เตือนทาสแมว-ทาสสุนัข ระวังโรคพิษสุนัขบ้าไม่มียารักษาแต่ป้องกันได้


โดย PPTV Online

เผยแพร่




แพทย์เตือนระมัดระวังโรคที่มากับเพื่อนรัก 4 ขา “พิษสุนัขบ้า” ไม่มียารักษาอันตรายถึงชีวิต แนะฉีดวัคก่อนในกลุ่มเสี่ยงที่เผชิญหน้ากับสุนัข-แมวบ่อยๆ

ในขณะที่หลายคนกังวลเรื่องการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 แต่มีเชื้อไวรัสอีกชนิดหนึ่งที่แพร่เชื้อผ่านเพื่อน 4 ขาอย่างสุนัข และ แมว หรือแม้กระทั่งสัตว์เล็กๆ อย่างกระต่าย เป็นสิ่งที่ต้องระมัดระวัง หากพวกมันมีเชื้อพิษสุนัขบ้าอยู่แล้วมากัดหรือข่วนเรา จะเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ เพราะยังไม่มียารักษา ดังนั้นแพทย์ผู้เชี่ยวชาญจึงแนะนำผู้ที่มีความเสี่ยงต้องเผชิญหน้าหรือใกล้ชิดกับสัตว์เหล้านี้ทุกวันให้ฉีดวัคซีนป้องกันไว้ก่อน

กรมปศุสัตว์ ฉีดวัคซีน สุนัข-แมว เขตสวนหลวง เฝ้าระวัง 6 เดือน

กทม.วอนประชาชนหมั่นสังเกตสัตว์เลี้ยงใน “พื้นที่ควบคุมโรคพิษสุนัขบ้า”

ดร.นพ.สัณฑ์ ม่วงน้อยเจริญ รองผู้อำนวยการโรงพยาบาลเวชศาสตร์เขตร้อน คณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล เปิดเผยว่า โรคพิษสุนัขบ้า อันตรายถึงชีวิตเพราะเป็นแล้วไม่มียารักษา ส่วนมากจะเสียชีวิต จึงแนะนำว่า “ป้องกันดีกว่า” สาเหตุ โรคพิษสุนัขบ้า เกิดจากการติดเชื้อไวรัสชนิดหนึ่ง เป็นไวรัสที่ติดจากสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม พาหะ คือ สุนัข แมว ลิง ค้างคาว กระรอก กระต่าย หนู ไม่จำเป็นต้องกัดก็ได้ แค่โดนข่วน แล้วมีสารคัดหลั่งหรือน้ำลายออกมา เราก็อาจติดเชื้อจากสัตว์เหล่านี้ได้แล้ว

วิธีการรักษา ไม่มียารักษา การรักษาเป็นการประคับประคองตามอาการ ให้ร่างกายจัดการกับเชื้อไวรัสได้เอง

“อย่างแรกที่แนะนำ คือ อย่าให้โดนสัตว์พวกนี้กัด หรือ ข่วน แต่ถ้าโดนข่วน โดนกัด เป็นแผล การป้องกันที่ทางการแพทย์แนะนำ คือ การฉีดวัคซีนเพื่อป้องกัน”

ถ้าถูกกัด หรือ ถูกข่วน อย่างแรก ต้องฉีดวัคซีนป้องกันพิษสุนัขบ้า ส่วนใหญ่จะฉีดประมาณ 4-5  ครั้ง คือ ฉีดวันแรก และ ถัดไปอีก 3 วัน วันที่ 7 และ วันที่ 14 วันที่ 21 และ วันที่ 28 นับจากวันแรกที่เริ่มฉีด วัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า ไม่ได้ฉีดรอบสะดือ แต่ฉีดบริเวณใต้ผิวหนัง อาจจะฉีดเข้ากล้ามเนื้อบริเวณหัวไหล่

สำหรับทุกคนที่โดนกัด โดนข่วน อาการจะมากหรือน้อย ต้องถูกฉีดหมด ถ้าประเมินแล้วว่ามีความเสี่ยงที่จะติดเชื้อพิษสุนัขบ้า แพทย์จะสั่งการให้รักษาโดยการฉีดวัคซีน เพราะว่า โรคนี้ป้องกันได้แต่รักษาไม่ได้ ฉีดวัคซีนป้องกันจึงดีกว่า

นอกจากนี้กรณีที่แพทย์ประเมินดูแล้ว มีความเสี่ยงมาก สุนัขที่มากัดดูตาขวางๆ ดูท่าจะป่วยไม่สบาย หรือดูแล้วน่าจะบ้า หรือ ตามหาไม่ได้เลยหลังจากที่กัดเราไปแล้ว กรณีนี้แพทย์จะประเมินว่า มีความเสี่ยงสูงสุด จะฉีดเซรุ่ม ต้านพิษ บริเวณรอบๆ แผลที่กัดด้วย

รองผู้อำนวยการโรงพยาบาลเวชศาสตร์เขตร้อน แนะนำด้วยว่า มีวัคซีนที่ฉีดเพื่อป้องกัน แม้ยังไม่โดนกัด สามารถฉีดป้องกันไว้ก่อน ในกลุ่มที่มีความเสี่ยงที่จะโดนกัด เช่น สัตวแพทย์ หรือ คนส่งของ ส่งไปรษณีย์ ส่งหนังสือพิมพ์ หรือพวกไรเดอร์ต่างๆ เนื่องจากมีความเสี่ยงที่จะโดนกัดเพราะต้องเข้าไปส่งของตามตรอกซอกซอยต่างๆ มีโอกาสที่จะเผชิญหน้ากับสุนัขเจ้าถิ่น ก็อาจจะ พาไปฉีดวัคซีนป้องกันไว้ก่อนเลย

 

ขอบคุณข้อมูลจาก FDA Podcast รู้ทัน รับมือ ทุกปัญหาสุขภาพ : EP.3 โรคพิษสุนัขบ้า อันตรายถึงชีวิต แต่ป้องกันได้

TOP สุขภาพ
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ