ผลวิจัยใหม่ชี้ฉีดไฟเซอร์-แอสตร้าฯ ครบโดสต้านเดลตาได้


โดย PPTV Online

เผยแพร่




องค์การอนามัยโลกออกมาระบุว่า ในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้านี้ เชื้อโควิดสายพันธุ์เดลตากำลังจะเป็นโควิดสายพันธุ์หลักที่ระบาดไปทั่วโลก คำถามสำคัญคือวัคซีนที่มีอยู่ป้องกันได้หรือไม่? ล่าสุดมีงานวิจัยใหม่จาก วารสารการแพทย์ New England Journal of Medicine ตีพิมพ์ผลวิจัยวัคซีนไฟเซอร์และแอสตร้าเซนเนกา ข่าวดีคือป้องกันได้ แต่ต้องฉีดให้ครบ 2 โดส

เมื่อวันพุธที่ผ่านมา วารสารการแพทย์ New England Journal of Medicine เผยผลการวิจัยใหม่ระบุว่า  วัคซีนไฟเซอร์มีประสิทธิภาพในการป้องกันการติดเชื้อโควิดเดลตาแบบแสดงอาการป่วย ได้ร้อยละ 88 โดยลดลงเล็กน้อยจากร้อยละ 93.7 เมื่อเทียบกับการติดเชื้อโควิดอัลฟาแบบแสดงอาการ

ส่วนวัคซีนแอสตร้าเซนเนกา มีประสิทธิภาพป้องกันเชื้อโควิดเดลตาได้ร้อยละ 67 สูงขึ้นเมื่อเทียบกับรายงานก่อนหน้าที่คาดกันว่าประสิทธิภาพป้องกันอยู่ที่ร้อยละ 60

สถาบันวัคซีน เผย “แอสตร้าเซเนก้า” ฉีดครบ 2 โดส ต้านโควิด สายพันธุ์อินเดีย 60%

ต้องเร่งฉีด! พบฉีดวัคซีนโควิด-19 เข็มเดียวสู้ "เบตา-เดลตา" ไม่ไหว

แต่ประสิทธิภาพนี้น้อยลงเมื่อเทียบกับไวรัสอัลฟา ซึ่งแอสตร้าเซนเนกามีประสิทธิภาพในการป้องกันอยู่ที่ร้อยละ 74.5 แสดงให้เห็นถึงความน่ากลัวของไวรัสเดลตา ที่ลดประสิทธิภาพของวัคซีน

ความน่าสนใจของรายงานชิ้นนี้มีการวัดประสิทธิภาพของการฉีดวัคซีนไฟเซอร์และแอสตร้าเซนเนกาเพียงเข็มเดียวด้วย  ระบุว่า หากเป็นไฟเซอร์เข็มเดียว ประสิทธิภาพในการป้องกันเชื้อเดลตาจะเหลือเพียงร้อยละ 36 ส่วนหากเป็นแอสตร้าเซนเนกาจะเหลือเพียงร้อยละ 30

สะท้อนถึงความสำคัญที่ผู้รับวัคซีนต้องฉีดให้ครบสองเข็ม จึงจะปลอดภัยพอจากเชื้อเดลตา  เพราะล่าสุดมีรายงานจากองค์การอนามัยโลก ออกมาเตือนว่า ในไม่กี่เดือนข้างหน้านี้ เชื้อเดลตาจะกลายมาเป็นโควิดสายพันธุ์หลักของโลก

การคาดการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นจากการเก็บข้อมูลในช่วง 4 สัปดาห์ที่ผ่านมา โดยอนามัยโลกระบุว่า ร้อยละ 75 ของตัวอย่างเชื้อจากหลายประเทศล้วนเป็นโควิดสายพันธุ์เดลตา

 

คอนเทนต์แนะนำ
ประกันสังคมแนะผู้ประกันตนม.40 รีบจ่ายเงินสมทบงวดแรก
"กลุ่มเส้นด้าย" ฟันเฟืองอาสาเล็กๆ ที่มีแต่ความตั้งใจ ไม่มีกรอบปิดกั้น

TOP ต่างประเทศ
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ