"ภูมิคุ้มกันหมู่" โควิด-19 เลิกหวัง "โรคประจำถิ่น" มีความเป็นไปได้


โดย PPTV Online

เผยแพร่




"ภูมิคุ้มกันหมู่" กับ "โรคประจำถิ่น" อะไรจะเกิดก่อนเกิดหลัง ยังเป็นที่ถกเถียง แต่ผลการศึกษาล่าสุดมีความเป็นไปได้ที่จะค่อย ๆ กลายเป็น "โรคประจำถิ่น"

"ภูมิคุ้มกันหมู่" กับ "โรคประจำถิ่น" อย่างไหนจะเกิดขึ้นก่อนกัน ยังเป็นข้อถกเถียงที่ยังไม่มีข้อยุติ แต่การระบาดของโควิดยาวนานกว่า 2 ปีก็เริ่มมีความชัดเจนขึ้นเรื่อย ๆ ถึงทิศทางที่จะเกิดขึ้นในอนาคต

เพราะข้อมูลล่าสุดชี้ให้เห็นว่า "ภูมิคุ้มกันหมู่" แทบเป็นไปไม่ได้ ตราบใดที่มีการกลายพันธุ์และเกิดการหลบเลี่ยงวัคซีนได้ แต่ด้วยธรรมชาติของระบบภูมิคุ้มกันของมนุษย์นั่นเอง อาจมีโอกาสที่ไวรัสโควิด จะกลายเป็น "โรคประจำถิ่น"

รู้จักภูมิคุ้มกันหมู่ ความหวังทำให้โควิด-19 อยู่ในสถานะไข้หวัดธรรมดา

ตัวอย่างการเกิด "ภูมิคุ้มกันหมู่ในอิสราเอล" แม้สายพันธุ์เดลตากำลังระบาด

มีเพียง 9 ประเทศในโลกที่มีประชากรฉีดวัคซีนโควิด-19 ครบโดสเกิน 70%

 

ลืมเรื่อง "ภูมิคุ้มกันหมู่" ไปได้เลย ณ เวลานี้ เพราะวัคซีนโควิด-19 และผู้ที่เคยติดเชื้อโควิดมาก่อนหน้านี้ ยังไม่มีภูมิคุ้มกันต่อโควิดกลายพันธุ์โอมิครอน เพราะยังมีโอกาสติดเชื้อได้ ทำให้เป็นไปไม่ได้จะทำให้เกิด "ภูมิคุ้มกันหมู่" เพื่อป้องกันการระบาด

แต่ก็ไม่ได้สิ้นหวังมากนัก เพราะ "โอมิครอน" ทำให้เกิดสิ่งที่บรรดานักวิทยาศาสตร์เรียกว่า "ซูเปอร์ภูมิคุ้มกัน (superimmunity)” เป็นภูมิคุ้มกันต่อการกลายพันธุ์และไวรัสโคโรนาที่อาจจะเกิดขึ้นได้ในอนาคต

แต่ Superimmunity ไม่ได้ทำให้เกิดการยุติแพร่เชื้อ หรือ การแพร่กระจายของโควิด เพียงแต่จะช่าวยให้ผู้ได้รับเชื้อแล้ว ไม่มีอาการเจ็บป่วยรุนแรงหรือต้องเข้าโรงพยาบาล

เพื่อเข้าใจปรากฏการณ์ที่ว่านี้ ต้องทำความเข้าใจเกี่ยวกับระบบภูมิคุ้มกันว่าทำงานอย่างไร โดยเซลล์เม็ดเลือดขาวมี 2 ชนิด ที่เรียกว่า " T และ B-Cell " โดยเซลล์ทั้งสองประเภทนี้จะร่วมกันขจัดสิ่งแปลกปลอมที่เข้ามาในร่างกาย

T-cell ทำหน้าที่เหมือนทหารยาม ไหลเวียนในต่อมน้ำเหลืองและกระแสเลือด เมื่อเจอผู้บุกรุกแปลกปลอมเข้ามา ก็จะทำการขจัดทันที โดย T-cell ชนิดหนึ่งที่ทำลายเซลล์ที่มีการติดเชื้อ ส่วนเซลล์อีกประเภทที่เรียกว่า B-cell จะสร้างสารต้านทานเชื้อโรค

เซลล์เม็ดเลือดชาวและสารต่อต้านเชื้อโรค เมื่อขจัดเชื้อโรคแล้ว ก็จะตายไป แต่มีเซลล์เม็ดเลือดขาวที่ยังเหลืออยู่มีความสามารถในการจำการต่อต้านเชื้อโรคไว้ได้ ความจำของเชลล์ยังอยู่ในไขกระดูก ต่อมน้ำเหลือ และเนื้อเยื่อ ซึ่งพร้อมที่จะสร้างภูมิต้านทานขึ้นมาใหม่ เมื่อเจอกับไวรัสอีกครั้ง

วัคซีนที่คิดค้นขึ้นมาก็ลอกแบบมาจากระบบภูมิต้านทานเชื้อโรคเช่นเดียวกันนี้ ในกรณีของโควิด-19 วัคซีนจะสร้างภูมิต่อต้านบริเวณหนามบนผิวของไวรัส แต่ภูมิต้านทานที่เกิดจากวัคซีนมีแนวโน้มลดลงอย่างรวดเร็วหลังติดเชื้อ เพราะว่าเชื้อไวรัสอยู่ในร่างกายนานกว่าภูมิต้านทานที่เกิดจากวัคซีน

ทั้งการติดเชื้อและการฉีดวัคซีน จะช่วยสร้างภูมิคุ้มกันเพิ่มขึ้น โดยนักวิทยาศาสตร์พบว่าผู้ที่เคยติดเชื้อโควิด-19 และฉีดวัคซีน จะมีภูมิคุ้มกันยาวนานกว่าผู้ที่ฉีดวัคซีนเพียงอย่างเดียว

เช่นเดียวกับการศึกษา เมื่อเดือนธันวาคมที่ผ่านมา จากมหาวิทยาลัยสุขภาพและวิทยาศาสตร์โอเรกอน พบว่าคนที่ฉีดวัคซีน และเคยติดเชื้อมาก่อน จะมีภูมิต้านทานมีประสิทธิภาพมากกว่าผู้ที่ฉีดวัคซีนไฟเซอร์โดสสองไปแล้ว 2 สัปดาห์ถึง 1,000% ซึ่งนักวิทยาศาสตร์ระบุว่าสิ่งนี้คือ superimmunity

นักวิทยาศาสตร์บอกว่าอาจจะเป็นจุดสิ้นสุด แต่ไม่ได้หมายความว่าเป็นจุดจบของการระบาด แต่ชี้ให้เห็นแนวโน้มลดลงอย่างไร เพราะทันที่ที่ได้รับวัคซีนและเกิดการติดเชื้อ ก็อาจจะเกิดภูมิป้องกันโควิดในอนาคตได้

การศึกษาจากแอฟริกาใต้ พบว่าผู้ที่ติดเชื้อโอมิครอน สร้างภูมิต้านมากกว่าผู้ติดเชื้อเดลตาถึง 4 เท่า และวัคซีนเข็มกระตุ้นช่วยให้เกิดภูมิคุ้มกันมากขึ้น ซึ่งเป็นเหตุผลที่ทำให้การฉีดวัคซีนเข็ม 3 มีภูมิต้านมากกว่าแค่ 2 เข็ม

แต่วัคซีนเข็มกระตุ้น ใช้ต่อต้านเป้าหมายเดียวกันกับการฉีด 2 เข็ม ซึ่งสายพันธุ์โอมิครอนทำให้เกิดความท้าทายมากขึ้นในการสร้างภูมิคุ้มกันจากการฉีดวัคซีน เพราะจะต้องกระตุ้นให้เกิดภูมิคุ้มกันมากขึ้นจากการฉีดวัคซีนเป็นประจำ

การติดเชื้อช่วยให้ T-cell เข้มแข็งขึ้น โดย T-cells จากคนที่ฉีดวัคซีนพบว่ามีประสิทธิภาพประมาณ 70-80% ต่อต้านหนามของโอมิครอน ซึ่งตรงจุดนี้จะช่วยไม่เกิดการเจ็บป่วยหนัก แม้ว่าภูมิคุ้มกันจะลดลงต่ำ

การติดเชื้อยังช่วยให้ T-cell ตระหนักว่าโปรตีนไวรัส ซึ่งบางส่วนของโปรตีนดังกล่าวมีโครงสร้างคล้ายไวรัส SARS เดิม รวมถึงโคโรนาไวรัสอื่น ๆ โดยพบว่า T-cell สามารถจดจำได้นานถึง 17 ปีหลังติดเชื้อ และการศึกษาใหม่จาก Imperial College ของสหราชอาณาจักรพบว่า T-cell ในส่วนที่ไม่ต้านหนามโปรตีนพบได้ทั่วไป ซึ่งไม่ได้เกิดขึ้นจากการติดเชื้อโควิด-19 แต่พบมาก่อนหน้านั้น

ทั้งหมดนี้ ชี้ให้เห็นว่าโอมิครอนกระตุ้นให้เกิดภูมิต้านต่อต้านโควิด-19 โดยทั่วไป แม้แต่โควิดกลายพันธุ์ ขณะที่โอมิครอนระบาดไปอย่างรวดเร็ว คนที่ได้รับวัคซีน หรือเคยได้รับเชื้อมาก่อนก็จะพัฒนา superimmunity แม้จะติดเชื้อ แต่อาการก็ไม่รุนแรง อย่างไรก็ตาม ผู้สูงอายุมี T-cell ที่ไม่แข็งแรงมากนัก ทำให้อาจต้องฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้นทุกปี

มีความเป็นไปได้ว่าโอมิครอนอาจจะสิ้นสุดการระบาดลง โดยการทำให้โควิด-19 กลายเป็นโรคประจำถิ่น แต่นั่นหมายความว่าจะยุติการระบาดได้โดยง่าย

TOP สุขภาพ
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ