แนะ 6 วิธีป้องกัน"ตาปลา" ปัญหาก้อนแข็งที่เกิดขึ้นบนเท้า


โดย PPTV Online

เผยแพร่




ตาปลา หากใครเป็นแล้วจะรู้สึกทรมานเป็นอย่างมากเวลาใส่รองเท้าหรือเดิน เพราะจะรู้สึกไม่สบายเท้า ดังนั้นจึงควรรีบหาวิธีแก้ แต่ทางที่ดี ป้องกันไม่ให้ตาปลาเกิดน่าจะเป็นวิธีที่ดีที่สุด

"ตาปลา" ก็คือก้อนของหนังขี้ไคลซึ่งเกิดจากการเสียดสีของผิวหนังเรื้อรังเป็นเวลานานและสามารถเกิดขึ้นได้บ่อยบริเวณฝ่าเท้า เพราะเป็นส่วนที่แบกรับน้ำหนักตัวของเราตลอดเวลา และเมื่อผู้ที่เป็นเดิน จะรู้สึกเหมือนมีก้อนกรวด ติดอยู่กับเท้าตลอดเวลา และรู้สึกเจ็บเมื่อเดินทั้งเวลาสวมรองเท้า หรือแม้เดินด้วยเท้าเปล่า และจากข้อมูลพบว่ามีหลายชนิด แต่ที่สามารถพบได้บ่อยมี 2 ชนิดด้วยกัน คือ 

บอกลาปัญหาเรื่องเท้า ของสาว ๆ ที่ใส่ส้นสูง

เมื่อข้อเท้าพลิก ต้องปฐมพยาบาลผู้ป่วยตามหลัก "RICE"

1.  ตาปลาชนิดตุ่มเล็กและมีแกนตรงกลาง (hard corn)
เกิดจากการกด โดยเฉพาะบริเวณปุ่มกระดูก จึงมักพบบริเวณฝ่าเท้า พบได้ในทุกช่วงวัย

2. ตาปลาแบบผิวด้าน (callus)
เกิดจากการเสียดสี มักพบในนักกีฬาและผู้สูงอายุที่เท้าเริ่มมีการผิดรูป ทำให้เกิดการเสียดสีบางจุดมากกว่าปกติ จึงเกิดได้หลายตำแหน่งของเท้า

ส่วนสาเหตุของการเกิดตาปลานั้นเกิดจากการที่ผิวหนังถูกเสียดสีอย่างรุนแรง จนทำให้ หนังกำพร้าแยกออกมาเป็นตุ่มพอง ๆ และถ้ายิ่งเสียดสีไปนาน ๆ เข้า จะยิ่งไปกระตุ้นให้ผิวหนังกำพร้าสร้างหนังขี้ไคลหนาขึ้นจนมีลักษณะแข็ง ๆ เป็นก้อนแหลม ๆ คล้ายลิ่ม จนกลายเป็นตาปลาในที่สุด 

และถ้าเกิดตาปลาขึ้นที่เท้าแล้วก็ต้องดำเนินการรักษาด้วยการ ทายาเพื่อช่วยลอกผิวหนังกำพร้า หรือการผ่าผิวหนังที่หนาออก ซึ่งเป็นหัตถการที่ควรทำโดยแพทย์

อย่า...! ใช้ไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ ผสมเบกกิ้งโซดาฟอกฟันเองอาจส่งผลเสียกับสุขภาพปากและฟัน

เรียนรู้วิธีเก็บรักษา "นม" แต่ละชนิดให้คงคุณประโยชน์ไว้เต็มคุณค่า

เมื่อทำการรักษาหายแล้ว ก็ต้องป้องกันไม่ให้กลับมาเป็นซ้ำอีก ด้วยวิธีการง่ายๆ ดังนี้ 
           1. เลือกใส่รองเท้าที่พอดีกับเท้า ไม่คับเกินไป หรือหลวมเกินไป เพราะไม่ว่ารองเท้าจะคับหรือหลวมก็ทำให้นิ้วเท้าเสียดสีกัน
           2. หลีกเลี่ยงการใส่รองเท้าส้นสูง รองเท้าหัวแหลม รองเท้าแฟชั่นซึ่งไม่สอดคล้องกับโครงสร้างกระดูกเท้า รองเท้าพวกนี้จะไปบีบรัดทำให้การเรียงตัวของกระดูกผิดทิศทาง และทำให้เกิดการเสียดสีมากขึ้น แต่สำหรับสาว ๆ ที่จำเป็นต้องใส่รองเท้าส้นสูงอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ก็เลือกรองเท้าส้นสูงที่มีแผ่นหนุนด้านหน้า เพื่อลดแรงกดที่นิ้วเท้า และไม่ควรใส่รองเท้าส้นสูงยืนเดินนานจนเกินไป ควรหารองเท้าสบาย ๆ ไปเปลี่ยนระหว่างวันด้วย
           3. หาฟองน้ำหรือแผ่นรองเท้ามาใส่เพิ่มในรองเท้า เพื่อลดการเสียดสีระหว่างรองเท้ากับผิวหนัง
           4. เลือกใส่รองเท้าที่เหมาะกับกิจกรรมที่ทำ เช่น รองเท้าเทนนิสไม่ควรใส่มาวิ่ง
           5. ถ้าชอบมีตาปลาเกิดขึ้นระหว่างง่ามนิ้วเท้า อาจใช้สำลีหรือฟองน้ำบุระหว่างง่ามนิ้วเท้าไว้ เพื่อป้องกันการเสียดสี
           6. หากตาปลาเกิดจากมีเท้าผิดรูป หรือการลงน้ำหนักของเท้ามีความผิดปกติ อาจเลือกใช้รองเท้าที่ออกแบบเป็นพิเศษที่เหมาะสมกับความผิดปกติแต่ละชนิด


 

ที่มาข้อมูล 
- โรงพยาบจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย 

TOP สุขภาพ
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ