ย้อนตำนาน "บั้งไฟพญานาค" ความเชื่อ ศรัทธา บนลุ่มน้ำโขง


โดย PPTV Online

เผยแพร่




ปรากฎการณ์ "บั้งไฟพญานาค" ในลุ่มน้ำโขง ถือเป็นความลี้ลับที่ยังไม่มีใครสามารถพิสูนจ์ได้ว่าเป็นฝีมือคน หรือสิ่งมหัศจรรย์ทางธรรมชาติ แต่ทั้งหมดก็มีที่มาจากความเชื่อว่า มันคือเครื่องบูชาที่เหล่าพญานาคถวายแด่องค์สัมมาสัมพุทธเจ้า

กำลังกลายเป็นประเด็นร้อนหลังเฟซบุ๊กแฟนเพจ พิสูจน์บั้งไฟพญานาค ของสมภพ ขำสวัสดิ์ และทีมงาน ได้มีการออกมาเปิดเผยเรื่องราวปรากฎการ "บั้งไฟพญานาค" ที่จะเกิดขึ้นกิดขึ้นใน ทุกวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 หรือวันออกพรรษา ของทุกปี โดยระบุว่า  "พิสูจน์มา 10 ปี ไม่ซ้ำที่  คนยิงก็ยังคงยิงไป คนเฮก็ยังคงเฮไป" พร้อมนัดหมายยื่นหนังสือเพื่อให้ทางสถานทูตลาว เพื่อให้ทำการตรวจสอบ 25 หมู่บ้าน ที่คาดว่าจะเป็นผู้ยิงลูกปืนส่องแสง จนทำให้คนฝั่งไทยเข้าใจว่าเป็น "บั้งไฟพญานาค"
 

บรรยากาศบวงสรวงอัญเชิญพญานาค-จับจองที่นั่ง อ.โพนพิสัย หนองคาย (คลิป)

พุทธศาสนิกชนร่วมตักบาตรเทโวฯวันออกพรรษา

เมื่อพูดถึง "บั้งไฟพญานาค" ทุกคนต่างต้องมุ่งหน้าไปยัง จังหวัดหนองคาย และบึงกาฬ เพราะจุดนี้ถือเป็นชัยภูมิที่ดีที่สุดในจังหวัดริมแม่น้ำโขงที่จะเห็นบั้งไฟพญานาคได้ชัดเจน โดยเฉพาะที่จังหวัดหนองคาย จัดเป็นงานประจำปีแบบยิ่งใหญ่ และมีผู้เข้าร่วมงานเป็นจำนวนหลายพันคน มาเฝ้าจับตาดูลูกไฟ พุ่งขึ้นจากกลางลำน้ำโขง โดยขนาดของลูกไฟแต่ละลูก จะมีตั้งแต่เล็กเท่าหัวแม่มือ กระทั่งขนาดเท่าฟองไข่ไก่ พุ่งสูงประมาณ 1-30 เมตร เป็นเวลาประมาณ 5-10 วินาที แล้วหายไปโดยไม่มีการโค้งลงมา

และสิ่งที่ทำให้ "บั้งไฟพญานาค" เป็นที่รู้จักในวงกว้างมากขึ้น ก็น่าจะเป็นเมื่อปี 2545 ที่ จิระ มะลิกุล ได้นำหยิบเรื่องราวความเชื่อของชาวบ้านท้องถิ่นในแถบอีสาน มาทำเป็นภาพยนตร์เรื่อง 15 ค่ำ เดือน 11 จนถูกชาวหนองคายต่อต้าน โดยระบุว่ามีการบิดเบือนเนื้อเรื่องเกี่ยวกับ "บั้งไฟพญานาค" 

สำหรับที่มาของบั้งไฟพญานาค ได้มีการเล่าขานต่อกันมา ว่า ในสมัยพุทธกาล มีพญานาคตนหนึ่งซึ่งมีนิสัยดุร้าย มีพิษร้ายแรงในตัวถึง 64 ชนิด สามารถอาศัยอยู่ใต้ดิน หรือบาดาลได้ โดยพญานาคตนนี้ได้มีโอกาสนั่งฟังธรรมเทศนาของพระพุทธเจ้าแล้วเกิดศรัทธา จึงเลิกนิสัยดุร้าย ก่อนแปลงกายเป็นมนุษย์ของบวชเป็นพระภิกษุ และด้วยความเป็นสัตว์เดรัจฉาน จึงไม่สามารถบวชได้ นาคตนนั้นผิดหวังมาก จึงขอถวายคำว่า นาค ไว้ใช้เรียกผู้ที่เข้ามาขอบวชในพระพุทธศาสนา เพื่อเป็นอนุสรณ์ในความศรัทธาของตน และปวารณาตนเป็นพุทธมามกะ

และเมื่อครั้งที่สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จกลับจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ หลังจากเสด็จไปโปรดพุทธมารดาจนครบ 1 พรรษา (3 เดือน) มายังโลกมนุษย์ในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 เหล่าบรรดาพญานาคี นาคเทวี พร้อมทั้งเหล่าบริวารจึงจัดทำเครื่องบูชา และพ่นบั้งไฟถวาย ซึ่งต่อมาชาวบ้านเรียกว่าบั้งไฟพญานาคนั่นเอง

ขณะที่ทางวิทยาศาสาตร์ ได้มีงานวิจัยของไทยหลายฉบับสรุปว่า บั้งไฟพญานาค คือก๊าซมีเทน-ไนโตรเจนเกิดจากแบคทีเรียที่ความลึก 4.55–13.40 เมตร อุณหภูมิไม่ต่ำกว่า 15 องศาเซลเซียส ปริมาณออกซิเจนน้อย ในวันที่เกิดปรากฏการณ์มีแดดส่องช่วงประมาณ 10, 13 และ 16 นาฬิกา มีอุณหภูมิมากกว่า 26 องศาเซลเซียสทำให้มีความร้อนมากพอย่อยสลายสารอินทรีย์ และจะมีก๊าซมีเทนจากการหมัก 3–4 ชั่วโมง มากพอให้เกิดความดันก๊าชในผิวทรายทำให้ก๊าซจะหลุดออกมาและพุ่งขึ้นเมื่อโผล่พ้นน้ำ ฟองก๊าซที่โผล่ขึ้นมาเหนือน้ำบางส่วนจะฟุ้งกระจายออกไป ส่วนแกนในของก๊าซขนาดเท่าหัวแม่มือจะพุ่งขึ้นสูงกระทบกับออกซิเจน รวมกับอุณหภูมิที่ลดต่ำลงยามกลางคืนทำให้เกิดการสันดาปอย่างรวดเร็วจนติดไฟได้

ด้าน น.พ.มนัส กนกศิลป์ กล่าวในนิตยสารศิลปวัฒนธรรม ฉบับเดือนกุมภาพันธ์ 2538 ว่า "บั้งไฟพญานาคน่าจะเป็นสสาร และจะต้องมีมวล เพราะแหวกนํ้าขึ้นมาได้ จึงน่าจะเป็นก๊าซไม่มีสี ไม่มีกลิ่น จุดติดไฟได้เอง และต้องเบากว่าอากาศ" เขายังพบว่าความเป็นกรดด่างของน้ำในแม่น้ำโขงสอดคล้องกับระบบนิเวศน์ที่จะเกิดการหมักมีเทน ซึ่งเขาเคยไปวางทุ่นดักก๊าซในแม่น้ำโขง และพบว่าก๊าซที่ดักได้ในแม่น้ำโขงสามารถนำไปจุดติดไฟ จะเกิดการพุ่งวูบขึ้นมีสีออกเป็นแดงอมชมพู ส่วนคำถามที่ว่าทำไมบั้งไฟพญานาคถึงเกิดขึ้นในคืนวันออกพรรษา เขาบอกว่าในคืนนั้นมีอ็อกซิเจน ก๊าซที่ช่วยให้ติดไฟสูงสุดในรอบปี ซึ่งก็เกิดจากอิทธิพลของแรงโน้มถ่วงพลังงานรังสีของดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์และโลก

มีคำอธิบายที่คล้ายกันเกี่ยวกับปรากฏการณ์ที่ใกล้เคียงในฟิสิกส์พลาสมา (plasma physics) โดยเป็นลูกพลาสมาลอยอิสระซึ่งสร้างจากไฟฟ้าสถิต (เช่น จากตัวเก็บประจุ) ถูกปล่อยสู่สารละลาย[6] ทว่า การทดลองบอลพลาสมาส่วนใหญ่กระทำโดยใช้ตัวเก็บประจุค่าแรงดันสูง ตัวกำเนิดสัญญาณไมโครเวฟหรือเตาอบไมโครเวฟ มิใช่ภาวะธรรมชาติ

ย้อนตำนาน “บั้งไฟพญานาค” ความรักจาก “นาคี” ต่อมนุษย์และพุทธศาสนา

ไม่หลบหลู่! เพจดังยื่นหนังสือพิสูจน์ "บั้งไฟพญานาค" คือกระสุนส่องแสง

แต่งานนี้ ก็ยังไม่มีใครสามารถยืนยันได้ว่าสิ่งที่เกิดขึ้นเป็นฝีมือมนุษย์ หรือ ธรรมชาติ เพราะทุกอย่างน่าจะเหมือนคำพูดที่ จิระ มะลิกุล ได้สอดแทรกอยู่ในภาพยนตร์ 15 ค่ำ เดือน 11 "เฮ็ดในสิ่งที่เชื่อ เชื่อในสิ่งที่เฮ็ด"

ที่มาข้อมูล 

- เฟซบุ๊กแฟนเพจ พิสูจน์บั้งไฟพญานาค

 

TOP สังคม
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ