แพทย์ผู้เชี่ยวชาญชี้เป็นไปได้ตรวจพบ โควิด-19 หลังกัก 14 วัน


โดย PPTV Online

เผยแพร่




หลังกระทรวงสาธารณสุข และโรงพยาบาลรามาธิดี ตรวจสอบกรณีหญิงไทย 2 คน ตรวจพบสารพันธุกรรมของเชื้อโควิด 19 ก่อนจะเดินทางไปทำงานต่างประเทศ โดยระบุว่าเป็นซากเชื้อ 1 คนและอีกคนยังรอผลเป็นทางการอยู่นั้น จากกรณีที่เกิดขึ้นก็มีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญหลายคนออกมาแสดงความเห็นระบุตรงกันว่า มีความเป็นไปได้ที่หลังผ่านกักตัว 14 วันแล้วกลับมาการตรวจพบเชื้อโควิด-19 อีก

อัปเดตข่าว สถานการณ์ โควิด-19 ทั่วโลก ล่าสุด 20 ส.ค. 63

พบติดเชื้อ โควิด-19 รายใหม่ 7 ราย ในสถานกักตัวของรัฐ

นพ. ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา ผู้อำนวยการศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์เฟซบุ๊ก การจะระบุว่าเป็นซากเชื้อหรือไม่ ไม่สามารถประเมินได้จากสถานะของแอนติบอดีอย่างเดียว แต่ยังต้องผ่านการตรวจอีกหาสารอีกหลายชนิด และการตรวจสอบก็ควรติดตามสอบสวนโรคด้วยว่าก่อนหน้าที่จะเป็นซากเชื้อนั้นไปได้เชื้อมาจากไหน และแพร่เชื้อหรือไม่

สธ.ยืนยันเป็นหญิง 2 ราย ติดโควิด เชื่อไม่แพร่เชื้อ ไม่ใช่ระลอก 2 แต่ไม่ประมาท

นอกจากนี้ คุณหมอธีระวัฒน์ ยังให้สัมภาษณ์ผ่านรายการโชว์ข่าว 36 ทางพีพีทีวี เมื่อเช้าวันนี้ 20 ส.ค.2563 ระบุว่า การตรวจเลือดครั้งเดียวหรือแยงจมูกแยงคอ ภายใน 14 วัน ก็มีโอกาสหลุดรอดไปได้ แม้จะมีจำนวนน้อยก็ตาม โดยยกตัวอย่างข้อมูลใหม่ที่ทีมงานได้ลงพื้นที่สำรวจกลุ่มตัวอย่างในจังหวัดหนึ่งของไทยหลังผ่านกักตัว 14 วันแล้วก็พบเชื้อ แสดงว่าเมื่อออกจากสถานที่กักกันแล้วก็อาจได้รับเชื้อเข้าไปอีก จึงสันนิษฐานว่ายังมีความเป็นไปได้ที่มีผู้ติดเชื้อไม่แสดงอาการแต่แพร่เชื้อได้ก็ยังมีความเป็นไปได้อยู่เช่นกัน[

ด้าน นพ.ธีระ วรธนารัตน์ จากภาควิชาเวชาศาสตร์ป้องกันและสังคม คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์เฟซบุ๊กตำหนิการแถลงข่าวของเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องเมื่อค่ำวานนี้ถึงขึ้นเรียกว่า แถลงข่าวอัปยศ โดยใจความสรุปได้ว่า ทำให้เข้าใจว่าทั้งสองคนเป็นซากไวรัส ติดจากต่างประเทศ และไม่มีอันตรายใด ๆ และตบท้ายด้วยการแปลผลแบบบิดไปตามต้องการ แต่ไม่ถูกต้อง

ส่วน นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ให้รายละเอียดและข้อมูลทางการแพทย์ ระบุว่า การตรวจพบเชื้อหลังจาก 14 วันไปแล้วก็เป็นไปได้ ในกรณีที่ผู้ป่วยมีการติดเชื้อเกิดขึ้นในช่วง 14 วัน ที่อยู่ในสถานที่กักกัน

ส่วนผู้ป่วยจะมาติดเชื้อในประเทศไทยนั้นมีเป็นไปได้น้อยมากเพราะขณะนี้ไม่พบการติดต่อเกิดขึ้นในประเทศไทยมากว่า 80 วันแล้ว

อย่างไรก็ตามจากการ ศึกษาร่วมกับ สำนักการแพทย์และสำนักอนามัย กทม. พบว่า ก่อนกลับจากโรงพยาบาลตรวจไม่พบเชื้อแล้ว หลังจากนั้นเราติดตาม ก็ยังมีการพบเชื้อ แต่เชื้อมีปริมาณน้อยมาก ในการติดตามระยะยาวที่เราทำการศึกษา จำนวน 212 คน พบว่าในช่วง 4-12 สัปดาห์ หลังจากที่มีอาการ และผู้ป่วยกลับบ้านแล้ว เรายังตรวจพบเชื้อได้ประมาณร้อยละ 6.6 ของผู้ป่วย

ดังนั้นการพบเชื้อดังกล่าว ผู้ป่วยไม่มีอาการ รวมทั้งการตรวจปริมาณไวรัส ถ้ามีเป็นจำนวนน้อย โอกาสที่จะแพร่กระจายโรคไปสู่ผู้อื่นก็น้อยมาก ๆ

TOP ประเด็นร้อน
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ