรอตีพิมพ์ก่อนแล้วมาบริหารจัดการได้

“วัคซีนสูตรไขว้ฉีดแล้วกว่า 1.5 ล้านคน มีความปลอดภัย ขออย่าพูดอะไรที่ทำให้ประชาชนสับสน ขณะนี้ไม่ได้ฉีดซิโนแวค 2 เข็มแล้ว แต่เป็นสูตรไขว้” นายแพทย์ศุภกิจกล่าว

 

ขณะที่ นายแพทย์โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า   คณะผู้เชี่ยวชาญทั้งด้านโรคติดเชื้อ ด้านวัคซีนและด้านระบาดวิทยาเป็นต้น ได้ร่วมกันสรุปหาข้อวินิจฉัยโดยอ้างอิงหลักฐานทางวิชาการที่ประเทศไทยมีและทั่วโลก ทั้งจากกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ไบโอเทค คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ข้อมูลตรงกันว่าสูตรไขว้มีประโยชน์ โดยผ่านการพิจารณาของคณะกรรมการวิชาการ ภายใต้คณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติถือว่ามีความรอบคอบรอบด้าน

ตามสถานการณ์โรคโควิด 19 มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ซึ่งสายพันธุ์เดลตาประสิทธิภาพวัคซีนลดลงทุกตัว แต่ยังป้องกันป่วยรุนแรงและเสียชีวิต จึงต้องเพิ่มประสิทธิผลของวัคซีนที่มีจำกัด

ส่วนนายแพทย์มานัส โพธาภรณ์ รองอธิบดีกรมการแพทย์  ระบุ ถึงการปรับแนวทางให้ผู้ป่วยโควิด 19 ได้รับยาฟาวิพิราเวียร์ โดยให้ยาเร็วขึ้น ในผู้ติดเชื้อที่เริ่มมีอาการเล็กน้อยและกลุ่มเสี่ยงที่ยังไม่มีอาการ ทำให้ฟื้นตัวได้เร็วและได้นำไปใช้ใน HI/CI  โดยกระจายยาไปยังสถานพยาบาลทั่วประเทศ และยังให้ยาฟ้าทะลายโจรในผู้ติดเชื้อที่ไม่มีอาการ และไม่มีโรคประจำตัว

รองโฆษกทบ. ยัน กองทัพภาคที่ 2 จำเป็นต้องฟ้องส.ส.ก้าวไกลใช้ข้อมูลเท็จอภิปรายฯ

ศึกษา 340,000 คน พบหน้ากากอนามัยชะลอการระบาดโควิด-19 ได้จริง

 

TOP การเมือง
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ