ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์ ออกคำแนะนำ ฉีดวัคซีนโควิด-19 ในวัยรุ่น เพิ่มเติม


โดย PPTV Online

เผยแพร่




ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์ ออกคำแนะนำ ฉีดวัคซีนโควิด-19 ในวัยรุ่น เพิ่มเติม ฉบับที่ 2 อายุ 16 ปีขึ้นไปแนะนำให้ฉีดทุกคนส่วน 12-16 ปี แนะนำให้ฉีดถ้าเด็กมีความเสี่ยงมาก

ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย ออกคำแนะนำการฉีดวัคซีนโควิด-19  สำหรับเด็กวัยรุ่นตั้งแต่ 12 ปีขึ้นไป (ฉบับที่2)  ระบุว่า แนะนำให้เด็กและวัยรุ่นฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ชนิดที่ได้รับการรับรอง ขึ้นทะเบียนกับองค์การ อาหารและยาแห่งประเทศไทยให้ใช้ในเด็กและวัยรุ่น โดยให้ตรงตามอายุที่ได้ขึ้นทะเบียนไว้ และวัคซีนได้ผ่านการพิจารณาด้านความปลอดภัยและประสิทธิภาพจากคณะอนุกรรมการสร้างเสริมภูมิคุ้มกัน

เปิดคำแนะนำการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 ให้เด็กและวัยรุ่น

ด.ช.13 ปี ติดโควิด 2 รอบ หายแล้วติดอีก รอบหลังเกินต้านเสียชีวิต - ศบค.ห่วง 4 จว.ชายแดนใต้

 

ซึ่งในขณะนี้ (ณ วันที่ 7 กันยายน 2564) มีวัคซีนโควิด-19เพียงชนิดเดียวคือ วัคซีนชนิด mRNA ของ Pizer-BioNTech ที่ได้รับการขึ้นทะเบียนให้ใช้ในเด็กและวัยรุ่นอายุตั้งแต่12 ปีขึ้นไป

พร้อมกันนี้ ยังแนะนำให้ฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ในเด็กและวัยรุ่น อายุตั้งแต่ 16 ปีจนถึงน้อยกว่า 18 ปี ทุกรายหากไม่มีข้อห้ามในการฉีด ทั้งเด็กที่ปรกติแข็งแรงดีและที่มีโรคประจำตัวเรื้อรังที่เป็นปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรค โควิด-19 ที่รุนแรงอาจถึงแก่เสียชีวิต

เพราะเป็นกลุ่มอายุที่กำลังเติบโตเป็นผู้ใหญ่ มีการดำเนินชีวิตใกล้เคียงกับผู้ใหญ่และมีข้อมูลเรื่องประสิทธิภาพและความปลอดภัยของวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ในเด็ก และวัยรุ่นมากเพียงพอ

ส่วน เด็กอายุ 12 ปีขึ้นไปจนถึงน้อยกว่า 16 ปี แนะนำให้ฉีดวัคซีนในกรณีเป็นผู้ป่วยเด็กกลุ่มเสี่ยงที่มีโรคเรื้อรัง ซึ่งจะทำให้เกิดโควิด-19 ที่รุนแรงดังต่อไปนี้

1. บุคคลที่มีโรคอ้วน (ดัชนีมวลกายมากกว่า 35 กิโลกรัมต่อตารางเมตร หรือมีน้ำหนัก 70 กิโลกรัม ขึ้นไปในเด็กอายุ 12-13 ปี น้ำหนัก 80 กิโลกรัมขึ้นไปในเด็กอายุ 13-15 ปี น้ำหนัก 90 กิโลกรัมขึ้น ไปในเด็กอายุ 15-18 ปี หรือเด็กอ้วนที่มีภาวะหยุดหายใจขณะหลับจากภาวะทางเดินหายใจ อุดกั้น

2. โรคทางเดินหายใจเรือรัง รวมทั้งโรคหอบหืดที่มีอาการปานกลางหรือรุนแรง

3. โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคหลอดเลือดสมอง

4. โรคไตวายเรื้อรัง

5. โรคมะเร็งและภาวะภูมิคุ้มกันต่ำ

6. โรคเบาหวาน

7. กลุ่มโรคพันธุกรรมรวมทั้งกลุ่มอาการดาวน์ เด็กที่มีภาวะบกพร่องทางระบบประสาทอย่างรุนแรง เด็กที่มีพัฒนาการช้า

พร้อม แนะนำให้งดออกกำลังกายอย่างหนักหรือการทำกิจกรรมอย่างหนักเป็นเวลา 1 สัปดาห์ หลังจากฉีดวัคซีน เนื่องจากมีรายงานการเกิดผลข้างเคียงกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ และเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบภายหลังการฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ชนิด mRNA ซึ่งพบในอัตราที่ต่ำมาก จึงแนะนำให้เด็กและวัยรุ่นทุกราย

โดยเฉพาะอย่างยิ่งเด็กและวัยรุ่นชายที่ได้รับวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ทั้งโดสที่ 1 และ 2 ควรงดการออกกำลังกายหรือการทำกิจกรมอย่างหนักเป็นเวลา 1 สัปดาห์ ภายหลังจากการฉีดวัคซีน

และในเวลาดังกล่าวนี้หาก เจ็บแน่นหน้าอก หายใจเหนื่อยหรือหายใจไม่อิ่ม ใจสั่น หน้ามืด เป็นลม ควรไปพบแพทย์ โดยแพทย์สงสัยภาวะกล้ามเนื้อหัวใจหรือเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ ควรพิจารณาทำการตรวจค้นเพิ่มเติม

สำหรับเด็กอายุตั้งแต่ 12 ปีขึ้นไปจนถึงน้อยกว่า 16 ปี ที่สุขภาพแข็งแรงดี และในเด็กอายุน้อยกว่า 12 ปี รวมทั้งการฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ชนิดอื่นๆ ในเด็ก ขณะนี้ยังอยู่ระหว่างการติดตามผลการศึกษาถึงประสิทธิภาพ และความปลอดภัย ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย จะมีคำแนะนำเพิ่มเติมในการฉีดวัคซีนป้องกันโรค โควิด-19 ในอนาคตต่อไป

รพ.จุฬาฯ สภากาชาดไทย เปิดผลข้างเคียงวัคซีน ไฟเซอร์ ในเด็ก 12-18 ปี

"กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ" ในเด็ก หลังฉีดไฟเซอร์ เจอ 1 รายในประเทศไทย

ที่มา : ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย

หมายเหตุ คำแนะนำนี้ออกวันที่ 7 ก.ย. 64 ก่อน ที่ ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ ฉีดวัคซีน “ซิโนฟาร์ม” เปิดจองฉีดให้กับเด็กอายุ 10 – 18 ปี ในวันที่ 8 ก.ย.64

TOP สุขภาพ
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ