คบเพลิง-เหรียญรางวัล “โอลิมปิก โตเกียว 2020” ทุกส่วนล้วนมีความหมายและคุ้มค่า


โดย PPTV Online

เผยแพร่




ปี 2020 ประเทศญี่ปุ่นกำลังจะเป็นเจ้าภาพกีฬาโอลิมปิกและพาราลิมปิก ครั้งที่ 32 ชื่อว่า โตเกียว 2020 จะมีขึ้นระหว่างวันนี้ 24 กรกฎาคม ถึง 9 สิงหาคม 2563 และในระหว่างการเตรียมงาน ทางประเทศเจ้าภาพได้ทยอยเปิดตัวเหรียญรางวัลและคบเพลิง ที่ล้วนแต่สะท้อนความเป็นญี่ปุ่นออกมาอย่างชัดเจนซึ่งต้องบอกว่า “ไม่ธรรมดา”

เริ่มกันที่ “คบเพลิง" โอลิมปิก ได้แรงบันดาลใจจากดอกไม้ประจำชาติอย่าง “ดอกซากุระ” ภายใต้แนวคิด เส้นทางแห่งความหวัง (Hope Lights Our Way) รูปทรงของคบเพลิงเป็นกระบอกคบเพลิง 5 ด้าน เปรียบได้ดั่ง "กลีบดอกซากุระ 5 กลีบ" แต่ละอันจะเชื่อมต่อกันโดยจุดศูนย์กลางของคบเพลิงจะทำหน้าที่ให้เกิดแสงสว่างเป็นเปลวไฟขึ้นจากปฏิกิริยาทางเคมี ลักษณะเดียวกับไฟฉาย

ญี่ปุ่นเจ้าภาพโอลิมปิกส์ปี 2020 คาดใช้เงินสูงถึง 6.3 แสนล้านบาท

โอลิมปิก 2020 เผยโฉม "โพเดียมรับรางวัล"ทำจากขยะรีไซเคิล

โดยเกิดจากสี่เหลี่ยมจตุรัสขนาดเล็กๆ ที่อยู่ตรงกลางซึ่งจะให้ความสว่างเป็นโทนสีสองสีจากเทคนิค "ukiyo-e"  ซึ่งเป็นที่รู้จักกันในนาม "Fukibokashi"

นอกจากกระบอกคบเพลิงดอกซากุระ 5 กลีบแล้ว การผลิตตัวแท่งคบเพลิงใช้เทคนิคเดียวกับการผลิตรถไฟหัวกระสุน “ชินคันเซ็น” ของญี่ปุ่น ทำจากอลูมิเนียมที่ถูกทิ้งจากซากของบ้านพักชั่วคราวผู้ประสบภัยพิบัติหลังเหตุการณ์แผ่นดินไหวสึนามิครั้งใหญ่ (Great East Japan Earthquake) เมื่อปี 2011 เป็นเหมือนการ “ชุบชีวิต” เพราะวัสดุเหล่านี้เคยได้ช่วยคนในการสร้าง “ชีวิตใหม่” มาแล้ว โดยนำมาใช้ถึง 30% ของวัสดุทั้งหมด

อย่างไรก็ตาม คบเพลิงโอลิมปิกนี้ ออกแบบโดย Tokujin Yoshioka นักออกแบบชาวญี่ปุ่น ที่มีผลงานโดดเด่นด้านนวัตกรรม เน้นความใส ผสมกับแสง อย่างที่เป็นรู้จักคือ นาฬิกาใส “O” แบรนด์​ Issey Miyake คบเพลิงนี้จะถูกจุดและเริ่มวิ่งคบเพลิงทั่วประเทศ ช่วงที่ดอกซากุระบานพอดี คือตั้งแต่วันที่ 12 มีนาคม ถึง 24 กรกฎาคม 2020

ต่อมาคือเหรียญรางวัลที่ทำจากขยะ โดยทางคณะกรรมการผู้จัดการนำ “ขยะอิเล็กทรอนิกส์” จากโทรศัพท์มือถือ กล้องดิจิทัล แล็ปท็อปเก่า รวมถึงเกมพกพา มาผลิตเป็น “เหรียญรางวัลนักกีฬา” ทั้งเหรียญทอง เหรียญเงิน เหรียญทองแดง โดยร่วมกับหน่วยงานรัฐท้องถิ่นโตเกียว เริ่มต้นรวบรวมขยะอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อนำมารีไซเคิล ตั้งแต่ปี 2017 นอกจากนั้นประชาชนชาวญี่ปุ่นได้นำโทรศัพท์มือถือ และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ ที่ใช้แล้ว มามอบให้ด้วย

โดยจะผลิตออกมาทั้งหมด 5,000 เหรียญ ซึ่งตอนนี้รวบรวมขยะอิเล็กทรอนิกส์ได้แล้วประมาณ 50,000 ตัน ซึ่งเหรียญทองแดงเป็นอันดับแรกที่มีวัสดุครบ 100% ตามกำหนดในการผลิตตั้งแต่เดือนมีนาคมที่ผ่านมา ส่วนเหรีญทองและเหรียญเงินกำลังรวบรวมโดยข้อมูลล่าสุดเมื่อมีนาคม 2562 เหรียญทองมีแล้ว 93.7% เหรียญเงิน 85.4% แต่ละเหรียญมีน้ำหนัก 500-800 กรัม หนา 3-10 มิลลิเมตร ขนาด 70-120 มิลลิเมตร

ญี่ปุ่นชวนบริจาคขยะอิเล็กทรอนิกส์ทำเหรียญโอลิมปิก 2020 

นี่เป็นเพียงส่วนหนึ่งของสิ่งที่สำคัญในการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก และพาราลิมปิก 2020 ซึ่งล้วนแต่สะท้อนออกมาถึง ตัวตนของชาติญี่ปุ่น อย่างแท้จริง

ข้อมูล/ภาพ :

https://www.olympic.org/news/tokyo-2020

https://tokyo2020.org/en/games/medals/project/status/

https://tokyo2020.org/en/games/medals/

https://www.olympic.org/news/tokyo-2020-reveals-olympic-torch-design-ambassadors-and-relay-emblem?fbclid=IwAR0undCT5NK3cG8y0QebXb7PbUoS-XDn8qxtROxzM04BEBjCZKPOGNbD84M

AFP

TOP ประเด็นร้อน
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ