ระยะห่างของการให้วัคซีนแอสตร้าเซเนก้า (AstraZeneca) กับการกระตุ้นภูมิ


โดย PPTV Online

เผยแพร่




ระยะห่างของการให้วัคซีนแอสตร้าเซเนก้า (AstraZeneca) ทิ้งห่างเข็มแรก 16 สัปดาห์ได้?

หลังจากพื้นที่ กทม. ปูพรมฉีดวัคซีนโควิด-19 มาได้เข้าล่วงวันที่ 3 (วันแรกเริ่ม 7 มิ.ย.) ส่วนใหญ่ผู้ได้รับวัคซีนแอสตร้าเซเนก้า ตั้งคำถามเกี่ยวกับการเว้นระยะห่างระหว่างเข็มแรกและเข็มที่สอง ซึ่งบางรายมีการนัดหมายให้มารับเข็มที่สองห่างออกไปถึง 16 สัปดาห์ (ราว 4 เดือน) ว่าจะมีผลต่อการสร้างภูมิหรือไม่ ระยะเวลานัดหมายห่างเกินไปหรือไม่ 

วัคซีนโควิดเข็ม 1 และ 2 ต่างชนิดกัน พบภูมิคุ้มกันขึ้นสูงกว่าเกณฑ์

ศบค. เผย 28 ราย เสียชีวิตหลังฉีดวัคซีน 12 รายไม่เกี่ยววัคซีน 16 ราย รอผลชันสูตร

นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ออกมาอธิบายถึงเรื่องดังกล่าวไว้ ว่า

 

จากเดิมวัคซีนแอสตร้าเซเนก้ากำหนดระยะห่างจากเดิม 10 สัปดาห์แต่หลายคนได้รับนัดเข็มที่สอง เป็น 16 สัปดาห์ จากการศึกษาในการวิจัยทางคลินิกเดิมระยะห่างการให้วัคซีนแอสตร้าเซเนก้า อยู่ที่ 4 สัปดาห์

เมื่อทำการศึกษาระยะที่สามผู้ที่ได้รับวัคซีน 2 ครั้งห่างกันมากกว่า 6 สัปดาห์ถึง 12 สัปดาห์ ได้ผลภูมิต้านทานและประสิทธิภาพดีกว่าผู้ที่ได้รับห่างกันน้อยกว่า 6 สัปดาห์

ประเทศไทยอยู่ในช่วงการระบาดขาขึ้นจึงมีความจำเป็นที่จะต้องใช้ในการควบคุมโรคให้เร็วที่สุด จำเป็นที่จะต้องให้วัคซีนแอสตร้าเซเนก้าปูพรมในแนวกว้างให้มากที่สุดก่อน โดยต้องระดมทรัพยากรทั้งหมดรวมทั้งวัคซีนมาใช้ในการให้วัคซีนเข็มแรกภายใน 16 สัปดาห์ ประชากรส่วนใหญ่ทั้งประเทศก็จะได้วัคซีนอย่างน้อย 1 เข็ม แล้วค่อยไปเติมเข็มที่สองภูมิจะสูงขึ้นและอยู่นาน

ซึ่งเป็นกรณีเดียวกับ ประเทศอังกฤษ หากย้อนกลับไปช่วงระบาดมาก และวัคซีนไม่เพียงพอ อังกฤษจึงยืดระยะห่างของการให้วัคซีนเข็มที่สองออกไปอีกถึง 16 สัปดาห์ เพื่อให้ประชากรส่วนใหญ่ได้รับวัคซีนเข็มแรกให้มากที่สุด ไม่ต้องให้แรงงานมาพะวงกับการฉีดเข็มที่สองจะได้ปูพรมเข็มแรกได้กว้างที่สุดเพื่อระงับการระบาด

และเมื่อไปดูผลการศึกษาในสกอตแลนด์ พบว่า การให้แอสตร้าเซเนก้าเพียงเข็มเดียว มีประสิทธิภาพถึง 80 เปอร์เซ็นต์ การให้เข็มที่สอง จะเพิ่มประสิทธิภาพเป็น 90 กว่าเปอร์เซ็นต์ เห็นว่าเข็มที่สองเพิ่มประสิทธิภาพก็จริง ถ้าเปรียบเทียบกับการปูพรมเข็มแรกให้มากที่สุดแล้ว ค่อยเติมเข็มที่สองน่าจะเป็นประโยชน์มากกว่าในการควบคุมการระบาดของโรค

โดยหลักของวัคซีนการทิ้งระยะห่าง ยิ่งห่างนานก็จะกระตุ้นภูมิต้านทานได้ดีกว่า ระดับภูมิต้านทานหลังเข็มที่สองจะสูงกว่าในการหวังผลให้อยู่นาน

 

 

แต่การยืดเข็มที่สองออกไปจะมี ข้อเสีย ตรงที่ว่าประสิทธิภาพจะสู้การให้ 2 เข็มไม่ได้ ต้องคำนึง คือ ถ้ามีเชื้อกลายพันธุ์โดยเฉพาะสายพันธุ์แอฟริกาใต้ (เบตา) วัคซีนทั่วไปประสิทธิภาพลดลงอยู่แล้วก็อาจจะป้องกันไม่ได้ แต่ สายพันธุ์อังกฤษและอินเดียไม่น่าจะมีผลมาก

นพ.ยง ระบุว่า สิ่งสำคัญในระหว่างนี้จะต้องเฝ้าระหว่างสายพันธุ์กลายพันธุ์ โดยเฉพาะสายพันธุ์แอฟริกาใต้ที่อาจจะสร้างปัญหาในระดับที่ภูมิต้านทานยังไม่สูงมากเกิดขึ้นได้ สายพันธุ์อังกฤษและอินเดียไม่น่าจะมีปัญหา

การควบคุมการระบาดในประชากรหมู่มากทั้งประเทศไทยในภาวะที่ทรัพยากรที่จำกัด จึงจำเป็นที่จะต้องมีการวางแผนให้เกิดประโยชน์สูงสุดในภาพรวม ดังนั้น การกำหนดระยะห่างไปที่ 16 สัปดาห์ จึงเป็นการที่จะทำให้เกิดประโยชน์สูงสุดสำหรับประเทศไทยในภาพรวม นพ.ยง ระบุ

 

ที่มา : เฟซบุ๊ก นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

TOP สุขภาพ
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ