"ธารน้ำแข็ง" ธรรมชาติที่กำลังละลายหายไปเพราะโลกร้อน


โดย PPTV Online

เผยแพร่




ประจักษ์พยานเกี่ยวกับผลกระทบโลกร้อน ที่เกิดจากการกระทำของมนุษย์ปรากฎให้เห็นโดยทั่วไปและมากขึ้นเรื่อยๆ หนึ่งในนั้นคือ การละลายของธารน้ำแข็ง

ภาพ Time-lapse ของธารน้ำแข็งวาต-นา-เยอ-คูลล์ (Vatnajökull ice cap) ในประเทศไอซ์แลนด์ ธารน้ำแข็งขนาดใหญ่ครอบคลุมพื้นที่ กว่า 7,700 ตารางกิโลเมตร

ภาพนี้แสดงให้เห็นถึงการหดหายอย่างรวดเร็วของธารน้ำแข็งวาตนาเยอคูลล์ในระดับที่น่ากลัว และที่น่ากลัวมากว่านั้นคือ การหดหายของธารน้ำแข็งอายุหลายพันปีนี้เกิดขึ้นภายใน 6 สัปดาห์เท่านั้น

ทีมงานจากมหาวิทยาลัยดันดีของสกอตแลนด์คือคนที่ถ่ายภาพนี้ไว้ หนึ่งในทีมนักวิจัย ดอกเตอร์เคียรัน แบ็กซ์เตอร์ จากมหาวิทยาลัยดันดี ในสกอตแลนด์ บอกถึงที่มาของภาพที่น่าตกใจนี้

"โลกร้อน" มหัตภัยร้ายที่กำลังคืบคลานเข้าสู่ "ภูฏาน" ทั้งที่ปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์เท่ากับศูนย์

ครั้งแรกในประวัติศาสตร์! ฝนตกบนยอดภูเขาน้ำแข็งของกรีนแลนด์

โดยเขาบอกว่า สิ่งที่ทำคือ การวางกล้องห่างจากธารน้ำแข็งประมาณ 1 เมตร โดยทิ้งกล้องไว้ 6 สัปดาห์และนี่คือภาพที่ได้มา ธารน้ำแข็งวาตนาเยอคูลล์เป็นธารน้ำแข็งที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งในทวีปยุโรปครอบคลุมพื้นที่ กว่า 7,700 ตารางกิโลเมตร เป็นหนึ่งในธารน้ำแข็งที่บรรดานักวิทยาศาสตร์ใช้เฝ้าติดตามผลกระทบที่เกิดขึ้นจากโลกร้อน

เมื่อ 2 ปีที่แล้ว นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยดันดี เคยถ่ายภาพของธารน้ำแข็งนี้นับพันภาพ ก่อนนำมาทีมงานมาประมวล แล้วใช้ซอฟต์แวร์เปลี่ยนภาพถ่ายให้เป็นแบบจำลอง 3 มิติ

จากนั้นก็นำภาพมาเปรียบเทียบกับภาพที่เคยถ่ายธารน้ำแข็งแห่งนี้ไว้เมื่อปี 1989 ดอกเตอร์เคียรัน แบ็กซ์เตอร์ ระบุว่า ได้เห็นความแตกต่างที่น่าตกใจที่เกิดขึ้นในระยะเวลาอันสั้นและไม่เฉพาะแค่วาตนาเยอคูลล์เท่านั้น แต่ธารน้ำแข็งทั่วโลกกำลังละลายในอัตราที่น่ากลัว เช่น ธารน้ำแข็งบนยอดเขาคิลิมันจาโรในแทนซาเนีย ปัจจุบันหดลงมากถึงร้อยละ 80 แล้ว เมื่อเทียบกับขนาดเมื่อปี 1912 หรือที่เทือกเขาหิมาลายัน ธารน้ำแข็งที่เป็นต้นกำเนิดของแม่น้ำคงคา ก็กำลังละลายอย่างรวดเร็ว และคาดกันว่าในปี 2030 นี้จะหายไปราวร้อยละ 30

นี่คือวิกฤต เพราะธารน้ำแข็งเหล่านี้คือแหล่งน้ำจืดที่หล่อเลี้ยงระบบนิเวศ นั่นหมายความว่า หากอุณหภูมิโลกยังคงร้อนขึ้น ในอนาคตอันใกล้ ผู้คนนับล้านจะเผชิญกับปัญหาชาดแคลนน้ำ อีกผลกระทบใหญ่ของของการละลายของธารน้ำแข็งคือ ระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้น

อันที่จริงระดับน้ำทะเลของโลกสูงขึ้นต่อเนื่องอยู่แล้ว แต่ไม่เคยมีช่วงเวลาใดที่สูงได้แบบน่ากังวลได้เท่ากับในขณะนี้ ในช่วงปี 1900-1990 ระดับน้ำทะเลเพิ่มขึ้นเฉลี่ยปีละ 1.2-1.7 มิลลิเมตร เมื่อเข้าปี 2000 ตัวเลขเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่า อยู่ที่ปีละ 3.2 มม. และ 3.4 มม.ในปี 2016 ปัจจุบัน ระดับน้ำทะเลสูงขึ้นกว่าค่าเฉลี่ยในปี ค.ศ.1900 ราว 13-20 เซนติเมตรแล้ว

นี่ถือเป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ เพราะก่อนปี 2000 หรือแค่ 20 ปีที่แล้ว ระดับน้ำทะเลโลกไม่เปลี่ยนแปลงมากนัก นอกเหนือจากการละลายของน้ำแข็งบนแผ่นดิน อย่างเช่น ธารน้ำแข็ง (glacier) แล้ว สภาวะโลกร้อนยังทำให้พืดน้ำแข็ง (ice sheet) ละลายในอัตราที่น่ากลัวเช่นเดียวกัน

นี่คือภาพของพืดน้ำแข็งในกรีนแลนด์ที่นักวิทยาศาสตร์ถ่ายไว้เมื่อ 3 เดือนกัน แต่เดิมบริเวณนี้เคยขาวโพลนไปด้วยพืดน้ำแข็งที่สะสมเป็นชั้นหนา และนี่คือภาพในปัจุบัน

การละลายของธารน้ำแข็งและพืดน้ำแข็งในอัตราที่รวดเร็วขึ้น ส่งผลกระทบโดยตรงต่อระดับน้ำทะเลที่เพิ่มสูงในอัตราที่รวดเร็วขึ้นเช่นเดียวกัน

อย่างไรก็ตาม นักวิจัยระบุว่า เป็นเรื่องไม่ง่ายที่จะโน้มน้าวให้คนเชื่อถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นจากโลกร้อน และการที่พวกเขาต้องมาถ่ายภาพเปรียบเทียบแบบนี้ก็เพื่อให้คนได้เห็นตัวอย่างแบบชัดๆ

แต่ความเป็นจริงก็คือ ปัญหาธารน้ำแข็งละลายคือปัญหาใหญ่ สำคัญและเร่งด่วนที่สุดของมนุษย์ ในวันที่ธารน้ำแข็งเกือบทุกแห่งในยุโรป แอฟริกา และเอเชียกำลังหดหายไปในอัตราที่น่าเป็นห่วง

รายงานล่าสุดของคณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศหรือ IPCC เตือนว่า โลกจะสูญเสียปริมาณน้ำแข็งไปกว่าร้อยละ 80 ของระดับในปัจจุบันภายในปี 2100 หรือเร็วกว่านั้นหากยังไม่ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และไม่ต้องรอให้ถึงวันนั้นระดับน้ำทะเลที่เพิ่มสูงขึ้นจากปัญหาธารน้ำแข็งที่ละลายส่งผลกระทบอย่างหนักแล้วต่อประชาชนนับล้านคนแล้ว โดยเฉพาะประเทศที่อยู่แนวชายฝั่ง

ที่นี่คือประเทศบังกลาเทศ ด่านหน้าของการรับผลกระทบจากระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้นสลัมที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งในกรุงธากา แออัด ไร้ระเบียบ นอกเหนือจากคนจนเมือง สลัมแห่งนี้คือที่อยู่อาศัยผู้ลี้ภัยจำนวนหลายแสนคนภัยที่พวกเขาเหล่านี้ต้องหลีกลี้มาไม่ใช่ภัยจากสงคราม แต่เป็นภัยจากสภาพภูมิอากาศที่เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างสุดขั้ว

มีคำเรียกคนกลุ่มนี้ว่า Climate Change Refugee หรือผู้ลี้ภัยจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ ศัพท์ที่เพิ่งถูกบัญญัติเมื่อไม่เกิน 10 ปีที่ผ่านมา ยัสมินคือหนึ่งใน Climate change refugee เธอบอกว่า ลี้ภัยมาจากทางตอนใต้ของประเทศหลังจากพายุในตกหนักต่อเนื่องจนน้ำกลืนกินบ้านและที่ทำกินของเธอไปอย่างถาวร

ภูมิประเทศของบังกลาเทศเกือบทั้งหมดเป็นที่ลุ่มต่ำ ตั้งอยู่ในตำแหน่งที่ได้รับอิทธิพลจากพายุหมุนเขตร้อนในมหาสมุทรอินเดียทำให้ปริมาณน้ำฝนที่นี่หนาแน่นเป็นอันดับต้นๆ ของโลก

แต่ที่ผิดปกติในช่วง 10 ปีที่ผ่านมาคือ ฝนหนักและนานเกินกว่าที่เคยเป็นมา บวกกับระดับน้ำทะเลที่หนุนสูง น้ำเข้ากลืนกินบ้านเรือนและที่การเกษตรอย่างถาวร ผลักดันให้คนหลายหมื่นหลายแสนต้องอพยพย้ายถิ่น และจำนวนมากมาอยู่ที่สลัมในเมืองหลวงแบบนี้

จากรายงานของ IPCC นอกเหนือจากบังกลาเทศ อีกหลายประเทศในแถบพื้นที่ราบลุ่มกำลังเผชิญความเสี่ยงต่อระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้น เช่นไทย อินโดนีเซีย เวียดนาม และฟิลิปปินส์

ปัญหาธารน้ำแข็งละลายไม่ใช่กดสวิตท์แล้วทุกอย่างจะหยุด เพราะต่อให้นานาชาติสามารถบรรลุข้อตกลงลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ แต่นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่า โลกจะยังคงสูญเสียธารน้ำแข็งไปอย่างน้อยอีกร้อยละ 10 อยู่ดี เพราะนี่คือปัญหาสั่งสมที่ต้องใช้เวลาในการฟื้นตัว และกว่าจะถึงจุดที่ฟื้นคืนได้ ธารน้ำแข็งจะยังคงละลายต่อไป โดยคาดกันว่าในปี 2021 - 2050 ทุกๆ หนึ่งวินาที มีน้ำจากธารน้ำแข็งทั่วโลกคิดเป็นปริมาตรเทียบเท่ากับน้ำในสระว่ายน้ำโอลิมปิก 5 สระ น้ำเหล่านี้คงอยู่ในรูปแบบของแข็งมานานหลายพัน หลายหมื่นปี แต่ไม่อาจคงรูปได้อีกต่อไปจากกิจกรรมของมนุษย์

TOP ต่างประเทศ
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ