ทั่วโลกเสี่ยงขาดแคลน "เข็มฉีดยา" 2 พันล้านชิ้น ในปี’65


โดย PPTV Online

เผยแพร่




องค์การอนามัยโลก (WHO) เตือนโควิด-19 จะทำให้เกิดปัญหาขาดแคลนเข็มฉีดยา (Syringe) ปริมาณมหาศาลในปีหน้า

ผู้เชี่ยวชาญเตือน “เข็มฉีดยาขาดแคลน” อาจขัดขวางการฉีดวัคซีนโควิด-19 ในอนาคต

มหาสมุทรโลกเสียหายหนักช่วงโควิด-19 มี "ขยะโควิด" ถูกทิ้ง 2.6 หมื่นตัน

ลิซา เฮดแมน (Lisa Hedman) ผู้เชี่ยวชาญประจำองค์การอนามัยโลก หรือ WHO เปิดเผยว่า หน่วยงานสาธารณสุขของแต่ละประเทศควรคาดการณ์ปริมาณการใช้เข็มฉีดยา และวางแผนจัดหามาให้เพียงพอต่อความต้องการแต่เนิ่น ๆ เพื่อไม่ให้เกิดปรากฏการณ์แห่กักตุนสินค้า จนของขาดตลาด เหมือนที่เคยเกิดขึ้นกับหน้ากาก และชุดป้องกัน PPE ในช่วงที่โควิดเริ่มระบาดแรก ๆ 

ปัจจุบัน ทั่วโลกแจกจ่ายวัคซีนโควิดไปแล้วกว่า 6,800 ล้านโดส ซึ่งมากกว่าปริมาณการแจกจ่ายวัคซีนประจำปีเกือบ 2 เท่า

ขณะที่บรรดาผู้ผลิตมีศักยภาพในการผลิตเข็มฉีดยารวมกันอยู่ที่ 6,000 เข็มต่อปีเท่านั้น

ทั้งนี้ หากไม่มีการเพิ่มกำลังการผลิต คาดว่าในปีหน้า จะเกิดปัญหาขาดแคลนเข็มฉีดยา ประมาณ 1,000 - 2,000 ล้านเข็ม ซึ่งอาจทำให้อัตราการฉีดวัคซีนโควิด-19 ชะลอตัวลง และอาจกระทบไปถึงการฉีดวัคซีนอื่น ๆ ที่จำเป็น โดยเฉพาะในเด็ก

นอกจากนี้ ยังอาจทำให้เกิดปัญหาการนำเข็มฉีดยากลับมาใช้ซ้ำ โดยเฉพาะในประเทศยากจน ซึ่งอาจเป็นอันตรายต่อผู้รับวัคซีนเอง

 

ขณะที่ความคืบหน้าการจัดหายาเม็ดต้านโควิด "โมลนูพิราเวียร์" ของบริษัทเมอร์ค ซึ่งถือเป็นความหวังใหม่ในการต่อสู้กับโรคระบาดนี้ ล่าสุด รัฐบาลสหรัฐฯ ได้สั่งซื้อยาดังกล่าวเพิ่มอีก 1 ล้าน 4 แสนคอร์ส คิดเป็นมูลค่าเพิ่มเติมอีก 1,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือประมาณ 33,000 ล้านบาท หากนำมารวมกับแผนจัดซื้อเดิม ที่สั่งซื้อไว้ 1.7 ล้านคอร์ส เท่ากับว่า ตอนนี้ รัฐบาลสหรัฐฯ สั่งซื้อยาโมลนูพิราเวียร์ไปแล้ว 3 ล้าน 1 แสนคอร์ส มูลค่ารวมกว่า 72,000 ล้านบาท

ก่อนหน้านี้ บริษัทตั้งเป้าว่าจะสามารถผลิตยาโมลนูพิราเวียร์จำนวน 10 ล้านคอร์สได้ ภายในสิ้นปีนี้ และผลิตอีกอย่างน้อย 20 ล้านคอร์สในปีหน้า

โดยปัจจุบัน มีเพียงอังกฤษที่อนุมัติใช้งานดังกล่าวเป็นกรณีฉุกเฉินแล้ว ส่วนที่สหรัฐฯ คาดว่าคณะที่ปรึกษาขององค์การอาหารและยาของสหรัฐฯ (FDA) จะเริ่มพิจารณาคำร้องขออนุมัติใช้งานในวันที่ 30 พ.ย.นี้

ครั้งแรกของปี! ญี่ปุ่น พบไข้หวัดนกระบาด สั่งกำจัดไก่ทิ้ง 1.4 แสนตัว

นักธุรกิจฮ่องกงดำน้ำตามเก็บกู้อวนจับปลาในทะเลรอบฮ่องกงมานับสิบปี

นอกจากยาโมลนูพิราเวียร์แล้ว สหรัฐฯ ยังได้เริ่มสั่งซื้อยาแพกซ์โลวิด (PAXLOVID) ซึ่งเป็นยาเม็ดรักษาโควิดของบริษัทไฟเซอร์แล้วเช่นกัน

 

Photo : AFP 

 

TOP ต่างประเทศ
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ