นาทีระทึก! หมอสาว เล่าทำคลอด “แม่ติดโควิด-19” หากพลาด 30 ชีวิตเสี่ยงติดเชื้อ


โดย PPTV Online

เผยแพร่




โลกโซลแห่แชร์ แพทย์หญิง เล่าเรื่องราวการทำคลอดแม่ติดโควิด-19 ทั้งตื่นเต้น และเครียด หากผิดพลาดเจ้าเจ้าที่กว่า 30 คน มีโอกาสติดเชื้อ

10 ประเด็นชาวโซเชียลพูดถึงมากที่สุดช่วงโควิด-19 ระลอกใหม่

ทำไมอินโดนีเซียเล็งฉีดวัคซีนโควิด-19 ให้คนวัยทำงานก่อนผู้สูงอายุ?

เมื่อวันที่ 7 ม.ค. 2564 พญ.นพรัตน์ สุธราพนากิจ ประจำโรงพยาบาลพระมงกุฎ โพสต์ผ่านเฟซบุ๊ก Nopparat Sutarapanakit เล่าเรื่องราวการทำคลอดเด็กทารก ในขณะที่แม่มีเชื้อไวรัสโควิด-19 ซึ่งติดมาจากสามีที่ได้มาจากการทำงาน

 

“บันทึกไว้เตือนความทรงจำ 6/1/64 “สุขสันต์วันเกิด น้องโควิดา “ (ชื่อนี้หมอๆ ตั้งให้เองน้า ) ความตื่นเต้นเริ่มจาก แม่ covid positive GA 36 +2 with IUGR ประเมิน น้ำหนักลูก 2100 กรัม ติดมาจากพ่อที่ทำงานตลาดทะเลไท ทั้งแม่ ทั้งหมอทุกคนเครียด แค่ป้องกัน Covid ก็ลำบากแล้วนี่ต้องเตรียมรับแม่ที่จะคลอดได้ตลอดเวลา เวลา 1-2 อาทิตย์ สำหรับการเตรียมการถือว่าน้อยมาก ๆ มันเครียดสำหรับทุกฝ่าย สำหรับ รพ. อำเภอเล็ก ๆ ในพื้นที่สีแดงเข้มมมมม ปัญหาเริ่มจาก เด็กตัวเล็ก ไม่ครบกำหนดคลอด อาจจะคลอดเมื่อไหร่ก็ได้ พ่วงมาด้วย Covid ที่ใคร ๆ ก็กลัวไม่อยากเป็น

เริ่มต้นด้วย หมอเมดบอก คนท้องคือ high risk สำหรับ Covid 19 เพราะยาที่ให้มีข้อจำกัดเพราะยังไม่ 37 weeks หมอเมด หายากันให้วุ่น ไม่รู้ต้องให้เมื่อไหร่ ถึงช่วยลด viral load เนื่องจากยังไม่เคยเจอเหตุการณ์แบบนี้มาก่อน แต่โชคยังดี แม่อาการดีไม่มีปอดอักเสบ พอผล positive ก็ admit หมอทุกแผนก สูติ เด็ก เมด ลุ้นกันทุกคืน ใจก็อยากดึงให้ถึง 38 weeks เพราะไม่อยากให้เด็กเกิดมาแล้วมีปัญหาเรื่องการหายใจ ถ้าต้อง ใส่ ETT อาจแพร่ให้เจ้าหน้าที่ที่ ดูแลได้ แถมแม่ admit 31 ธันวาคม ยอมรับว่าเป็นวันสิ้นปีที่ลุ้นตลอดเวลา หมอหลายแผนกไปไหนไม่ได้ ต้อง stand by เผื่อภาวะฉุกเฉิน ผ่านไปแต่ละวันอย่างเนิ่นนาน มีการประชุม หาข้อสรุปว่าจะวางแนวทางรักษาทั้งแม่และลูก รวมทั้งแนวทางป้องกันเจ้าหน้าที่ทุกคนให้เสี่ยงน้อยที่สุด ยื้อได้ 5 วัน น้องโควิดาก็อยากเกิด แม่เริ่มเจ็บท้อง การประชุมทั้งทีมเกิดความเครียด ตกลงไม่ได้ว่าจะทำไงดี จะเลือกความปลอดภัยของแม่ หรือ ลูก แถมพ่วงด้วยความเสี่ยงของการติดเชื้อของเจ้าหน้าที่ทุกระดับชั้น หมอทุกแผนก ปรึกษาอาจารย์ ใน รร. แพทย์ เผื่อหาแนวทางการดูแลที่ดีที่สุด เรียกว่า อ่านหนังสือ guildline paper เยอะแบบไม่เคยทำมาก่อน และทีมก็ตัดสินใจยอมให้หนูน้อย โควิดา คลอด ตอนGA 37 weeks เพราะไม่อยากให้เกิดเหตุการณ์ฉุกเฉิน เจ็บท้องคลอดกันใน ward Covid ซึ่งสถานที่ไม่อำนวยในการคลอดและเสี่ยงสำหรับเจ้าหน้าที่มากมายนับไม่ถ้วน

หมอสูติ คิดหนัก เพราะหมอเด็กอยากรอถึง 38 weeks หมอเมดอยากรอให้ ครบ 10 วันหลังจาก positive แต่หมอสูติบอกไม่ได้เลยว่าลูกจะอยากเกิดวันไหน ถ้าเกิดคลอดนอกเวลา เจ้าหน้าที่จะยิ่งไม่พร้อม ความเสี่ยงจะเพิ่มขึ้นมหาศาล แล้วยังคิดว่าจะหาใครมาเลี้ยงเด็ก เพราะพ่อแม่ยังไม่ครบกักตัว 28 วัน ได้คุณยายวัย 72 ปี ก็ยังดี แต่คงต้องเน้นเรื่องการป้องกันตัว ถ้าพ่อแม่ได้กลับบ้าน ไม่งั้นติดหลังคลอด หมอเด็กก็เครียดอีก

หมอเด็ก ก็กลัวถ้า C/S 37 week without labour pain ปัญหาของเด็กตัวเล็ก รออยู่อีกมากมายที่กลัวที่สุดคือเรื่องการหายใจ ( TTN ) แต่ต้องยอมแลกกับความเสี่ยงที่จะคลอดแบบฉุกเฉินกลางดึก ซึ่งไม่มีความพร้อม

หมอเมดก็เครียด เรื่องการให้ยา ลดการความเสี่ยงในการแพร่เชื้อ จัดหาที่ให้อยู่ ( ตอนนี้ คนไข้ Covid เยอะจนล้น ตอนนี้ก็ให้นอนห้องละ 3 คนอยู่แล้ว )

หลังจากปรึกษากันเสร็จ สรุปได้วันผ่าตัดคลอด การเตรียมการใหญ่ ทั้งเตรียมทีม เตรียมห้อง เตรียมอุปกรณ์(พันพลาสติกกันปนเปื้อน เพราะหลายอย่างต้องนำกลับมาใช้ซ้ำ)มหาศาล เจ้าหน้าที่ฝึกซ้อมแผนใหญ่ก่อนผ่าตัด 1 วัน ตั้งแต่set ผ่าตัด เวรเปลพาแม่เข้า OR ปิดทางเดิน แม่บ้านตามทำความสะอาดสถานที่ที่ผ่าน เจ้าหน้าที่ทุกฝ่ายซ้อมใส่ชุดหมี ยากสุดตอนทำให้ N95 ฟิตกับหน้าไม่ให้มี leak ทำไงให้ถอดชุดง่าย ลดการปนเปื้อน คนที่ใส่แว่นหา สก็อตเทปติดกันแว่นหลุด ทำยังไงไม่ให้เกิดฝ้าที่แว่นและ face shield มันยากไปหมด พี่หมอสูติติด micropore อยู่หลายรอบ เวลาถอด N95 ไม่ให้ contaminate ดึงจนหนังหน้าหนังขอบตาล่างจะหลุดออกมา ถลอกไปหมด ส่วนหมอเด็กทีมรับเด็กก็ต้องหาวิธีคล้อง stet ไว้ตลอดเวลา จนเจ็บหู รูดชุดหมีคลุมให้มิดที่สุด แค่วันซ้อม ก็ใช้อุปกรณ์มากมาย พอถึงวันจริง สรุป ทั้งหมอสูติ หมอเด็ก นอนไม่หลับ กลัวสารพัด คิดเหตุการณ์ที่ไม่คาดฝันทุกรูปแบบเพื่อหาทางป้องกันไว้ก่อน หมอดมยาก็คงเครียดเหมือนกัน เพราะต้อง spinal block ให้สำเร็จอย่างเดียว ทั้งทีมต้องไม่ให้มีข้อผิดพลาด ซึ่งถ้าผิดพลาดนิดเดียวหมายถึงเจ้าหน้าที่เกือบ 30 ชีวิตมีโอกาสติดเชื้อ และคนทำงานคงหายไปหลายคน ในช่วงวิกฤตแบบนี้ ยิ่งขาดใครไม่ได้เลย ไม่คิดว่า จะมาถึงจุดนี้เลยจริงๆ ที่เล่ามายาว อยากไว้เตือนตัวเอง และอยากถ่ายทอดว่า ถ้าคุณแม่เป็น Covid ( ไม่ได้หมายถึงคุณแม่ท่านนี้นะคะ คุณแม่ท่านนี้น่ารักมาก ติดมาจากสามีที่ได้มาจากการทำงาน เจ้าหน้าที่ทุกคนเข้าใจ และอยากให้ทั้งคุณแม่และคุณลูกปลอดภัยค่ะ ) ไม่ใช่แค่ครอบครัวที่เครียด หมอๆ เจ้าหน้าที่ทุกระดับชั้นก็เครียดมากกว่าหลายเท่า ดังนั้น ช่วยกันระวังอย่าให้ตัวเองเป็น ถ้าเสี่ยงมาอย่าปกปิด ให้บอกเจ้าหน้าที่ให้หมด  ให้คิดว่า เจ้าหน้าที่ทุกคนก็มีพ่อแม่ ลูก เมีย ที่เค้าต้องดูแล เค้าเสียสละหลายสิ่งเพื่อทุกคนปลอดภัย

ใส่ mask ล้างมือ อย่าปกปิดประวัติ นึกว่าช่วยบุคลากรทางการแพทย์นะคะ save บุคลากรทางการแพทย์แล้วเราทุกคนจะ save คุณเต็มที่ค่ะ ขอบคุณทีมเด็กที่ให้หยวนได้มีโอกาสไปร่วมทีมนะคะ วันนี้ได้เห็นทุกฝ่ายทำงานอย่างไม่เหน็ดเหนื่อย มันสุดยอดมากๆ ค่ะ วันนี้เป็นอีกวันที่ภูมิใจมากที่เรียนNB รู้สึกการรับเด็กกับทีมครั้งนี้มันยิ่งใหญ่และน่าจดจำที่สุด ทุกบทเรียนวันนี้จะพยายามหาจุดบกพร่องเพื่อแก้ไขปรับปรุงเพราะรู้ว่าเดี๋ยวก็คงมีเคสอีกในพื้นที่สีแดงเข้มมมมม tagไม่ครบทุกคนแต่อยากขอบคุณทั้งทีมที่ทำให้วันนี้เป็นวันที่ทำให้ตัวเองรู้สึกมีคุณค่ามากจริงๆ”

TOP สุขภาพ
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ