ภาวะลองโควิด เสี่ยงกระดูกพรุน!! แม้ไม่มีเชื้อแล้ว พบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย


โดย BDMS

เผยแพร่




ถึงวันนี้ภาวะการระบาดของ โควิด-19 ยังคงเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง มีคนไข้จำนวนไม่น้อยที่หายจากการติดเชื้อแล้ว แต่เกิดมีอาการต่อเนื่องตามมา

เราเรียกกลุ่มอาการผิดปกติที่เกิดขึ้นหลังการป่วยว่า กลุ่มอาการลองโควิด (Long Covid) ภาวะลองโควิด เป็นอาการที่เกิดขึ้นกับผู้ป่วย โควิด-19 หลังจากได้รับเชื้อนาน 4 สัปดาห์ไปจนถึง 12 สัปดาห์ขึ้นไปมีอาการแตกต่างกันโดยส่วนใหญ่มักจะพบในผู้ป่วย โควิด-19 ที่เชื้อลงปอดและมีโรคเรื้อรังร่วมด้วย พบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย และบางครั้งก็พบมีอาการผิดปกติอื่นๆ ร่วมด้วย ขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคล และที่น่าสนใจเราพบว่า ภาวะลองโควิดยังมีผลต่อการสร้างมวลกระดูกที่ลดลงด้วย

Long Covid พัฒนาไปเป็นโรคอื่นได้! | อาการน่าเป็นห่วง EP.1

วิจัยพบ ฉีดวัคซีนโควิด-19 ลดโอกาสเกิด “ลองโควิด (Long COVID)” ได้

อาการลองโควิด (Long Covid) มีวิธีรักษาอย่างไร? แล้วรักษาหายหรือไม่?

คณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยอินเดียน่า พบว่าหนูทดลองที่ติดเชื้อไวรัส โควิด-19 เกิดการสูญเสียมวลกระดูกได้มากถึง 25% ภายในสองสัปดาห์หลังจากการติดเชื้อทำให้เรารู้ว่าภาวะการติดเชื้อ โควิด-19 อาจทำให้ผู้ติดเชื้อสูญเสียมวลกระดูกได้อย่างรวดเร็ว แม้ว่าการติดเชื้อจะมีอาการไม่รุนแรงก็ตาม มวลกระดูกที่ลดลงมักเกิดพร้อมกับโรคกระดูกพรุนทำให้กระดูกเปราะและแตกหักได้ง่าย

หายป่วยจาก "โควิด-19" ควรตรวจเช็กร่างกายอะไรบ้าง

รวมลิสต์ “ยาไทย-ยาแผนปัจจุบัน” ที่ควรมีติดบ้านช่วงโควิด-19

กลุ่มที่มีความเสี่ยงต่อภาวะโรคกระดูกพรุน

1.กลุ่มผู้สูงอายุที่มีความเสี่ยงจะติดเชื้อ โควิด-19 ได้ง่ายและแนวโน้มจะเกิดการแทรกซ้อนจากโรคกระดูกพรุน
2.กลุ่มเด็กที่ติดเชื้อ โควิด-19 ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อการสร้างมวลกระดูกมีผลต่อการเจริญเติบโตของเด็กในระยะยาว

ภาวะลองโควิดยังทำให้มีอาการอื่นๆ อีกหลายอย่างที่พบบ่อย ได้แก่ อ่อนเพลียเรื้อรัง เหนื่อยง่าย อ่อนแรง หายใจลำบาก หายใจติดขัด หายใจไม่อิ่ม ปวดศีรษะ สมาธิจดจ่อลดลง จำความจำผิดปกติ ไอ เจ็บแน่นหน้าอก ปวดกล้ามเนื้อข้อต่อ ท้องร่วง ท้องเสีย จมูกไม่ได้กลิ่น ลิ้นไม่รับรม ซึมเศร้า เครียด วิตกกังวล เป็นต้น

ผู้ป่วย โควิด-19 เมื่อหายแล้วอาจมีภาวะเหล่านี้ตามมาได้ จึงควรหมั่นสังเกตตัวเองหากมีความผิดปกติหรือมีข้อสงสัยอย่าปล่อยให้มีอาการรุนแรงรีบพบแพทย์เพื่อเข้ารับการรักษาทันที

ขอบคุณข้อมูล : บริษัท กรุงเทพดุสิตเวชการ จำกัด(มหาชน) : BDMS

TOP สุขภาพ
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ