นักวิทย์ ค้นพบดาวเคราะห์ดวงใหม่ เพิ่มความหวังอาจมีสิ่งมีชีวิตนอกโลก


โดย PPTV Online

เผยแพร่




นักวิทยาศาสตร์ค้นพบดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะจักรวาล ที่คาดว่าจะช่วยเพิ่มโอกาสในการศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับสิ่งมีชีวิตนอกโลก

“นาซา” เปิดภาพ-เสียงจริง ยานสำรวจลงจอด ผิวดาวอังคาร

สเปซเอ็กซ์-นาซา ส่งจรวดส่งนักบินขึ้นสู่อวกาศสำเร็จ

ดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะจักรวาลดวงนี้มีชื่อว่า กลีเซอร์ 486  บี (Gliese 486 b) จัดอยู่ในประเภทซูเปอร์เอิร์ธ  (super-Earth) หรือดาวเคราะห์ที่มีขนาดใหญ่กว่าโลก โดยนักวิจัยระบุว่าลักษณะของดาวดวงนี้คล้ายกับดาวศุกร์ ซึ่งร้อน-แห้งแล้ง และอาจมีกระแสลาวาไหลอยู่ตามพื้นผิว

แม้จะมีสภาพที่ไม่เอื้ออำนวยต่อการดำรงชีวิต แต่ด้วยระยะทางที่ถือว่าค่อนข้างใกล้กับโลก และลักษณะทางกายภาพ ทำให้ดาวเคราะห์ กลีเซอร์ 486  บี เหมาะสมสำหรับการศึกษาชั้นบรรยากาศด้วยกล้องโทรทรรศน์รุ่นใหม่ ๆ ทั้งบนภาคพื้นดิน และรุ่นที่ติดตั้งในอวกาศ ซึ่งรวมถึงกล้องโทรทรรศน์ “เจมส์ เว็บ ” (James Webb) ของนาซ่าที่มีกำหนดเดินทางออกจากโลกในเดือน ต.ค.นี้

โดยข้อมูลที่ได้จากดาวกลีเซอร์ 486  บี  อาจช่วยให้นักวิทยาศาสตร์เข้าใจชั้นบรรยากาศของดาวเคราะห์ที่อยู่นอกระบบสุริยะจักรวาลได้ดียิ่งขึ้น รวมถึงดาวเคราะห์ที่อาจมีสิ่งมีชีวิตอาศัยอยู่

สำหรับ ที่ตั้งของดาวกลีเซอร์ 486  บี  อยู่ห่างจากโลกประมาณ 9.5 ล้านล้านกิโลเมตร โดยโคจรอยู่รอบดาวฤกษ์แคระที่มีมวลเล็กว่าดวงอาทิตย์ประมาณ 3 เท่า รวมทั้งเย็นกว่าและสว่างน้อยกว่า  

โดย ดาวเคราะห์ดวงนี้อยู่ใกล้กับดาวฤกษ์ศูนย์กลางเป็นอย่างมาก จึงได้รับรังสีความร้อนปริมาณมหาศาล ทำให้อุณภูมิที่พื้นผิวสูงถึง 430 องศาเซลเซียส และอาจมีแรงโน้มถ่วงมากกว่าโลก 70 เปอร์เซ็นต์  

TOP ต่างประเทศ
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ