เช็ก 8 พฤติกรรมเข้าข่ายอาการ “โนโมโฟเบีย” โรคกลัวการขาดมือถือ


โดย PPTV Online

เผยแพร่




ใครที่ชอบจดจ่ออยู่กับโทรศัพท์มือถือ แบบไม่สามารถวางได้เลย แบบนี้อาจเข้าขั้นที่เรียกว่า เสพติดสมาร์ทโฟน แต่ถ้าถึงขนาดงดเล่นโทรศัพท์ไม่ได้ แบบนี้อาจเก็นโรคที่เรียกว่า “โนโมโฟเบีย”

ในยุคปัจจุบัน ต้องยอมรับว่าโทรศัพท์มือถือกลายเป็นปัจจัยที่ 5 ที่ใครหลายคนขาดไม่ได้ อีกทั้งยังกลายเป็นอุปกรณ์ที่ใช้ประกอบอาชีพสำหรับใครหลายคน ทั้งติดต่อสื่อสาร ใช้พูดคุยงาน หรือทำธุระสำคัญ และถ้าขาดมือถือไปคงมีผลกระทบกับการทำงาเป็นแน่ แต่สำหรับกลุ่มคนบางกลุ่ม โทรศัพท์มือถือ ไม่ใช่อุปกรณ์สำหรับทำงาน แต่เป็นอุปกรณ์ในการพูดคุยหรืออัพเดตเรื่องในโลกโซเชียลเท่านั้น 

เตือนคนติดโซเชียล-คลั่งแชท ระวังละเมอส่งข้อความเรื่อยเปื่อยกลางดึก!

คอนเทนต์แนะนำ
สาธารณสุข เตือนคนติดสมาร์ทโฟน ระวังเป็น “โรคโนโมโฟเบีย”

ซึ่งนี่อาจเป็นอาการเสพติดสมาร์ทโฟน และหากวันไหนไม่สามารถเล่นโทรศัพท์ได้ หรือต้องงดเล่นจะเกิดอาการกังวลใจเกินกว่าเหตุ  จนอาจาเข้าข่ายเป็น “โนโมโฟเบีย” 

ก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจก่อนว่า “โนโมโฟเบีย” ในนิยามทางการแพทย์นั้นไม่ใช่โรค แต่เป็นกลุ่มอาการ  โดยคำว่า“โนโม” เป็นคำที่ใช้เรียกแทนโมบายโฟน ส่วนคำว่า “โฟเบีย” แปลว่ากังวลอย่างมากต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่งหรือกังวลมากเกินกว่าเหตุ จึงเรียกรวมกันเป็น “โนโมบายโฟนโฟเบีย” แต่เราเรียกกันสั้น ๆ ว่า “โนโมโฟเบีย” มาจากการที่โทรศัพท์มือถือเข้ามาเป็นส่วนหนึ่ง ของชีวิตประจำวัน   

เราสามารถเช็กพฤติกรรมตัวเองได้ว่า เข้าข่ายกลุ่มอาการ โนโมโฟเบีย ดังนี้ 

เทคโนโลยีสมาร์ทโฟน ไม่ว่าจะเป็นโทรศัพท์มือถือ แท็บเล็ต นั้นสามารถพกพาไปไหนมาไหนได้สะดวก และเข้าถึงได้ทุกที่ทุกเวลา จึงทำให้คนเริ่มเข้าไปใช้งานจนเปลี่ยนไปเป็นลักษณะที่ว่าติดการใช้งาน เพราะสิ่งที่ได้รับพื้นฐาน คือเป็นเทคโนโลยีที่ใช้ในการสื่อสาร มีการตอบสนองได้รวดเร็ว เหมาะแก่การใช้ในการส่งความรู้สึก ใช้เพื่อความเพลิดเพลิน ผ่อนคลาย ทำหน้าที่ได้หลายฟังก์ชั่น จึงมีการใช้ในการดำเนินชีวิตมากขึ้นเรื่อย ๆ ตามความสามารถของโทรศัพท์มือถือ ไม่ว่าจะเป็นการถ่ายรูป การเล่นโซเชียล จนเริ่มกลายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตจนรู้สึกว่าขาดไม่ได้

พฤติกรรมที่เข้าข่ายกลุ่มอาการ โนโมโฟเบีย คือ
1. พกโทรศัพท์มือถือติดตัวตลอดเวลา
2. เช็กข้อความในโทรศัพท์มือถือตลอดเวลา แม้กระทั่งได้ยินเสียงคล้าย ๆ เสียงข้อความเข้า ถ้าไม่ได้ตรวจดูโทรศัพท์จะมีอาการกระวนกระวายใจ ไม่สามารถทำงานหรือปฏิบัติภารกิจตรงหน้าได้สำเร็จ ต้องดูหน้าจอโทรศัพท์เพื่อเช็กข้อความก่อน 
3. จับมือถือตั้งแต่ตื่นนอนจนกระทั่งหลับ 
4. ใช้โทรศัพท์ระหว่างทานข้าว เข้าห้องน้ำ ขับรถ นั่งรอรถโดยสารประจำทาง และรถไฟฟ้า
5. เมื่อหาโทรศัพท์ไม่เจอ หรือลืมโทรศัพท์ จะรู้สึกมีความกังวลใจมากตื่นตระหนกตกใจมาก 
6. ไม่เคยปิดโทรศัพท์มือถือเลย 
7. ใช้เวลาพูดคุยกับเพื่อนในโลกออนไลน์มากกว่าคุยกับเพื่อนที่นั่งอยู่ตรงหน้า 
8. ห้ามใจไม่ให้เล่นโทรศัพท์ภายใน 1 ชั่วโมงไม่ได้ 

ถ้าเช็กตัวเองแล้วพบอาการที่เข้าข่ายครบทั้ง 8 ข้อ แสดงว่าคุณมีอาการของ โนโมโฟเบีย นั้นคือสัญญาณเตือนแล้วว่า คุณจะมีปัญหาเกี่ยวกับสุขภาพ ทั้งสุขภาพกาย สุขภาพจิต และสุขภาพสมองเนื่องจากการใช้งานเทคโนโลยีเป็นการรับข้อมูลของสมองที่ต้องใช้ความเข้มข้นสูงในการจ้องรับข่าวสารหรือใช้งานตลอดเวลา ทำให้สมองไม่มีช่วงเวลาพักเลย รวมไปถึงยังส่งผลเสียกับสายตา อาการปวดเมื่อยคอ บ่าไหล่ เพราะเวลาใช้งานโทรศัพท์จะเกิดอาการเกร็งโดยไม่รู้ตัว และปัญหาเรื่องสมาธิเพราะตัวภาพในจอจะรบกวนทำให้ระบบสมาธิลดลง

ดังนั้นเราจึงควรปรับพฤติกรรมใหม่ออกไปนอกบ้าน หากิจกรรมอื่นทำ และพบปะผู้คนบ้างก็จะดี 

 

ที่มาข้อมูล  RAMA channel

ชัดก่อนแชร์ | ใช้มือถือขณะฝนตกเสี่ยงฟ้าผ่า จริงหรือไม่?

ชัดก่อนแชร์ | ใช้ไฟฉายมือถือส่องเบรกเกอร์ไฟ ทำให้เกิดระเบิด จริงหรือ? | PPTV HD 36

 

TOP สุขภาพ
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ