"ประยุทธ์" ย้อน 7 ปี ตัดสินใจเข้ามา บ้านเมืองเดินต่อไม่ได้


โดย PPTV Online

เผยแพร่




"ประยุทธ์" ย้อน 7 ปี ตัดสินใจเข้ามา บ้านเมืองเดินต่อไม่ได้ 'คสช.'แลกมาด้วยคำกล่าวหาประเทศไม่เป็นประชาธิปไตย

พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ได้ถึงย้อน 7 ปีก่อนย้ำตัดสินใจเข้ามาเพราะบ้านเมืองเดินต่อไม่ได้ ประชาชนไม่มีความสุข ชี้บทพิสูจน์ 'คสช.'แลกมาด้วยคำกล่าวหาประเทศไม่เป็นประชาธิปไตย ขอเดินหน้าทำให้ดีที่สุด

รวมที่นี่! หากไม่ไปเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. จะเสียสิทธิอะไรบ้าง และวิธีการแจ้งเหตุไม่ไปใช้สิทธิเลือกตั้...

ระหว่างเป็นประธานการประชุมเสวนา "ถามมา - ตอบไป เพื่อประเทศไทยที่ดีกว่าเดิม" โดยพล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า ยินดีเป็นอย่างยิ่ง ที่ได้มาพบทุกคนในวันนี้ ตนย้อนคิดเสมอถึงวันที่ตัดสินใจเข้ามาบริหารประเทศเมื่อ 7 ปีก่อน

นายกฯเห็นใจน้ำท่วม กทม. เชื่อทุกอย่างจะดีขึ้นในวันข้างหน้า

วันนั้นประเทศไทยมีการแบ่งขั้ว สลับกันต่อต้านซึ่งกันและกัน โดยเหตุการณ์ดังกล่าวได้เกิดขึ้นต่อเนื่องกันมานับ 10 ปี เป็นเหตุให้บ้านเมืองเดินหน้าต่อไปไม่ได้ คนไทยไม่มีความสุข และประเทศไทยได้ชื่อว่าเป็นคนป่วยแห่งเอเชีย ซึ่งในวันนี้ พวกเราหลายคนอาจจะลืมกันไปแล้ว และเมื่อตนได้ตัดสินใจไปแล้ว ก็ได้เดินหน้าทำให้ดีที่สุด

และย้อนไปตอนคสช. ก็เข้าใจดีว่าต้องแลกกับการถูกกล่าวหาว่าประเทศเราไม่เป็นประชาธิปไตย แต่คสช.ได้พิสูจน์ให้ประชาชนเห็นว่าทุกคนสามารถมีเสรีภาพทางความคิด ภายใต้กรอบกฎหมายที่ผ่อนปรนกับทุกฝ่ายมากที่สุด แม้จะมีอำนาจพิเศษมากมาย แต่ก็ไม่ได้ใช้ในทุกกรณี แต่ใช้เท่าที่จำเป็นเพื่อแก้ไขปัญหาเท่านั้น แต่การตรวจสอบต่างๆ องค์กรอิสระยังคงทำหน้าที่เป็นอิสระ โดยไม่เข้าไปก้าวล่วงใดๆ

"วัตถุประสงค์ของการเข้ามาในช่วงเวลาดังกล่าว เพื่อดำรงไว้ซึ่งความสงบเรียบร้อยของประเทศ บ้านเมืองสามารถเดินหน้าต่อไปได้ และทำให้นานาชาติเกิดความเชื่อมั่นประเทศไทย ทุกคนก็ได้เห็นว่าในช่วงหลังจากนั้น รัฐบาลไทยได้รับการยอมรับจากนานาชาติ และประเทศเรามีนักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางเข้ามาเยี่ยมเยียนกว่า 40 ล้านคน ในเวลานั้น รัฐบาลได้บริหารประเทศ ภายใต้วิสัยทัศน์ ประเทศไทยมีความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน เป็นประเทศพัฒนาแล้ว ด้วยการพัฒนาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งการสร้างบ้านสร้างชาติให้เป็นบ้านที่มีความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน ตามวิสัยทัศน์ที่วางไว้ จำเป็นต้องมี Master Plan ซึ่งก็คือ ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี"

พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี เป็นแผนภาพรวมใหญ่ที่จะทำให้ทุกภาคส่วนในสังคมเข้าใจและเห็นภาพบ้านของเราในอนาคตเดียวกัน เดินไปสู่เป้าหมายที่ตรงกัน อย่างไรก็ตามเมื่อเข้าสู่รัฐบาลใหม่ที่มาจากการเลือกตั้งในปี 2562 ตนได้มีโอกาสกลับมาสานต่อการบริหารภายใต้รัฐธรรมนูญปัจจุบัน ตนและคณะรัฐมนตรีทุกคน ได้ขับเคลื่อนเศรษฐกิจและความมั่นคงของประเทศอย่างต่อเนื่อง ขณะเดียวกัน แม้หลายประเทศ รวมถึงประเทศไทยจะได้รับผลกระทบจากสงครามการค้าระหว่างจีนและสหรัฐฯ แต่ประเทศไทยก็ยังเติบโตได้ดีในระดับหนึ่ง

พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า วิกฤตโรคระบาดโควิด-19 ตั้งแต่ปี 2563 ซึ่งเป็นวิกฤติโลกที่เราไม่ได้ก่อ และเป็นมหาวิกฤตครั้งที่ใหญ่ที่สุด นับตั้งแต่สิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2 แต่ส่งผลกระทบรุนแรงต่อการถดถอยทางเศรษฐกิจของทุกประเทศในโลก รวมถึงประเทศไทยที่เราถูกประเมินว่าจะได้รับผลกระทบมากที่สุดในระดับต้นๆ ของโลก เพราะเศรษฐกิจไทยพึ่งพาการท่องเที่ยวกว่าร้อยละ 20 ของ GDP ซึ่ง เมื่อมองย้อนกลับไป 2 ปี วิกฤติโรคระบาดโควิด-19 นี้ นับเป็นโจทย์ที่ยาก เพราะเราสู้อยู่กับศัตรูที่มองไม่เห็น ไม่มีอาวุธใดจะปราบได้ และต้องใช้งบประมาณจำนวนมากในการเยียวยา ช่วยเหลือประชาชน เพื่อตั้งหลัก ประคับประคองและกระตุ้นเศรษฐกิจ

 

พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า ผลสัมฤทธิ์จากความร่วมมือร่วมใจของคนไทยทุกภาคส่วน ทำให้องค์กรต่างประเทศหลายแห่ง รวมถึงองค์การอนามัยโลกให้การยอมรับ และชื่นชมประเทศไทย ให้เป็นประเทศที่รับมือกับสถานการณ์โควิดได้ดีที่สุดเป็นลำดับต้นๆ ของโลก เมื่อมองในแง่บวกแล้ว  แม้โควิดจะเป็นวิกฤตโลก แต่ก็เป็นโอกาสของไทยในหลายๆ ด้าน เช่น ทั่วโลกได้เห็นศักยภาพระบบสาธารณสุขไทย และยกระดับขีดความสามารถในการวิจัย พัฒนา และผลิตวัคซีนโควิด ซึ่งเป็นเทคโนโลยีชั้นสูงได้เองหลายชนิด พร้อมส่งเสริมบทบาทการเป็น “ศูนย์กลางด้านการแพทย์และสาธารณสุข” (Medical and Wellness Hub) ของโลก

 

พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า ขณะที่เมื่อเร็วๆ นี้ ทั่วโลก รวมถึงประเทศไทย ได้รับผลกระทบของวิกฤตจากความขัดแย้งระหว่างรัสเซีย-ยูเครน ซึ่งเป็นการเผชิญวิกฤติซ้อนวิกฤติ หลังจากสถานการณ์โควิด–19 โดยโลกแบ่งเป็นสองขั้ว ทรัพยากรที่เคยสมดุลต้องขาดแคลน มีผลให้ราคาสินค้า ราคาพลังงาน และค่าครองชีพปรับตัวสูงขึ้น สร้างความหวาดกลัวว่าสงครามจะยืดเยื้อ สิ่งสำคัญที่สุดในวันนี้ คือ การแก้ปัญหาความเดือดร้อนของประชาชน รัฐบาลจึงได้เข้ามาดูแลประชาชน เพื่อลดภาระค่าครองชีพของประชาชน ด้วยมาตรการต่างๆ ซึ่งรัฐบาลตระหนักว่าสถานการณ์ที่กำลังเกิดขึ้นในขณะนี้ มีความไม่แน่นอนและอาจยืดเยื้อ รัฐบาลจะติดตามประเมินสถานการณ์อย่างใกล้ชิดและต่อเนื่อง และพร้อมที่จะปรับปรุงแนวทางการช่วยเหลือ ให้เกิดประโยชน์สูงสุด 

พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า เรื่องสำคัญอีกเรื่อง ตนได้ประกาศให้ปี 2565 เป็นปีแห่งการแก้ไขหนี้ครัวเรือน ครอบคลุมลูกหนี้กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) ซึ่งขณะนี้ได้ปลดล็อคเงื่อนไขหลายประการ ทั้งนี้หากเราสร้างกลไกการทำงาน กลไกความร่วมมือในทุกระดับได้แล้ว ทุกอย่างก็จะทยอยดีขึ้น ไม่ใช่ว่าคนจนจะหมดไปในปีนี้ หรือในทันทีได้ มันต้องอาศัยเวลาและความร่วมมือด้วยกัน

"ที่ผ่านมาแม้ประเทศไทยจะเจอกับเรื่องวิกฤติซ้อนวิกฤติ ไม่ว่าจะจากโรคโควิด-19 ความขัดแย้งระหว่างรัสเซียและยูเครน รวมถึงเกิดความแตกแยก ทางความคิดมากมายแค่ไหนก็ตาม รัฐบาลของผมก็ยังเดินหน้าพัฒนาประเทศอย่างต่อเนื่อง  ภายหลังจากที่สถานการณ์โควิด-19 คลี่คลายลง ประเทศไทยเองต้องมี  การลงทุน และเตรียมความพร้อมที่จะเติบโต ด้วยการขับเคลื่อนเศรษฐกิจใหม่"

ผู้สื่อข่าวรายงานว่าแม้ฝ่ายประชาสัมพันธ์ของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ( สศช.) จะประชาสัมพันธ์การจัดงานดังกล่าว แต่ปรากฎว่าจนถึงเวลาและพล.อ.ประยุทธ์เดินทางมาถึงแล้ว เก้าอี้ผู้เข้าร่วมงานก็ยังว่างเกือบครึ่ง จนเจ้าหน้าที่ต้องขอให้สื่อมวลชน และฝ่ายเจ้าหน้าที่มานั่งแทน แต่ก็ยังคงว่างโหรงเหรง จนมีบางคนถึงกับระบุว่า เป็นเพราะประชาขนไม่ให้ความสนใจที่จะฟังการถามตอบของ พล.อ.ประยุทธ์ ทำให้ห้องเสวนาโหรงเหรง โดยการจัดงานดังกล่าวมีขึ้นระหว่างวันที่ 19-20 พ.ค.” จัดโดยสมาคมนิสิตเก่าวิศวกรรมศาสตร์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สมาคมนิสิตเก่าคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชีแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สมาคมนิสิตเก่าเศรษฐศาสตร์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  และคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.)

พรุ่งนี้! นายกฯ ประชุม ศบค.ชุดใหญ่ คาดผ่อนคลายมาตรการเพิ่ม

นายกฯเห็นใจน้ำท่วม กทม. เชื่อทุกอย่างจะดีขึ้นในวันข้างหน้า

 

 

 

TOP การเมือง
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ