สรุปประเด็น Clubhouse"นพ.ประสิทธิ์ วัฒนาภา"ปมวิกฤตวัคซีนโควิด-19


โดย PPTV Online

เผยแพร่




เพจ สโมสรนักศึกษาแพทย์ศิริราช ได้ถอดเทปที่ นพ.ประสิทธิ์ วัฒนาภา คณบดีคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ร่วมพูดคุยใน Clubhouse เกี่ยวกับประเด็นวิกฤตวัคซีนโควิด-19 การบูสเตอร์เข็ม 3 ให้บุคลากรแพทย์ และโควิดสายพันธุ์เดลต้าที่กำลังระบาดหนัก โดยสรุปรายละเอียดเบื้องต้นมีดังนี้

นพ.ประสิทธิ์ กล่าวว่า ประเทศไทยมีการระบาดโควิด-19 สายพันธ์เดลต้า ประมาณ 50 % คาดการณ์ว่าการแพร่ระบาดจะสูงขึ้นแน่นอน ตอนนั้นเราสรุปว่า คนที่ได้รับวัคซีนซิโนแวค 2 เข็มไม่น่าจะพอ ต้องบูสเตอร์ และถ้าต้องบูสเตอร์คิดว่ามี 2 ทางออกเท่านั้น คือ mRNA หรือ viral vector และ ศบค.ใหญ่ได้อนุมัติอย่างเป็นทางการแล้วเห็นชอบตามที่เสนอผ่านกรรมการ 3 ชุด และ เรื่องนี้ถูกนำเข้าที่ประชุม EOC (Emergency Operations Center หรือ ศูนย์ปฏิบัติการตอบโต้ภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุข) ของกระทรวงสาธารณสุข

“ศักยภาพสาธารณสุขไทยเกินรับไหว” หมอประสิทธิ์ ห่วงระลอก 4 สายพันธุ์เดลตาลามไทย

“หมอประสิทธิ์” ชี้ ฉีดวัคซีนสลับยี่ห้อ ต้องมีวิจัยรองรับ แย้มรู้ผลเร็วนี้

หลังจากอธิบายเหตุผลไปแล้วก็มีความเป็นไปได้ เพราะจะมี  Pfizer เข้ามา 1.5 ล้านโดส ที่รัฐบาลอเมริกาจะมอบให้กับประเทศไทย เดิมวัคซีนตัวนี้เขาแพลนให้ผู้ที่เสี่ยง คือ ผู้สูงอายุ และ ผู้ป่วย 7 โรคกลุ่มเสี่ยง แต่เห็นว่าเมื่อไหร่ที่สายพันธ์เดลต้า มากขึ้นเรื่อยๆบุคลากรด่านหน้าที่มีทั้งหมดประมาณ 6 ถึง 7 แสนคนจะมีความเสี่ยงมาก เพื่อป้องกันอันตราย จึงเสนอว่าขอแบ่งมาให้บุคลากรทางการแพทย์ หลังจากนั้นก็จะมีการประเมินอีกว่า วัคซีนจะมาเมื่อไหร่ จะทันหรือไม่

“ผมย้ำนะ เปิดให้เลือก ไม่ได้บังคับ ก็มีบางคนไม่อยากได้ mRNA อยากได้ Viral vector ซึ่งตอนนี้มันคือ AstraZeneca บางคนอยากได้ mRNA ซึ่งตอนนี้มันคือ Pfizer เมื่อตกลงกันแบบนั้น เราก็บอกโอเค งั้นเรื่องนี้เราก็ขอ เอาเข้าที่ประชุม EOC ขออนุมัติในหลักการเพราะว่าให้เปิดให้มีการเลือก จากนั้นก็เสนอเข้าที่ประชุมศบค.ชุดใหญ่ ที่มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน และอนุมัติให้บุคลากร ด่านหน้าที่ได้รับการฉีด ซิโนแวค 2 เข็มจะได้รับการบูสเตอร์จากนั้น สอบถามไปยังนพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมควบคุมโรค ก็บอกว่ายังมาไม่ถึง แต่ยืนยันว่ามาแน่ปลายเดือนนี้ หมายความว่าปลายเดือนนี้ หรือต้นเดือนหน้า”

ฉีดแอสตร้าเซนเนก้า 2 เข็มอาจไม่ต้องบูสเตอร์

มีคำถามเกี่ยวกับวัคซีนว่า คนที่ได้รับวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้า 2 เข็มแล้ว จะต้องบูสเตอร์เข็ม 3 หรือไม่ นพ.ประสิทธิ์ ระบุว่า แอสตร้าเซนเนก้า จำนวน 2 โดส หรือ ไฟเซอร์จำนวน 2 โดส ในงานวิจัยเขาว่าเพียงพอสำหรับสายพันธ์เดลต้า เพราะว่า 2 แพลตฟอร์มนี้จะกระตุ้นภูมิคุ้มกันได้ดี และในงานวิจัยเขาบอกว่าเพียงพอแล้ว และผมก็ฉีด 2 โดส ผมก็ไม่ขอโดสที่ 3 ผมก็เชื่อในงานวิชาการที่ผมอ่าน

ขณะเดียวกันตอนนี้วัคซีนเข้ามาในประเทศไทยไม่ได้เข้ามาเยอะ จึงต้องจัดลำดับความสำคัญ เรายังมีคนกลุ่มเสี่ยงอายุมากกว่า 60 ปีและกลุ่ม 7 โรคที่ยังฉีดวัคซีนไม่ถึง 20 % ซึ่งคนกลุ่มนี้ถ้าเราฉีดน้อยอัตราการตายจะเพิ่มสูงขึ้น ความเห็นผมกลุ่มคนเหล่านี้เราควรฉีดวัคซีนให้เขา

ไม่ควรสั่งวัคซีน “ซิโนแวค” เข้ามาเพิ่ม

มีคำถามว่า มีงานวิจัยว่าวัคซีน ซิโนแวค มีประสิทธิภาพประมาณ 60 % ส่วนไฟเซอร์ มีประสิทธิ์ภาพ 95 %  ถึงมีการสั่งซิโนแวคเข้ามาเรื่อยๆทำไมไม่ยกเลิกแล้วเดินหน้าสั่งวัคซีนไฟเซอร์เข้ามา นพ.ประสิทธิ์ กล่าวว่า วัคซีนไฟเซอร์ เป็นวัคซันดีกว่า ลองเข้าไปดูข้อมูลย้อนหลังไม่มีการเชิญผู้เชี่ยวชาญเข้าไปให้ความเห็น เมื่อเริ่มมีสังเกตว่ามีอะไร ก็เลยมีการเชิญผู้เชี่ยวชาญเข้ามาช่วยกันให้ข้อคิดเห็น

“การสั่งวัคซีนมันเป็นการสั่งล่วงหน้า การสั่งวัคซีนไม่ใช่ว่าสั่งวันนี้แล้วเดือนหน้าได้มา ถ้าจะถามผม วิเคราะห์ย้อนหลัง จุดที่ควรจะสั่งวัคซีนมันควรเกิดตั้งแต่ตอนเฟส 3 ของปีที่แล้ว เพราะตอนนั้นอเมริกาสั่งเป็น 3 เท่า แคนาดาก็สั่งเป็น 3 เท่าของประชากร ทั้งๆที่ ผลลัพธ์ของเฟส 3 ยังไม่เสร็จ อันนี้ไปตรวจสอบข้อมูลได้ ผมเดาว่า เนื่องจากประเทศไทยตอนนั้นสถานการณ์ดูสบายๆ ผู้ติดเชื้อน้อยก็เลยไม่จำเป็นต้องติดตาหาวัคซีนไว้ก่อน แต่เมื่อสถานการณ์เริ่มรุนแรงขึ้นวัคซีนที่ผลิตใหม่ก็จะถูกส่งไปประเทศต่างๆ เหล่านั้น เราก็ไม่ได้เข้ามา ผมเดาว่าตอนนั้น มีการเอาซิโนแวคเข้ามา”

หลังจากนั้นแอสตร้าเซนเนก้า เข้ามาในช่วงต้นก็ยังไม่สามารถผลิตได้ เรื่อง mRNA ไม่ได้บอกว่าไม่สนใจที่จะสั่ง แต่ในเวลาตอนนั้นสั่งไปมันก็ไม่ได้ ที่คุยกันคราว 20 ล้านโดสนี้ เราคุยกันเกือบ 2 เดือนแล้ว ก็ติดต่อกับตัวแทนของไฟเซอร์ คือประมาณไตรมาสที่ 4 จำนวน 20 ล้านโดส จะมา 10 ล้านแล้วตามมาด้วยอีก 10 ล้าน สุดท้ายก็ขอมาอีก 1.5 ล้านโดส สำหรับซิโนแวค โคแวกซ์ก็เพิ่งรับไป 350 ล้านโดส ซิโนฟาร์ม 150 ล้านโดส ผมก็เห็นด้วยว่าต่อไปนี้ ซิโนแวค ไม่ต้องสั่งอีกแล้ว

ไม่ได้เป็นกรรมการศบค. พร้อมแจงบทบาทในบริษัทสยามไบโอไซเอนซ์

มีคำถามว่า อาจารย์เป็นคณะบดีคณะแพทย์ศาสตร์ เป็นกรรมการแพทยสภา และ อยู่ในบอร์ดบริหารบริษัทสยามไบโอไซเอนซ์ มีบทบาทเกี่ยวของในทิศทางการบริหารจัดการของ ศบค. อย่างไรบ้าง นพ.ประสิทธิ์ ชี้แจงว่า ผมไม่ได้เป็นกรรมการศบค. ผมจะเข้าไปเฉพาะกรณีที่เขาขอความเห็น ไปร่วมประชุมให้ความเห็นแล้วก็เดินออกมา มีคนถามว่า

ผมเป็นหุ้นส่วนสยามไบโอไซเอนซ์ คนละอย่างกัน ผมเป็นบอร์ดสยามไบโอไซเอนซ์ ไม่มีหุ้น ตรวจสอบง่ายมาก สามารถเข้าไปในกระทรวงพาณิชย์ แล้วไปเช็กดูก็จะรู้ว่าใครเป็นบอร์ด เรื่องเป็นบอร์ด ผมเปิดเผยเลย ไม่มีความลับ และเรื่องไม่มีเงินเดือนก็เช็กได้ด้วย ที่เข้าไปต้องการผลิตยาในราคาคนไทย ราคาไม่แพง สามารถดึงราคายานอกพันกว่าบาทสุดท้ายคนไทยได้ในราคา 199 บาท สิ่งที่เรายอมผลิตเพราะอยากได้ know how เพื่อที่ในอนาคตไทยจะผลิตวัคซีนได้เอง

พบผู้ติดเชื้อโควิด-19 เพิ่มในหมู่บ้านนักกีฬาอีก 2 ราย

จังหวัดเดียวรอด! ไม่มีติดเชื้อ วันนี้ทุบสถิติโควิดทำทุกข์ทั่วไทย "ชลบุรี -ปทุมฯ" พุ่งนิวไฮ เปิด 9 คล...

PR-โปรแกรมผลบอล-2_B PR-โปรแกรมผลบอล-2_B
TOP สุขภาพ
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ