ไม่รอด! “เอ๋-ปารีณา” คดีบุกรุกพื้นที่ป่าสงวน งดสิทธิการเมืองตลอดชีวิต


โดย PPTV Online

เผยแพร่




ศาลฎีกา พิพากษาคดีบุกรุกพื้นที่ป่าสงวน “ปรีณา” เพิกถอนสิทธิการเลือกตั้ง 10 ปี เเละไม่มีสิทธิรับสมัครเลือกตั้ง เเละดำรงตำเเหน่งทางการเมืองตลอดชีวิต

ศาลฎีกาพิพากษา ให้นางสาวปารีณา ไกรคุปต์ ส.ส. เขต 3 จังหวัดราชบุรี พ้นจากตำแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร นับแต่วันที่ 25 มีนาคม 2564 ด้วยกระทำการฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรมอย่างร้ายแรง มีพฤติกรรมก่อความเสียหาย ตามมาตรฐานทางจริยธรรมของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ และผู้ดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระ รวมทั้งผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน และหัวหน้าหน่วยงานธุรการของศาลรัฐธรรมนูญและองค์กรอิสระปี 2561 ข้อ 3 ,ข้อ 17 ข้อ 27 วรรคสอง ประกอบกับรัฐธรรมนูญ

เปิดประวัติ “ปารีณา ไกรคุปต์” จาก “ไทยรักไทย” สู่ “พลังประชารัฐ”

ป.ป.ช.ฟัน "เอ๋ ปารีณา"รุกป่าผิดจริยธรรมร้ายแรง

“ปารีณา” ยันไม่ได้รุกป่าสงวนฯ พร้อมสู้ทุกคดี ชี้โดนกระทำเยอะกว่าคนอื่น

มาตรา 235 วรรคหนึ่ง วรรคสาม และวรรคสี่ และ พ.ร.ป.ป.ป.ช.ปี 2561 มาตรา 81 และมาตรา 87 ศาลสั่งเพิกถอนสิทธิ์เลือกตั้ง 10 ปี ย่อม มีผลไม่มีสิทธิ์สมัคร ส.ส.-ส.ว.-ไม่มีสิทธิ์ดำรงตำแหน่งทางการเมืองใด 

กสม.จี้ยกเลิก “พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ฉ. 27” ชี้จำกัดเสรีภาพสื่อ-ละเมิดสิทธิมนุษยชน

กสม.เผยผลสำรวจสิทธิมนุษยชน เสียงส่วนใหญ่“หนุนทำแท้งเสรี”

โดยศาลพิจารณาแล้วเห็นว่าตามประเด็นที่มีการวินิจฉัยคือ ผู้ร้อง หรือ ป.ป.ช. มีอำนาจยื่นร้องได้ตามประมวลจริยธรรมและตามรัฐธรรมนูญมาตรา 253 และพิจารณาในข้อเท็จจริงเรื่องการขัดกันของผลประโยชน์ส่วนตนและประโยชน์ส่วนรวมตามประมวลจริยธรรมข้อ 3 และข้อ 27 วรรคสอง ว่า สาวปารีณา เป็น ส.ส. มีหน้าที่ฝ่ายนิติบัญญัติในอำนาจหน้าที่การเสนอพิจารณาร่างกฎหมายต่างๆ ควบคุมการบริหารราชการแผ่นดิน การตั้งกระทู้ถาม การอภิปราย การเข้าชื่อถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง แต่ไม่มีหน้าที่โดยตรงในการทำงานของกรมป่าไม้ การเป็น ส.ส. ของนางสาวปริณาจึงไม่มีผลต่อการพิจารณาปฏิรูปที่ดิน 

แต่ประเด็นวินิจฉัยว่าการกระทำความผิด มาตรฐานทางจริยธรรมข้อ 17 เรื่องการกระทำใดที่ก่อให้เกิดความเสื่อมเสียต่อเกียรติศักดิ์ของการดำรงตำแหน่งนั้น ชี้ถึงการดำรงตำแหน่ง ส.ส.ถึง 4 สมัยนางสาวปารีณา ตั้งแต่ปี 2548 โดยปี 2554 และ 17 มิถุนายน 2562 ที่มีการปฏิรูปที่ดิน แต่นางสาวปรีณาถือครองที่ดิน 665 ไร่ 1 งาน 53 ตารางวา ซึ่งเป็นที่ดินในเขตปฏิรูป  ไม่มีการส่งคืนให้เข้าสู่กระบวนการปฏิรูปที่ดิน ที่เป็นฝ่ายนิติบัญญัติย่อมต้องรู้ถึงคุณสมบัติการพิจารณาจัดสรรที่ดินคือ 1. ต้องเป็นเกษตรกร 2. ไม่มีที่ดินเพื่อประกอบการเกษตรของตนเอง 3. ได้รับการจัดสรรไม่เกินคนละ 50 ไร่ 

เพราะนางสาวปริณาทราบดีว่ามีที่ดินมากกว่าเกษตรกรคนอื่นนับ 10 เท่า หากเข้าสู่การปฏิรูปที่ดินอาจทำให้สูญเสียความครอบครองที่ดิน จึงมีเจตนาไม่ส่งมอบที่ดินคืนและหลีกเลี่ยงการส่งมอบที่ดิน แม้จะส่งมอบที่ดินคืนตั้งแต่วันที่ 12 ธันวาคม 2565 แต่เป็นการส่งคืนหลังการตรวจสอบ ไม่ใช่โดยการสมัครใจที่จะส่งมอบที่ดินเข้าสู่การปฏิรูปที่ดิน แต่เป็นการครอบครองอย่างต่อเนื่อง ถือเป็นการปิดโอกาสเกษตรกรคนอื่น ทำให้ที่ดินในเขตปฏิรูปไม่ได้จัดสรรให้แก่ผู้ยากไร้และทำให้ประชาชนเกิดความเคลือบแคลงสงสัยว่าทำไม ส.ส. จึงถือครองที่ดินจำนวนมาก เดี๋ยวพ่อนางสาวปารีณาเป็น ส.สงมา 4 สมัย จนถึงปัจจุบันจึงไม่ใช่เกษตรกรที่จะได้รับการจัดสรรที่ดิน โดยเฉพาะที่ดินที่ถือครองเป็นที่กลับคนละที่กับแหล่งที่อยู่อาศัยในอำเภอโพธาราม และมีทรัพย์สินมากกว่า 163 ล้านบาทจึงถือว่าไม่ได้ยากจนและขาดคุณสมบัติการได้รับจัดสรรที่ดินตั้งแต่ต้น 

ศาลจึงพิพากษาว่าเป็นการกระทำให้เกิดความเสื่อมเสียต่อเกียรติศักดิ์ของการดำรงตำแหน่ง  ซึ่งหมายถึงการไม่ปรับพฤกษ์ตนในการรักษาชื่อเสียงทำให้ประชาชนขาดความเชื่อถือศรัทธา  การถือครองที่ดิน 665 ไร่ทำกิจการขนาดใหญ่ในเขตปฏิรูปที่ดินโดยไม่มีเอกสารสิทธิ์ส่งผลต่อการใช้กฎหมายปฏิรูปทำให้ศาลพิจารณาถึงพฤติกรรมและเจตนาและความเสียหายเห็นได้ว่าเป็นการกระทำที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ 

โดยกระบวนการหลังจากนี้คณะกรรมการการเลือกตั้งจะต้องจัดการเลือกตั้งใหม่ภายใน 45 วัน นับแต่วันที่ศาลพิพากษา หรือภายในวันที่ 15 พฤษภาคม 2565

พ่อลูก 'ไกรคุปต์' ไม่รอด ฟาร์มไก่ 'เอ๋ ปารีณา'พ่นพิษ ตร.ฟัน 4 ข้อหาหนัก ส่งอัยการ 'ทวี' โดนรุกที่!

TOP การเมือง
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ