นักท่องเที่ยวแห่ร่วมงาน ฟูลมูนปาร์ตี้ “เกาะพะงัน” คึกคัก


โดย PPTV Online

เผยแพร่




นักท่องเที่ยวร่วมงานฟูลมูนปาร์ตี้ เกาะพะงัน อย่างคึกคัก ด้านผู้ประกอบการห่วงนำกัญชา มาใช้ ในเชิงสันทนาการงานฟูลมูนปาร์ตี้

บรรยากาศงานฟูลมูนปาร์ตี้ เมื่อช่วงค่ำที่ผ่านมา (14 มิ.ย.65) ที่ทางผู้ประกอบการและชาวบ้านในชุมชนหาดริ้ม อ.เกาะพะงัน จ.สุราษฎร์ธานี จัดขึ้น ซึ่งเป็นไปอย่างคึกคัก มีนักท่องเที่ยวเข้าร่วมราว 1 หมื่นคน โดยเป็นการจัดกิจกรรมฟูลมูนปาร์ตี้อย่างเต็มรูปแบบครั้งแรก ทำให้ผู้ประกอบการร้านอาหาร โรงแรมที่พัก รวมถึงร้านจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์กลับมามีรายได้ 

ขณะเดียวกัน ผู้ประกอบการในพื้นที่ ยังแสดงความกังวง หลัง คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาพระราชบัญญัติ กัญชา กันชง นัดแรก เมื่อวันที่ 13 มิ.ย.2565 ที่ผ่านมา 

แอปฯ “ปลูกกัญชา” คึกคัก! เพียง 5 วัน ลงทะเบียนทะลุกว่า 7 แสน

"เดิน-วิ่ง โอลิมปิก เดย์ พะเยา" คึกคัก ชูคอนเซ็ปต์ "รักษ์โลก"

 

ด้านนายกนก วงษ์ตระหง่าน ส.ส.บัญชีรายชื่อพรรคประชาธิปัตย์ ในฐานะรองประธานคณะกรรมาธิการ มีการเสนอว่า ควรมีการยกเว้นบางพื้นที่ ที่ให้กัญชา กัญชง ใช้เพื่อสันทนาการได้ เช่น กิจกรรมฟูลมูนปาร์ตี้ เกาะพะงัน และที่ จ.ภูเก็ต 

นายทวิช สมหวัง ประธานที่ปรึกษาชมรมผู้ประกอบการหาดริ้ม และชุมชนหาดริ้ม ว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องละเอียดอ่อนและมีความสำคัญ เพราะกิจกรรมฟูลมูนปาร์ตี้ มีชื่อเสียงโด่งดังไปทั่วโลก การที่จะนำ กัญชา กัญชง มาร่วมในกิจกรรมฟูลมูนปาร์ตี้ ทางคณะกรรมมาธิการควรที่จะลงพื้นที่ มาศึกษาข้อมูลและพูดคุยกับผู้ประกอบการ รวมทั้งชาวบ้าน เพื่อรับฟังความคิดเห็นก่อน  

ขณะที่ นายแพทย์ล่ำซำ ลักขณาภิชนชัช รองผู้อำนวยการสถาบันบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดแห่งชาติบรมราชชนนี หรือ สบยช. ให้ข้อมูลว่า ในแต่ละปีมีผู้ป่วยที่เสพติดกัญชา มารักษา บำบัดที่นี่ปีละ 400-500 คน ที่น่าตกใจในจำนวนนี้ มีเด็กอายุต่ำกว่า 16 ปี 2 เปอร์เซนต์ อายุ 16-20 ปี 25 เปอร์เซนต์ ส่วนที่เหลือประมาณ 70 เปอร์เซนต์ เป็นคนอายุ 20 ปี ขึ้นไป

ส่วนใหญ่เมื่อมาพบแพทย์ เพื่อบำบัด ก็จะมีอาการรุนแรงแล้ว เช่น ควบคุมตัวเองไม่ได้ , อารมณ์แปรปรวน , การเรียนตกต่ำ และมีปัญหาสุขภาพอื่นๆ เช่น ปัญหาเกี่ยวกับปอด

โดยการรักษา และบำบัดการติดกัญชา  ส่วนใหญ่ในช่วง 2-4 สัปดาห์แรก เรียกว่า ระยะถอนพิษยา แพทย์จะให้ยาตามอาการ และสร้างแรงจูงใจให้ปรับเปลี่ยนตวามคิดควบคู่กัน จากนั้นจะเข้าสู่ระยะเปลี่ยนพฤติกรรม รักษาต่อเฉลี่ย 4 เดือน - 1 ปี ซึ่งระหว่างนี้แพทย์จะติดตามอาการ 7 ครั้งต่อปี

ส่วนการใช้กัญชาปริมาณ และระยะเวลานานขนาดไหนถึงเรียกว่า ติดกัญชา นายแพทย์ลำซ่ำ อธิบายว่า ขึ้นอยู่พันธุกรรมของแต่ละบุคคล เพราะการตอบสนอง และการทนทานต่อสารในกัญชาแตกต่างกัน แต่มีข้อสังเกตอย่างหนึ่งคือ ผู้ใช้จะเริ่มจะดื้อยา ต้องเพิ่มปริมาณกัญชา ในการสูบเพิ่มขึ้นจากเดิม ขณะเดียวกันการกินอาหารที่มีส่วนผสมในกัญชา ก็ไม่โอกาสเสพติดกัญชาน้อยกว่าการสูบ

หลังจากมีการปลดล็อคกัญชา จากยาเสพติดให้โทษประเภทที่ 5 จะมีแนวโน้มคนที่มาบำบัดการติดกัญชามากขึ้นไหม นายแพทย์ล่ำซำ ระบุว่า เป็นเรื่องที่ต้องติดตาม และเฝ้าระวัง เพราะถ้าดูข้อมูลผู้ป่วยที่ติดยาเสพติดเข้ามาบำบัดที่นี่ อันดับ 1 ยังเป็นผู้ป่วยติดยาบ้า อันดับ 2 เฮโรอีน อันดับ 3 สุรา และอันดับ 4 กัญชา ซึ่งในอนาคตก็มีโอกาสจำนวนผู้ป่วยที่ติดกัญชา อาจจะเข้ามาบำบัดแซงหน้าผู้ป่วยกลุ่มอื่นได้เช่นกัน

สำหรับผู้ป่วยเสพกัญชาที่รับการบำบัดที่ สบยช. ในปีงบประมาณ 65 ตั้งแต่ตุลาคม 64 - พฤษภาคม 65 มีทั้งหมด 269 คน แบ่งเป็นผู้ป่วยใน 58 คน ประเมินว่า ติดกัญชา 38 คน และมีอาการทางจิต  20 คน ผู้ป่วยนอก 211  คน ประเมินว่า ติดกัญชา 158 คน และมีอาการทางจิต 34  คน

ส่วนราชกิจจานุเบกษาเผยแพร่ ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง กำหนดให้การกระทำให้เกิดกลิ่น หรือ ควันกัญชา กัญชง หรือ พืชอื่นใด เป็นเหตุรำคาญ พ.ศ.2565 โดยมีการใช้กัญชา กัญชง ในทางไม่เหมาะสม เช่น สันทนาการ โดยควันของกัญชา กัญชง มีอนุภาคขนาดเล็ก เข้าสู่ปอดได้ด้วยการหายใจ ทำให้เสี่ยงเป็นโรคปอด หอบหืด หลอดลมอักเสบ เพื่อควบคุมไม่ให้เป็นอันตรายต่อสุขภาพของผู้อยู่อาศัยบริเวณใกล้เคียง หรือผู้ประสบเหตุนั้น จึงกำหนดให้ การกระทำให้เกิดกลิ่น หรือ ควัน กัญชา กัญชง หรือพืชอื่นใด เป็นเหตุรำคาญตามกฏหมายว่าด้วยการสาธารณสุข เริ่มตั้งแต่ 15 มิถุนายนเป็นต้นไป

เปิดใจ! ผู้ใช้กัญชาเพื่อสันทนาการ

เตือน! หน้าใหม่วงการกัญชา ศึกษาก่อนลงทุน

 

PR - ตารางคะแนน-2_B PR - ตารางคะแนน-2_B
TOP สังคม
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ