ประกาศกทม.บังคับ 20ก.ค. - 2 ส.ค. สั่งปิดสถานที่ เปิดตามเงื่อนไข กว่า 20 กิจการเปิดได้ตามความจำเป็น


โดย PPTV Online

เผยแพร่




ผู้ว่าฯอัศวิน ออกประกาศ กทม. สั่งปิดสถานที่ต่อเนื่อง กลุ่มกิจการให้เปิดตามเงื่อนไข กว่า 20 กิจการให้เปิดตามความจำเป็น มีผลถึง 2 ส.ค.64

เมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม 2564 พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ออกประกาศ กรุงเทพมหานคร เรื่อง สั่งปิดสถานที่เป็นการชั่วคราว (ฉบับที่ 37) ใจความว่าสถานการณ์แพร่ระบาดของโควิด-19 มีอัตราเพิ่มสูงขึ้น  คณะกรรมการโรคติดต่อกรุงเทพมหานคร  มีมติให้มีคำสั่งให้ปิดสถานทีี่ต่างๆเพื่อควบคุมโรคโดยปฏิบัติตามคำสั่งประกาศฉบับที่ 32 - 36 ก่อนหน้านี้และตามคำสั่งฉบับนี้ ตั้งแต่วันที่ 20 กรกฎาคม - 2 สิงหาคม จนกว่าจะมีประกาศเปลี่ยนแปลงอย่างอื่น 

ทบ.แจ้งข่าวเท็จเอกสารประกาศใช้กฎอัยการศึกในพื้นที่ กทม.คุมโควิด

คุมโควิดไม่ดี ยอด ส.ค.ทะลุ 3 หมื่นคนต่อวัน

 

เนื้อหาสำคัญ แบ่ง 3 ประเภท ต่อไปนี้ 
1.ปิดสถานที่ต่อตามประกาศเดิม ที่ระบุไว้ในประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง สั่งปิดสถานที่เป็นการชั่วคราว ฉบับที่ 32, 33, 34, 35 และ 36  และให้ปฏิบัติตามข้อกำหนดตามความมาตรา 9 แห่งพ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 ฉบับที่ 28 ที่ครอบคลุมการล็อกดาวน์จำกัดการเดินทาง ให้ทำงานที่บ้าน และเคอร์ฟิว

2.กิจการที่เปิดได้ตามเงื่อนไขดังนี้ 
- ร้านอาหารเปิดได้ถึงเวลา 20.00 น. ห้ามนั่งในร้าน ให้ซื้อกลับบ้านเท่านั้น
- ร้านสะดวกซื้อและตลาดสด ให้เปิดได้ตั้งแต่เวลา 04.00 - 20.00 น. 
- โรงแรม ให้เปิดได้ตามเวลาปกติ งดกิจกรรมจัดการประชุม การสัมมนา การจัดเลี้ยง 
- โรงเรียน สถาบันการศึกษาหรือฝึกอบรม และสถานศึกษา ห้ามใช้สถานที่จัดการสอน
- ห้างสรรพสินค้า ศูนย์การค้า คอมมูนิตี้มอลล์ ให้เปิดได้ถึงเวลา 20.00 น. เปิดเฉพาะแผนกซูเปอร์มาร์เก็ต แผนกยาและเวชภัณฑ์ และพื้นที่ซึ่งจัดให้บริการฉีดวัคซีน หรือบริการทางการแพทย์และการสาธารณสุขอื่นๆ ของภาครัฐ

3.สถานที่เปิดได้ตามความจำเป็น โดยต้องปฏิบัติตามมาตรการป้องกันโรคอย่างเคร่งครัด 

โรงพยาบาล สถานพยาบาล คลินิกแพทย์รักษาโรค ร้านขายยา

ร้านค้าทั่วไป

โรงงาน

ธุรกิจหลักทรัพย์ ธุรกรรมการเงิน ธนาคาร ตู้เอทีเอ็ม

ธุรกิจสื่อสารโทรคมนาคม

ไปรษณีย์ และพัสดุภัณฑ์

ร้านจำหน่ายอาหารสัตว์

ร้านขายยาและเวชภัณฑ์

ร้านจำหน่ายเครื่องมือช่างและอุปกรณ์ก่อสร้าง

ร้านจำหน่ายสินค้าเบ็ดเตล็ดอันจำเป็น

สถานที่จำหน่ายแก๊สหุงต้ม เชื้อเพลิง ปั๊มน้ำมัน ปั๊มแก๊ส

สำหรับตลาดนัด (เฉพาะส่วนที่จำหน่ายอาหารและวัตถุดิบเพื่อการบริโภค)

สถานรับเลี้ยงเด็ก (เฉพาะสถานที่รับเลี้ยงเด็กในโรงพยาบาลและที่มีการรับตัวไว้พักค้างคืนเป็นปกติธุระ )

สถานดูแลผู้สูงอายุ (เฉพาะที่มีการรับตัวไว้พักค้างคืนเป็นปกติธุระ)

ธุรกิจประกันภัย

หน่วยบริการงานช่วยเหลือกู้ภัย

ศูนย์บริการหรือร้านซ่อมแซมยานพาหนะ ร้านแบตเตอรี่

หน่วยบริการตรวจสอบหรือซ่อมบำรุงระบบสาธารณูปโภค ระบบระบายน้ำ ระบบท่อส่งน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ

ผู้จัดเก็บและกำจัดขยะ

รวมทั้งบริการส่งสินค้าและอาหารตามสั่ง (delivery online)

ทั้งนี้ มีผลตั้งแต่วันที่ 20 ก.ค. - 2 ส.ค. 64 หรือจนกว่าจะมีประกาศเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่น 

คอนเทนต์แนะนำ
“นพ.สุรพงษ์” แนะใช้สูตรฟ้าทะลายโจรหมอรามาฯ สู้โควิด ลดป่วยหนัก-ปอดบวม
กรมควบคุมโรคเตือนโควิดสายพันธุ์เดลตาติดง่าย สังเกตอาการยาก

TOP สังคม
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ