"ฟันผุ" เรื่องเล็กๆ ที่ไม่ควรมองข้ามอาจเป็นต้นเหตุ "โรคหัวใจ"


โดย PPTV Online

เผยแพร่




หลายคนคงสงสัยว่า แค่ฟันผุ จะส่งผลให้เป็นโรคหัวใจได้อย่างไร แต่งานนี้มีความเป็นไปได้ เนื่องจากเชื้อโรคที่ทำให้เกิดฟันผุ เป็นตัวเดียวกัน

สุขภาพปาก และฟัน ถือเป็นเรื่องสำคัญ ที่เราต้องใส่ใจดูแลเป็นอย่างนี้ เพราะหากสุขภาพฟันแข็งแรง ร่างกายส่วนอื่นๆ ก็จะแข็งแรงตามไปด้วย เนื่องจากฟันใช้ในการบดเคี้ยว ถ้าการบดเคี้ยวมีปัญหา ก็อาจเกิดผลกระทบกับส่วนอื่นด้วยเช่นกัน เช่น การบดเคี้ยวไม่ละเอียด จะเป็นสาเหตุของปัญหา ของระบบย่อยอาหาร ทำให้เพิ่มระดับของปัญหาตามมาเรื่องของการย่อยอาหาร การดูดซึมสารอาหารต่างๆให้ร่างกายซึ่งสุดท้ายอาจจะส่งผลต่อสุขภาพโดยรวม  

“กรมอนามัย” เตือนคนท้องฟันผุ เสี่ยงคลอดก่อนกำหนด!!

ไม่ปวดฟันคุด ไม่ผ่าได้ไหม?

แต่หลายคนอาจละเลย หรืออาจดูแลสุขภาพปาก และฟันไม่ทั่วถึง จึงส่งผลให้เกิด "ฟันผุ" ซึ่งอาการนี้สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกเพศ ทุกวัย และจะเริ่มจากรูเล็กๆ เมื่อปล่อยทิ้งไว้ ไม่รีบไปพบทันตแพทย์เพื่อรับการรักษา ก็จะยิ่งทำให้รอยที่ผุ ขยายใหญ่ขึ้นจนลุกลาม ไปถึงโพรงประสาทฟัน จนอักเสบ 

จากนั้นเชื้อโรคจะลุกลามไปที่รากฟัน เกิดหนอง ส่งผลเสียต่ออวัยวะสำคัญข้างเคียง ไม่ว่าจะเป็น ตา โพรงไซนัส และสมอง หรืออาจจะมีอาการปวดเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ อีกทั้งเชื้อโรค ยังสามารถแพร่กระจายเข้ากระแสเลือดไปตามอวัยวะต่าง ๆ ได้ รวมถึงสามารถส่งผลเสียต่อโรคหัวใจได้ด้วย

 

คอนเทนต์แนะนำ
รู้จักเครื่อง ECMO  พยุงหัวใจและปอดให้ผู้ป่วยโควิด-19
ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบเฉียบพลัน เจ็บหน้าอกแบบไหนเสี่ยง?

 

หลายคนอาจตั้งคำถาม แล้วฟันผุ จะเกี่ยวโยงกับการเกิดโรคหัวใจได้อย่างไร จากการตรวจสอบ พบว่าเชื้อโรคที่ทำให้เกิดฟันผุ คือ “สเตร็ปโตคอคคัส” ซึ่งเป็นเชื้อชนิดเดียวที่ตรวจพบที่เยื่อบุหัวใจอักเสบ ลิ้นหัวใจอักเสบ จึงมีการสันนิฐานว่า เมื่อใดที่มีเลือดออกในช่องปาก เชื้อแบคทีเรียในช่องปากจะสามารถแทรกซึมเข้าสู่กระแสเลือดผ่านเข้าไปถึงหัวใจ และเมื่อผู้ป่วยโรคหัวใจมีอาการปวดฟันมาเข้ารับการรักษา อาจจะต้องให้ผู้ป่วยทานยาปฏิชีวนะก่อนการทำฟันเพื่อป้องกันการติดเชื้อ

ดังนั้นการรักษาสุขภาพเหงือกและฟันที่ดีก็จะทำให้ห่างไกลโรคหัวใจได้

ที่มา 
- ทพญ.นฤมล ทวีเศรษฐ์ งานทันตกรรม คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
- อาจารย์แพทย์หญิงขนิษฐา ลายลักษณ์ดำรง ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

TOP สุขภาพ
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ