น้ำมันสัปดาห์นี้แนวโน้มขยับลง เจอแรงกดดัน โควิดระบาดจีน-เศรษฐกิจโลกชะลอตัว


โดย PPTV Online

เผยแพร่




ราคาน้ำมันสัปดาห์นี้มีแนวโน้มปรับตัวลดลง หลังสถานการณโควิด-19 ในเมืองเซี่ยงไฮ้ของจีน ส่อยืดเยื้อ และความกังวลเศรษฐกิจโลกชะลอตัวในปีนี้

ฝันร้ายของเซี่ยงไฮ้ ล็อกดาวน์ทำแนวโน้มนักลงทุนต่างชาติย้ายออกสูง

โรงงานกลั่นน้ำมันเถื่อนในไนจีเรียระเบิด เสียชีวิตนับร้อย

แนวโน้มสถานการณ์ราคาน้ำมันโลก ยังคงปรับตัวลดลงต่อเนื่อง ปัจจัยส่วนใหญ่มาจาก กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ปรับลดคาดการณ์อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจโลกปี 2565 ขณะที่สถานการณ์การแพร่ระบาดโรคโควิด-19 ของจีน ยังพบผู้ติดเชื้อและผู้เสียชีวิตเพิ่มมากขึ้นในเมืองเซี่ยงไฮ้ โดยยังไม่มีสัญญาณใดๆ จากทางการที่จะยกเลิกมาตรการควบคุมโควิด ในเร็ว ๆ นี้ ซึ่งทั้งหมดนั้นได้สร้างความกังวลต่อการชะลอตัวของเศรษฐกิจในอนาคต กดดันอุปสงค์น้ำมันโลก

ราคาน้ำมันย้อนหลัง 15 วัน

 

ทั้งนี้ปัจจัยหนุน ยังคงเป็นสถานการณ์สู้รบนระหว่างรัสเซีย-ยูเครน ที่ยืดเยื้อเข้าสู่เดือนที่ 3 รวมถึงลิเบีย สูญเสียอัตราการผลิตน้ำมัน หลังโรงกลั่นในประเทศได้รับผลกระทบจากการประท้วง

 

หน่วยธุรกิจการค้าระหว่างประเทศ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ระบุว่า  ราคาน้ำมันดิบในสัปดาห์ล่าสุดเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตามในช่วงปลายสัปดาห์ปรับตัวลดลง จากความกังวลต่อการระบาดของโควิด-19 ในจีน อาจกดดันอุปสงค์น้ำมันโลก หลังเมืองเซี่ยงไฮ้ มีผู้เสียชีวิตล่าสุด (24 เม.ย.) อยู่ที่ 39 ราย สูงเป็นประวัติการณ์ ทำให้มีผู้เสียชีวิตสะสมตั้งแต่วันที่ 18 เม.ย. อยู่ที่ 87 ราย โดยทางการจีนเตือนถึงการแพร่กระจายแบบไม่แสดงอาการ และเฝ้าระวังสถานการณ์อย่างใกล้ชิด 

นักวิเคราะห์ ปรับลดคาดการณ์อุปสงค์น้ำมันโลกในปี 2565 โดยลดลง 1.4 ล้านบาร์เรลต่อวัน อยู่ที่ 99.6 ล้านบาร์เรลต่อวัน ซึ่งต่ำกว่าระดับสูงสุดก่อนโควิด-19 ระบาด ในปี 2562 ที่ 100.2 ล้านบาร์เรลต่อวัน เนื่องจากกิจกรรมทางเศรษฐกิจชะลอตัว และจะฟื้นหลังปี 2566 เป็นต้นไป 

ด้านความขัดแย้งรัสเซียกับยูเครน เข้าสู่เดือนที่ 3 ล่าสุดรัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศของสหรัฐฯ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เดินทางถึงกรุงเคียฟ ของยูเครน ลโดยประธานาธิบดี วลาดิเมียร์ เซเลนสกี ของยูเครน เรียกร้องให้จัดหาอาวุธเพิ่มขึ้นเพื่อใช้ต่อสู้กับรัสเซีย ที่พยายามเข้ายึดพื้นที่ทางภาคใต้และตะวันออกของประเทศ

 

ปัจจัยที่กระทบต่อราคาน้ำมันดิบในเชิงบวก

บริษัทน้ำมันแห่งชาติของลิเบีย National Oil Corp. (NOC) รายงานปริมาณการผลิตน้ำมันดิบ ณ วันที่ 20 เม.ย. 65 ลดลง 550,000 บาร์เรลต่อวัน หลังประกาศเหตุสุดวิสัย การส่งมอบน้ำมันจากท่า El Brega (120,000 บาร์เรลต่อวัน) เมื่อ 19 เม.ย. 65 เพิ่มเติม จากแหล่ง El Sharara (300,000 บาร์เรลต่อวัน) และ El Feel (80,000 บาร์เรลต่อวัน) รวมถึงท่าส่งออก Mellitah (130,000 บาร์เรลต่อวัน) และ Zueitina (150,000 บาร์เรลต่อวัน) เนื่องจากถูกกลุ่มผู้ประท้วงปิดล้อม ทั้งนี้ลิเบียผลิตน้ำมันดิบในเดือน มี.ค. 65 ที่ระดับ 1.06 ล้านบาร์เรลต่อวัน

EIA รายงานปริมาณสำรองน้ำมันดิบเชิงพาณิชย์ในสหรัฐฯ สัปดาห์สิ้นสุด 15 เม.ย. 65 ลดลง 8 ล้านบาร์เรลต่อวัน จากสัปดาห์ก่อนหน้า อยู่ที่ 413.7 ล้านบาร์เรล ขณะที่ปริมาณสำรองน้ำมันจากคลังสำรองเชิงยุทธศาสตร์ (Strategic Petroleum Reserve: SPR) ลดลง 4.7 ล้านบาร์เรล อยู่ที่ 556 ล้านบาร์เรล 

 

ปัจจัยที่กระทบต่อราคาน้ำมันดิบในเชิงลบ

กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (International Monetary Fund: IMF) ปรับลดคาดการณ์อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจโลก (GDP) ในปี 2565 โดยลดลง 0.8% จากประเมินครั้งก่อนในเดือน ม.ค. 65 และจะเติบโต 3.6% จากปีก่อน ชะลอตัวจากปี 2564 ซึ่งเติบโต 6.1% จากปีก่อนหน้า

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานของคาซัคสถาน แถลงท่อขนส่งน้ำมันดิบ Caspian Pipeline Consortium (CPC: 2.4 ล้านบาร์เรลต่อวัน) จะสามารถกลับมาใช้เต็มกำลัง หลังเสียหายจากพายุตั้งแต่ 23 มี.ค. 65

 

 

TOP ต่างประเทศ
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ