WHO ยอมรับเป็นสูตรแรก สลับฉีดวัคซีนโควิด-19 แอสตร้าฯ ต่อด้วยไฟเซอร์


โดย PPTV Online

เผยแพร่




อนามัยโลกชี้ สามารถฉีดแอสตร้าฯ เข็มแรก ไฟเซอร์/โมเดอร์นาเป็นเข็มสองได้ หากขาดแคลนหรือจำเป็น ให้เป็นดุลยพินิจแต่ละประเทศ

เมื่อวันที่ 9 ส.ค. องค์การอนามัยโลก (WHO) ประกาศผ่านเฟซบุ๊กออฟฟิเชียลระบุว่า “หากฉีดวัคซีนโควิด-19 แอสตร้าเซเนก้าเป็นเข็มแรก สามารถฉีดเข็มสองเป็นไฟเซอร์หรือโมเดอร์นาได้ ในบางสถานการณ์”

โดย WHO ให้เหตุผลว่า ขณะนี้การวิจัยเกี่ยวกับประสิทธิภาพและความปลอดภัยของการสลับฉีดวัคซีนยังคงดำเนินการอยู่ แต่มีข้อมูลเบื้องต้นว่า การฉีดไฟเซอร์หรือโมเดอร์นาตามหลังแอสตร้าเซเนก้า ปลอดภัยและให้ประสิทธิภาพดี ในสถานการณ์ที่ซัพพลายวัคซีนมีจำกัด

WHO เสนอเรียกสายพันธุ์โควิด-19 ด้วย “กลุ่มดาว” เผื่ออักษรกรีกถูกใช้หมด

เกาหลีใต้ยันอีกเสียง ใช้แอสตร้าฯ สลับไฟเซอร์ สร้างภูมิได้ดีกว่า 6 เท่า

นี่นับเป็นข้อความต่อสาธารณชนข้อความแรกของ WHO ที่ระบุในเชิงอนุมัติให้สามารถมีการฉีดวัคซีนโควิด-19 สลับยี่ห้อได้ อย่างไรก็ตาม การตัดสินใจสูตรการฉีดวัคซีนโควิด-19 ยังคงขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของสาธารณสุขแต่ละประเทศ ซึ่งต้องมีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์มาสนับสนุน เพื่อให้ประชาชนในประเทศนั้น ๆ มีความมั่นใจในการฉีดวัคซีนสลับยี่ห้อ ขณะที่ประชาชนไม่ควรตัดสินใจด้วยตัวเองว่า จะฉีดวัคซีนยี่ห้อใดเป็นเข็มแรกหรือเข็มสอง

WHO ประกาศเพิ่มอีก 3 สายพันธุ์ "โควิด-19 สายพันธุ์ตรวจสอบเพิ่มเติม”

อนามัยโลกเตือน ปชช.อย่าสลับการฉีดวัคซีนผสมสูตรเอง อาจเป็นอันตราย

ปัจจุบันมีหลายประเทศเช่นกัน ที่ประกาศอนุมัติให้มีการสลับยี่ห้อวัคซีนโควิด-19 หรือการฉีดวัคซีนผสมสูตรได้ ดังนี้

แคนาดา

คณะกรรมการที่ปรึกษาด้านภูมิคุ้มกันโรคแห่งชาติได้แนะนำการผสมโดสแรกเป็นแอสตร้าเซนเนก้า โดสสองเป็นไฟเซอร์หรือโมเดอร์นา และยังแนะนำประชาชนที่รับโดสแรกเป็นโมเดอร์นาหรือไฟเซอร์ สามารถสลับวัคซีนที่เป็นเทคโนโลยี mRNA เหมือนกันเป็นเข็มที่สองแทนได้อีกด้วย

เกาหลีใต้

ทางการเกาหลีใต้ได้เริ่มการฉีดวัคซีนโควิด-19 แอสตร้าเซนเนก้าเป็นเข็มแรก และไฟเซอร์เป็นเข็มที่สอง เพราะความล่าช้าในการส่งมอบวัคซีนจากบริษัทผู้ผลิต

สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์

สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ได้เสนอให้ใช้วัคซีนไฟเซอร์ เป็นเข็มบูสเตอร์สำหรับคนที่รับวัคซีนซิโนฟาร์มครบโดสแล้ว โดยมีองค์การด้านสุขภาพที่ได้รับงบประมาณจากรัฐแนะนำว่า วัคซีนคนละชนิดกันเหมาะจะเป็นบูสเตอร์โดส แต่ก็ขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของประชาชน ส่วนผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพของสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ยังไม่แนะนำอย่างเป็นทางการ

เยอรมนี

คณะกรรมการด้านวัคซีนของเยอรมนีแนะนำให้ประชาชนที่รับวัคซีนแอสตร้าเซนเนเก้าเป็นเข็มแรก ควรรับวัคซีนของไฟเซอร์หรือโมเดอร์นาเป็นเข็มสองเพื่อสู้กับไวรัสสายพันธุ์เดลตา เพราะจะสามารถกระตุ้นภูมิคุ้มกันได้มากกว่าการฉีดแอสตร้าเซนเนก้าสองโดส

ไทย

ที่ประชุมคณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติสรุปว่า หากประชาชนรับวัคซีนโดสแรกเป็นวัคซีนซิโนแวค ปรับโดสสองเป็นวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้า เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการป้องกันเชื้อสายพันธุ์เดลตา โดยจะสร้างภูมิคุ้มกันต่อเชื้อไวรัสให้อยู่ในระดับสูงได้เร็วมากขึ้น และผู้ที่ฉีดซิโนแวคครบโดสแล้ว สามารถฉีดแอสตร้าเซเนก้าเป็นเข็มบูสเตอร์ได้ ส่วนบุคลากรการแพทย์ จะได้รับสูตรการฉีดที่มีวัคซีนไฟเซอร์ที่ได้รับบริจาคจากสหรัฐฯ

กัมพูชา

เมื่อวันที่ 1 ส.ค. นายกรัฐมนตรีฮุน เซน ของกัมพูชา กล่าวว่า จะมีการอนุมัติให้ฉีดวัคซีนแอสตร้าเซเนก้าเป็นเข็มบูสเตอร์แก่ผู้ที่เคยได้รับวัคซีนซิโนฟาร์มหรือซิโนแวคครบโดส ในขณะที่จะฉีดวัคซีนบูสเตอร์ซิโนแวคให้กับผู้ที่ฉีดวัคซีนแอสตร้าเซเนก้าอย่างครบโดส และสลับฉีดวัคซีนโควิด-19 นี้เพิ่งเริ่มการฉีดไปเมื่อวันที่ 8 ส.ค. ที่ผ่านมา

เวียดนาม

เมื่อวันที่ 13 ก.ค. ว่า เวียดนามอนุมัติให้ผู้ที่ฉีดวัคซีนโควิด-19 แอสตร้าเซเนก้าเป็นวัคซีนเข็มแรก สามารถเลือกฉีดวัคซีนชนิด mRNA ของไฟเซอร์เป็นเข็มที่สองได้

ขั้นตอนลงทะเบียน พม. เปิดช่องทางออนไลน์ให้ประชาชน ยื่นขอรับเงินช่วยเหลือ

การวิจัยยังต้องดำเนินต่อไป

ก่อนหน้านี้มีการทดลองในอังกฤษและเยอรมนีที่ระบุว่า การใช้วัคซีนโควิด-19 แอสตร้าเซเนก้าแล้วตามด้วยไฟเซอร์หรือโมเดอร์นานั้น มีประสิทธิภาพที่ดี เป็นผลให้เป็นสูตรที่หลายประเทศเลือกใช้ อย่างไรก็ตาม ยังต้องมีการศึกษาเพิ่มเติมเพื่อให้มั่นใจในประสิทธิภาพ

ขณะเดียวกัน บางประเทศกำลังอยู่ระหว่างการพิจารณาว่าจะฉีดวัคซีนโควิด-19 สลับยี่ห้อดีหรือไม่ และเริ่มมีการทดลองของตัวเองแล้ว เช่น เดนมาร์ก ทดสอบประสิทธิภาพฉีดแอสตร้าเซเนก้าเป็นเข็มแรก ตามด้วยไฟเซอร์หรือโมเดอร์นาเป็นเข็มที่สอง โดยผลเบื้องต้นระบุเพียงว่า “ให้การป้องกันได้ดี”

รัสเซีย ทดลองฉีดสปุตนิก วี เป็นเข็มแรก และฉีดแอสตร้าเซเนก้าเป็นเข็มที่สอง ไม่พบผลข้างเคียงที่ร้ายแรงและไม่มีผู้ติดเชื้อโควิด-19 ในหมู่อาสาสมัคร ขณะที่อินเดีย ทดลองใช้โควิชิลด์ (แอสตร้าเซเนก้า) เป็นเข็มแรก และฉีดโควาซิน (Covaxin) เป็นเข็มที่สอง พบว่ามีประสิทธิภาพดีกว่าการฉีดวัคซีนสองเข็มเป็นยี่ห้อเดียวกัน

ส่วนในอังกฤษ ก็มีการทดลอง Com-Cov-2 ซึ่งกำลังศึกษาการใช้วัคซีนโควิด-19 ชนิด mRNA ร่วมกับวัคซีนโนวาแวกซ์

เรียบเรียงจาก Reuters

ภาพจาก AFP

กรมบัญชีกลาง ตั้งข้อกำหนดใหม่ เบิกจ่ายค่าห้องพักรักษาโควิด - ค่าตรวจหาเชื้อ ครอบคลุม “Antigen test”

ด่วน! นายกฯ เซ็นยกเลิกข้อกำหนด ห้ามเสนอข่าวสร้างความหวาดกลัว-ระงับอินเทอร์เน็ต

TOP ต่างประเทศ
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ