คุณมีวิธีรับมืออาการตื่นตระหนกจาก "โรคแพนิค" อย่างไร


โดย PPTV Online

เผยแพร่




"โรคแพนิค" อาจจู่โจมเราโดยไม่รู้ตัว แนะ 11 วิธีในการรับมือ

โรคแพนิค คือ อาการที่อยู่ ๆ เราก็ตื่นกลัว ตกใจ หรือวิตกกังวลที่มากกว่าปกติ โดยจะแสดงออกทางร่างกาย อาการโดยทั่วไปก็จะมี หายใจไม่อิ่มหรือติดขัด, เหงื่อแตก, หนาวสั่น, รู้สึกหัวใจเต้นแรง และอาจจะมีอาการเจ็บหรือแน่นหน้าอก คล้ายกับโรคหัวใจ หรือหลอดเลือด เป็นต้น

 

แม้โรคแพนิคจะยังไม่มีสาเหตุที่แน่ชัด อาจจะเกี่ยวข้องกับพันธุกรรมหรือเกี่ยวข้องกับการมีเหตุการณ์เปลี่ยนแปลงที่สำคัญ ๆ ในชีวิตเกิดขึ้น ทำให้เกิดความเครียดและนำไปสู่การเกิดอาการของโรคแพนิคได้

ทำความรู้จัก “โรคแพนิค” โรคที่ไม่ได้มีแค่นิสัยขี้ตกใจ

แนะสังเกตอาการเด็ก 5-11 ปีหลังฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด 19

 

โรคแพนิคอาจจู่โจมเราโดยไม่รู้ตัว ซึ่งอาการเหล่านี้มี 11 วิธีในการรับมือดังนี้

1. หายใจช้า และลึก

ถ้ายังรู้สึกว่าสามารถหายใจเองได้อยู่ ให้เริ่มหายใจเข้า และออกผ่านทางปาก ค่อยให้อากาศผ่านเข้าไปช้า ๆ ผ่านช่องอก ถึงท้องน้อยประมาณ 4วินาที และกลั้นไว้ 1วินาที จากนั้นหายใจออก 4วินาที

2. ระลึกอยุ่เสมอว่าเราเป็น "โรคแพนิค"

ด้วยความที่อาการของโรคแพนิค คล้ายคลึงกับหลากหลายโรคที่ร้ายแรงกว่า การระลึก หรือรับรู้ว่าเราเป็นโรคแพนิค จะช่วยให้เราตกใจ หรือวิตกกังวลน้อยลง และรู้ว่าเมื่อถึงจุดนึงอาการจะค่อย ๆ ดีขึ้นเอง

3. หลับตา

มีหลากหลายสถานการณ์มากที่ทำให้เราเกิดอาการ "โรคแพนิค" การหลับตาช่วยลดการถูกกระตุ้นได้อีกทางนึง

4. ฝึกนั่งสมาธิ

การมีสติอยู่เสมอช่วยให้เรารับมือกับโรคแพนิคได้ดีขึ้น การฝึกนั่งสมาธิช่วยให้เรารับรู้สภาวะรอบตัวได้ดีขึ้น

5. หาจุดสนใจอื่น

การเปลี่ยนจุดสนใจ ช่วยให้เราโฟกัสกับสิ่ง ๆ เดียวทำให้อาการโรคแพนิคฟื้นตัวได้เร็วขึ้น โดยเฉพาะวัตถุที่เป็นแบบแผนที่แน่นอนไม่ว่าจะเป็นจังหวะอย่างนาฬิกา ลายผ้าที่เป็นตารางเป็นต้น

6. ฝึกการผ่อนคลายกล้ามเนื้อ

พยายามผ่อนคลายกล้ามเนื้อบนร่างกายให้สบายที่สุดเท่าที่จำได้ อาจจะเริ่มง่าย ๆ จากนิ้วมือก่อน แล้วค่อยเริ่มผ่อนคลายที่ส่วนอื่น

 

อย่างไรก็ตาม  การรักษาที่ได้ผลดี ควรมีการรักษาทางจิตใจควบคู่ไปด้วย โดยให้ความรู้  และพฤติกรรมบำบัด เพื่อปรับแนวคิดและพฤติกรรมของผู้ป่วยด้วย  ขณะเดียวกันคนใกล้ชิด ผู้เกี่ยวข้อง หรือแม้กระทั่งทีมแพทย์พยาบาลควรเข้าใจและให้กำลังใจ  อย่าคิดว่าผู้ป่วยแกล้งทำ  ซึ่งยิ่งเป็นการทำร้ายจิตใจเขาอย่างมาก

 

7. จินตนาการถึงความสุข

ไม่ว่าจะเป็นสถานที่ เหตุการณ์ คนใกล้ชิด หรืออะไรที่ทำให้เรารู้สึกมีความสุข และสงบ ช่วยพาเราออกจากสถานการ์ณที่ทำให้เกิดโรคแพนิคได้ดีขึ้น

8. ออกกำลังกายเบา ๆ

เมื่อเราออกกำลังกายหนัก ๆ ร่างกายจะหลั่งสาร "เอ็นโดรฟีน" ออกมา เลือดจะสูบฉีดได้ดีขึ้นซึ่งทำให้เราเกิดโอกาสที่จะเข้าสู่สภาวะโรคแพนิคได้ง่ายขึ้น แนะนำเป็นการเดิน หรือว่ายน้ำแทน

9. พกลาเวนเดอร์ไว้ใกล้ตัว

กลิ่นลาเวนเดอร์ ช่วยเพิ่มความผ่อนคลายให้กับร่างกายได้ดีขึ้น ก็เป็นอีกหนึ่งตัวช่วยที่ดีเมื่อเราเกิดอาการแพนิค

10. ท่องไว้เสมอว่า "เดี๋ยวมันก็ผ่านไป"

การท่องคำพูดในใจช่วยให้เราจดจ่อกับคำพูดที่เรากำลังท่องอยู่อาจจะเป็นคำอื่นที่ติดปากตัวเรามากกว่าก็ได้เช่นกัน

11. ทานยาตามคำแนะนำของแพทย์

เมื่อเรารู้ตัวว่ามีอาการแพนิค ควรหมั่นไปพบแพทย์เป็นประจำ และทานยาตามคำแนะนำของแพทย์ควบคู่ไปกับตัวช่วยอื่น ๆ จะทำให้เรารับมือกับอาการดังกล่าวได้ดีมากขึ้น

TOP สุขภาพ
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ