WHO ออกแนวทางใหม่คุม “มลพิษอากาศ” คร่าชีวิตประชากรโลก 7 ล้านคนต่อปี


โดย PPTV Online

เผยแพร่




อนามัยโลกออกแนวทางควบคุมมลพิษทางอากาศฉบับใหม่ หลังมีหลักฐานมลพิษอากาศคร่าชีวิตผู้คนไป 7 ล้านคนต่อปี วอนทั่วโลกนำไปปฏิบัติตาม

เมื่อวันที่ 22 ก.ย. ที่ผ่านมา องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้ประกาศแนวทางคุณภาพอากาศทั่วโลก (AQGs) ฉบับใหม่ หลังมีหลักฐานที่แสดงถึงความเสียหายที่เกิดจากมลพิษทางอากาศต่อสุขภาพของมนุษย์

แนวทางดังกล่าวจะปรับระดับคุณภาพอากาศใหม่เพื่อปกป้องสุขภาพของประชากร โดยการลดเกณฑ์มาตรฐานของมลพิษทางอากาศที่สำคัญ ซึ่งบางตัวก็มีส่วนทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศด้วย

รวม 8 แอป ตัวช่วยเช็กสภาพอากาศ ที่ควรจะต้องมีติดมือถือ

วิกฤตสภาพอากาศอาจบีบให้ 216 ล้านคนทั่วโลกต้องย้ายถิ่นฐานภายในปี 2050

ยูเอ็นเตือนภัย "ระดับสีแดง" วิกฤตสภาพอากาศโลก

นับตั้งแต่การปรับปรุงแนวทางครั้งล่าสุดในปี 2005 WHO มีหลักฐานชัดเจนที่แสดงให้เห็นว่า มลพิษทางอากาศส่งผลต่อสุขภาพในด้านต่าง ๆ อย่างไร ด้วยเหตุผลดังกล่าว WHO ได้ปรับระดับ AQG เกือบทั้งหมดให้ต่ำลง

WHO เตือนว่า หากพื้นที่ใดมีระดับมลพิษเกินระดับแนวทางด้านคุณภาพอากาศฉบับใหม่ จะทำให้มีความเสี่ยงต่อสุขภาพของประชาชน แต่หากปฏิบัติตามแนวทางใหม่ได้ จะสามารถช่วยชีวิตคนได้หลายล้านคน

ในทุก ๆ ปี การสัมผัสกับมลพิษทางอากาศจะทำให้ผู้คนเสียชีวิตก่อนวัยอันควรถึง 7 ล้านคน ในเด็กอาจส่งผลเสียต่อการเจริญเติบโตและการทำงานของปอด นำไปสู่การติดเชื้อทางเดินหายใจ และโรคหอบหืด

ส่วนในผู้ใหญ่ มลพิษทางอากาศอาจทำให้เกิดโรคหัวใจขาดเลือด และโรคหลอดเลือดสมอง รวมถึงมีส่วนเกี่ยวหันกับโรคเบาหวาน และภาวะความเสื่อมของระบบประสาท

นั่นทำให้โรคที่เกิดจากมลพิษทางอากาศอยู่ในระดับที่ทัดเทียมกับความเสี่ยงด้านสุขภาพที่สำคัญอื่น ๆ ทั่วโลก เช่น การรับประทานอาหารที่ไม่ดีต่อสุขภาพ และการสูบบุหรี่

แนวทางใหม่ของ WHO แนะนำให้มีการควบคุมระดับสารก่อมลพิษ 6 ชนิด ซึ่งเกี่ยวพันกับผลกระทบต่อสุขภาพ ประกอบด้วย อนุภาคขนาดเล็ก (PM), โอโซน (O₃), ไนโตรเจนไดออกไซด์ (NO₂), ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (SO₂) และคาร์บอนมอนอกไซด์ (CO)

ความเสี่ยงด้านสุขภาพที่ได้รับการพูดถึงในช่วงหลัง คือ PM10 และ PM2.5 เกิดจากการเผาไหม้เชื้อเพลิงในภาคส่วนต่าง ๆ เช่น การขนส่ง พลังงาน ครัวเรือน อุตสาหกรรม และภาคเกษตรกรรม

ในปี 2013 มลพิษทางอากาศและฝุ่นละอองถูกจัดอยู่ในประเภทหนึ่งของสารก่อมะเร็ง โดยองค์การระหว่างประเทศเพื่อการวิจัยโรคมะเร็ง (IARC) ของ WHO

“เกือบ 80% ของการเสียชีวิตที่เกี่ยวข้องกับ PM2.5 สามารถหลีกเลี่ยงได้ หากระดับมลพิษทางอากาศในปัจจุบันลดลงเหลือเท่ากับที่เสนอในแนวทางฉบับปรับปรุง” WHO กล่าว

โดยประเทศที่มีรายได้ต่ำและปานกลางเป็นพื้นที่ที่ได้รับความเดือดร้อนมากที่สุด เนื่องจากต้องพึ่งพาเชื้อเพลิงฟอสซิลในการพัฒนาเศรษฐกิจ

เทดรอส อัดฮานอม เกเบรเยซุส ผู้อำนวยการ WHO กล่าวว่า “มลพิษทางอากาศเป็นภัยคุกคามต่อสุขภาพในทุกประเทศ แต่ส่งผลกระทบต่อผู้คนในประเทศที่มีรายได้ต่ำและปานกลางมากที่สุด แนวทางคุณภาพอากาศใหม่ของ WHO เป็นเครื่องมือที่มีหลักฐานและปฏิบัติได้จริงสำหรับการปรับปรุงคุณภาพอากาศซึ่งทุกชีวิตต้องพึ่งพา ผมขอเรียกร้องให้ทุกประเทศและทุกคนที่ต่อสู้เพื่อปกป้องสิ่งแวดล้อมของเรานำแนวทางนี้ไปใช้ เพื่อลดความทุกข์ทรมานและช่วยชีวิตผู้คน”

WHO ยังบอกว่า กำลังพยายามเรียกร้องให้ประเทศสมาชิก 194 ประเทศร่วมกันลดการปล่อยมลพิษและดำเนินนโยบายเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และจะมีการประชุมสุดยอด COP26 ในเดือน พ.ย. นี้

 

เรียบเรียงจาก BBC / WHO

ภาพจาก AFP

 

เริ่มใช้แล้ว!!แท็กซี่แบบมีฉากกั้นระหว่างผู้โดยสาร-คนขับนำร่อง 3 พันคัน

 

 

TOP ต่างประเทศ
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ