กฎหมายบุหรี่ไฟฟ้าในไทย เป็นไปได้หรือไม่?


โดย PPTV Online

เผยแพร่




ใกล้วันสูบบุหรี่โลก โลกที่กำลังเปลื่ยนแปลงไป บุหรี่ไฟฟ้าเรามักเห็นได้ง่ายขึ้น แต่รู้หรือไม่ประเทศไทยเรายังไม่รับรองเรื่องนี้ให้ถูกต้องตามกฎหมาย

ก่อนหน้านี้มีหลายภาคส่วนออกเถียงเกี่ยวกับการสูบบุหรี่ไฟฟ้า ที่ยังหาข้อสรุปไม่ได้ เพราะฝั่งผู้สนับสนุนบุหรี่ไฟฟ้า มองว่าเป็นการช่วยเหลือคนนับล้านที่พยายามเลิกบุหรี่ ขณะที่ฝั่งคัดค้านมองว่าจะก่อให้เกิดผู้เสพติดบุหรี่ไฟฟ้าขึ้นมาแทน

ย้อนดูคำขวัญ ตลอด 32 ปี "วันงดสูบบุหรี่โลก" 31 พ.ค.

ไขข้อสงสัย “บุหรี่ไฟฟ้า” ช่วยเลิกบุหรี่หรือไม่ และทำไมไม่ถูกกฎหมาย?

ย้อนรอยกฎหมายควบคุมบุหรี่ไฟฟ้า

ก่อนปี 2557 บุหรี่ไฟฟ้าไม่มีกฎหมายควบคุม บุหรี่ไฟฟ้าที่เข้ามาก่อนปี 2557 ถือว่าไม่ผิดกฎหมาย แต่มาเมื่อรัฐประหารปี 2557 พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้ขึ้นมาเป็นนายกรัฐมนตรี 

และได้ออกประกาศกระทรวงพาณิชย์ พ.ศ.2557 จึงทำให้บุหรี่ไฟฟ้า ผิดกฏหมายตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา

ที่ผ่านมาเราเคยเห็นแอ็คชั่น เรื่องนี้จากนายชัยวุฒิ ธนาคมนุสรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิตอลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ที่ให้สัมภาษณ์ไว้ วันที่ 5 ต.ค.64 สนับสนุนบุหรี่ไฟฟ้าถูกกฎหมาย ส่วนตัวกำลังศึกษาข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับบุหรี่ไฟฟ้า เพราะมองว่าการทำให้เป็นสิ่งที่ถูกกฎหมายจะสามารถลดอันตรายแก่ผู้สูบได้ พร้อมระบุว่า เครื่องยาสูบที่เป็นไฟฟ้าถือเป็นเทคโนโลยีใหม่ 67 ประเทศทั่วโลกมีการยอมรับบุหรี่ไฟฟ้าแล้ว

นอกจากนี้ ยังหยิบยกเหตุผลว่า เนื่องจากโรงงานยาสูบและผู้ปลูกยาสูบเองก็มีรายได้ลดลง เนื่องจากคนนิยมไปสูบบุหรี่นำเข้า หรือบุหรี่ที่ลักลอบนำเข้ามา

ต่อมานายสาธิต ปิตุเตชะ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข ออกมาปฏิเสธว่า รัฐบาลไม่มีนโยบายให้บุหรี่ไฟฟ้า เพราะเป็นสิ่งที่ถูกกฎหมาย

 

บุหรี่ไฟฟ้าผิดกฎหมายอะไรบ้าง

บุหรี่ไฟฟ้าเป็นของต้องห้ามในประเทศไทย เพราะผิดกฎหมาย และห้ามนำเข้าโดยเด็ดขาด

  • ตามประกาศกระทรวงพาณิชย์ พ.ศ. 2557 ภายใต้ พ.ร.บ.การส่งออกไปนอกและการนำเข้ามาในราชอาณาจักรซึ่งสินค้า พ.ศ. 2522 ผู้ฝ่าฝืนมีโทษ จำคุกไม่เกิน 10 ปีหรือปรับเป็นเงิน 5 เท่าของสินค้าที่นำเข้า หรือทั้งจำทั้งปรับพร้อมถูกริบสินค้า
  • พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2560 มาตรา 244 ที่บัญญัติว่า “ผู้ใดนำเข้าของที่ผ่านหรือกำลังผ่านพิธีการทางศุลกากรเข้าในราชอาณาจักร หรือส่งของดังกล่าวออกไปนอกราชอาณาจักร หรือนำของเข้าเพื่อการผ่านแดน หรือการถ่ายลำเลียงโดยหลีกเลี่ยงข้อจำกัด หรือข้อห้ามอันเกี่ยวกับของนั้น ซึ่งความผิดที่ผู้มีไว้ในครอบครองซึ่งของที่มิได้ผ่านพิธีการศุลกากรจะได้รับคือ ความผิดฐานสนับสนุนการกระทำความผิด
  • กฎหมายที่ห้ามนำเข้าบุหรี่ไฟฟ้าประกาศ ในราชกิจจานุเบกษาวันที่ 26 ธ.ค. 2557 และมีผลตั้งแต่นับถัดจากวันที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ดังนั้น ถ้าใครครอบครองบุหรี่ไฟฟ้ามาก่อน 27 ธ.ค. 2557 ไม่มีความผิด เพราะกฎหมายไม่มีผลย้อนหลัง นอกจากบุหรี่ไฟฟ้าแล้ว ยังรวมถึงบารากู่ สารสกัดต่างๆ ก็ห้ามนำเข้า
  • บุหรี่ไฟฟ้ายังเป็นสินค้าที่ห้ามขายหรือให้บริการ ตามคำสั่งคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค ที่ 9/2558 ซึ่งกำหนดโทษสำหรับผู้ประกอบธุรกิจทั่วไป ให้จำคุกไม่เกิน 5 ปี ปรับไม่เกิน 500,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และหากผู้ที่กระทำผิดเป็นผู้ประกอบธุรกิจในฐานะผู้ผลิต ผู้สั่ง หรือผู้ที่นำเข้ามาเพื่อขาย ต้องรับโทษเพิ่มสูงขึ้นเป็นจำคุกไม่เกิน 10 ปี ปรับไม่เกิน 1,000,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ


อนามัยโลกชี้ “ฝีดาษลิง” เป็น “ภัยเสี่ยงระดับปานกลาง” ต่อสาธารณสุขโลก

นักวิชาการจี้กลุ่มธุรกิจบุหรี่ไฟฟ้า อย่าหวังแต่เงิน ควรคำนึงถึงเยาวชน

ฟังมุมของคนที่ไม่อยากให้บุหรี่ไฟฟ้าถูกกฎหมาย

ด้านแพทย์สมาคมแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ร่วมกับคณะแพทย์จากราชวิทยาลัย 14 แห่ง เครือข่ายวิชาชีพแพทย์ เครือข่ายวิชาชีพสุขภาพ และสมาพันธ์เครือข่ายวิชาชีพสุขภาพ ชี้แจงถึงกรณีที่รัฐมนตรีว่าการกระทวงดิจิทัลฯ นายชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ อ้างว่ามี 67 ประเทศอนุญาตให้มีการจำหน่ายบุหรี่ไฟฟ้าได้ ให้กลับไปทบทวนคำอนุญาตของประเทศเหล่านั้นว่า แต่ละประเทศล้วนมีข้อแม้ และข้อบ่งชี้ในการใช้ทั้งสิ้น มิใช่ขายได้อย่างอิสระ และยังมีประเทศอีกเป็นจำนวนมากที่ไม่อนุญาต (Ban) ให้มีการจำหน่าย ด้วยเหตุผลว่าเขาต้องการปกป้องสุขภาพของประชาชนของเขาด้วยกระบวนการ “ป้องกัน ดีกว่าแก้”
 
 ดังนั้นแพทย์สมาคมฯ และ องค์กรร่วม จึงขอคัดค้านอย่างเต็มที่ในการที่จะมีการพิจารณาให้มีการยกเลิกประกาศของกระทรวงพาณิชย์ในการห้ามนำเข้า และจำหน่ายบุหรี่ไฟฟ้าในประเทศไทย และขอเชิญชวนให้มีการต่อต้านการสูบบุหรี่และบุหรี่ไฟฟ้า เพื่อรักษาสุขภาพให้แข็งแรง เป็นกำลังในการช่วยกันพัฒนาประเทศชาติต่อไป
 
ส่วนการเลิกสูบบุหรี่นั้น ไม่จำเป็นต้องพึ่งหรืออาศัยบุหรี่ไฟฟ้า หากต้องการเลิกสูบจริง ๆ ทางเครือข่ายวิชาชีพสุขภาพเพื่อสังคมไทยปลอดบุหรี่และเครือข่ายต่าง ๆ มีวิธีการและกำลังดำเนินการช่วยเหลืออยู่อย่างเต็มกำลัง ทั้งให้คำปรึกษา และ การจัดหายาเลิกบุหรี่ให้ ท่านสามารถปรึกษาได้ที่สายด่วนเลิกบุหรี่ โทรศัพท์ 1600 (โทรฟรีทุกเครือข่าย) คลินิกฟ้าใส 544 แห่งทั่วประเทศ และที่หน่วย

อย่างไรก็ตาม จึงสรุปเรื่องนี้ได้ว่า กรณีนำเข้า ผลิต หรือ ขายบุหรี่ไฟฟ้า มีความผิดตามกฎหมายไทยอย่างแน่นนอน กรณีของผู้ครอบครองเพื่อใช้ส่วนตัว อาจไม่มีความผิดโดยตรง หากมีความผิดจะเข้าข่ายตามมาตรา 246 ของ พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2560 ที่บอกว่า “ผู้ใดช่วยซ่อนเร้น ช่วยจําหน่าย ช่วยพาเอาไปเสีย ซื้อ รับจํานําหรือรับไว้ ซึ่งของที่รู้ว่าเป็นความผิดตามมาตรา 242 มีโทษจําคุกไม่เกิน 5 ปี ปรับ 4 เท่าของราคาของ หรือทั้งจําทั้งปรับ”

และหากมีผู้สูบบุหรี่ไฟฟ้าในสถานที่สาธารณะ ที่กำหนดให้เป็นเขตปลอดบุหรี่ เช่น ในโรงเรียน โรงพยาบาล ตลาด ถือว่าฝ่าฝืนมาตรา 42 พ.ร.บ.ควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ พ.ศ.2560 ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 5,000 บาท

ทั้งนี้ ส่วนใหญ่ก็ขึ้นอยู่กับเจ้าหน้าที่ตำรวจ ว่ารวบรวมหลักฐานได้มากน้อยแค่ไหน ก่อนจะส่งฟ้องอัยการ

โออาร์ปรับแล้ว ขึ้น “ดีเซล 1 บาท” - ดีเซลพรีเมียม ขึ้น 2 บาท มีผลพรุ่งนี้ 31 พ.ค.65

ดีเดย์ 2 มิ.ย.ขายหวย 80 บาทผ่านเป๋าตัง แนะวิธีซื้อ-ขึ้นเงินหากถูกรางวัล

TOP สังคม
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ