ด.ญ.อัมพาตครึ่งหน้า เพราะ "เห็บป่า" คาดลมพัดเข้าหู!!


โดย PPTV Online

เผยแพร่




อันตรายกว่าที่คิด “เห็บป่า” เข้าหู ด.ญ.ทำรังวางไข่ ทำลายประสาท เป็นอัมพาตครึ่งหน้า แพทย์เผยอาการภัยจากเห็บ ถึงชีวิตได้

เตือนภัย คนไข้เจ็บหู ให้หมอตรวจ เจอ “เห็บหมา” โตเต็มวัย พร้อมวางไข่

หญิงญี่ปุ่นเสียชีวิตจากเชื้อไวรัสที่มีเห็บแมวเป็นพาหะ

ภาพจากการส่องตรวจรูหูของเด็กหญิง พบว่าภายในรูหูอัดแน่นแด้วยไข่เห็บป่าจำนวนมาก ซึ่งจุดที่เห็นนี้เป็นแก้วหูชั้นในค่อนข้างลึก ไข่เห็บป่ากดทับปลายประสาท ส่งผลให้เด็กหญิง ปากเบี้ยว ขยับหน้า คิ้ว ไม่ได้   โดยผู้ใช้เฟซบุ๊กรายหนึ่งโพสต์ข้อความและภาพ เตือนภัยอันตรายจากเห็บป่า โดยระบุว่า “เห็บป่าเข้าหูออกลูกเต็มหูทำให้เส้นปลายประสาทอักเสบตอนนี้เป็นอัมพาตไปครึ่งหน้า บอกแต่คัน หูมีฟอง ใช้คัตเตอร์ปั่นหูวันที่ 3  เลยเอาไฟส่งดูเห็นตัวแต่ลึกมากเลยใช้น้ำมันมะพร้าวผสมกับน้มันเหลืองปั่นหยอดหู 6โมงเย็น จนถึง 2 ทุ่ม เห็บตัวแม่ก็คลานออกมาตัวกลมดำปี๋ พอเช้ามา น้องก็ปากเบี้ยว คิ้วเอียง ต้องพาไปหาหมอเฉพาะทาง ส่องกล้องพบทั้งตัวไข่เต็มหู"

นอกจากนี้ผู้โพสต์ยังให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า เห็บที่เข้าหูน้องเป็นเห็บป่า คนละชนิดกับเห็บบ้าน เห็บหมาแมว ซึ่งเห็บป่านั้น มักจะอยู่กับตัวสัตว์ป่า  ซึ่งบ้านของตนนั้นอยู่ติดกับสวน หมอคาดว่า ช่วงนี้ลมแรง อาจพัดตัวเห็บเข้ามาในหูได้ ซึ่งแก้วหูชั้นในบอบช้ำมาก มีเลือดออก ทำให้ปลายเส้นประสาทอักเสบ น้องจึงมีอาการดังกล่าว

ล่าสุดวันนี้แพทย์ได้ตรวจอาการอีกครั้ง พบว่า ไม่มีไข่เห็บแล้ว  แต่แก้วหูชั้นในมีอาการอักเสบ ต้องใช้ระยะเวลาในการรักษา โดยใช้ยากระตุ้นประสาทเพิ่ม เนื่องจากเส้นประสาทบางส่วนใช้งานไม่ได้แล้ว

ทั้งนี้ทีมข่าวได้ลงพื้นที่ไปยังบ้านของเด็กหญิง พบเพียงแต่ผู้เป็นยาย โดยแม่ได้พาเด็กหญิงไปพบแพทย์เพื่อทำการรักษาอาการเบื้องต้น

กรณีภัยอันตรายจากเห็บกัดนั้น พญ.มิ่งขวัญ วิชัยดิษฐ ผู้อำนวยการสถาบันโรคผิวหนัง เคยให้ความรู้เรื่อง เห็บกัดคน ไว้ด้วยว่า อาการที่เกิดจากเห็บกัดมักเป็นเพียงอาการเฉพาะที่ แต่มีผู้ป่วยส่วนน้อยที่เกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงหลังถูกเห็บบางชนิดกัด คือ อัมพาตจากการถูกเห็บกัด เริ่มแรกผู้ป่วยจะมีอาการปวดหัว ปวดเมื่อยตามตัว จากนั้นในระยะเวลาไม่นานจะเกิดเป็นอัมพาต ซึ่งภาวะนี้อาจนำไปสู่ภาวะระบบหายใจล้มเหลวที่เป็นอันตรายถึงชีวิตได้ ดังนั้นหากรู้สึกว่ามีงแปลกปลอมเข้าไปในหู ให้รีบพบแพทย์โดยเร็วที่สุด ไม่ควรแคะ หรือหยอดยาเอง

สำหรับชนิดเห็บ นั้นทาง เพจ Jungle Trek : สายป่า ได้ให้ความรู้เรื่องเห็บไว้ด้วยว่าเห็บที่พบในป่ามี 2 ชนิดใหญ่ๆ คือ เห็บแข็ง (Ticks) ส่วนใหญ่จะเรียกว่า เห็บกวาง  ตัวใหญ่คล้ายเห็บสุนัข  ส่วน “เห็บลม” จะตัวเล็กกว่าเห็ทั่วไป ลักษณะคล้ายไรอ่อน (Chigger) หรือไรแดง พบเกือบตลอดทั้งปี โดยเฉพาะช่วงหน้าหนาว

มักอาศัยตามพื้น ,ใบหญ้า และ เห็บชนิดนี้จึงสามารถลอยไปตามกระแสลมได้ โดยทั่วไปแล้วพบได้ในฤดูแล้งในเขตป่า ในเขตอุทยานแห่งชาติ  อาการเมื่อถูกกัดเห็บลมจะเกาะติดอยู่ที่ผิวหนัง โดยไม่รู้ตัว ผู้ที่มีอาการแพ้อาจเป็นไข้ได้  บริเวณที่ถูกกัดเป็นผื่นแดงเจ็บคัน

TOP สุขภาพ
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ