อย่าชะล่าใจ!! อาจเกิดภาวะลองโควิดได้หลังติดเชื้อประมาณ 2 เดือน


โดย BDMS

เผยแพร่




ปัจจุบันนี้จำนวนตัวเลขผู้ติดเชื้อ โควิด-19 ยังสูงมากแต่ความรุนแรงจากอาการเจ็บป่วยนั้นลดลงจนผู้ป่วยสามารถรักษาตนเองและกักตัวอยู่ที่บ้านแบบ Home Isolation ได้

กระทรวงสาธารณสุขแนะนำให้รับประทานยาตามอาการและลดระยะเวลากักตัวลงจาก 14 วันเหลือเพียง 10 วันเท่านั้นแม้อาการขณะป่วยจะไม่รุนแรง แต่เราพบว่ามีผู้ป่วยหลายรายที่มีอาการผิดปกติตามหลัง จากการติดเชื้อโควิดได้อยู่เรื่อยๆ อาการเหล่านี้ส่งผลต่อสุขภาพและการใช้ชีวิตประจำวันในระยะยาวเราเรียกกลุ่มอาการนี้ว่า ภาวะลองโควิด (Long Covid) กลุ่มประชากรที่เสี่ยงจะเกิดภาวะลองโควิดได้ คือบุคคลที่ยังไม่เคยรับวัคซีนหรือรับวัคซีนไม่ครบ

วิจัยพบ ฉีดวัคซีนโควิด-19 ลดโอกาสเกิด “ลองโควิด (Long COVID)” ได้

"ลองโควิด" LONG COVID  เรื่องต้องรู้เมื่อหายป่วยจากไวรัสร้าย

อัปเดต "ภาวะ Long COVID" ทั้งเกิดขึ้นใหม่และเป็นต่อเนื่อง หลังติดเชื้อโควิด-19

 

 

 

 

 

คนไข้กลุ่มนี้เสี่ยงที่จะเกิดภาวะโควิดที่รุนแรงมากกว่าคนที่ได้รับวัคซีนครบตามกำหนด และมีโอกาสเกิดภาวะลองโควิดมากขึ้น ภาวะลองโควิดมาเกิดหลังจากการติดเชื้อตั้งแต่ 4 สัปดาห์ขึ้นไป สามารถพบเจอในผู้ป่วยที่ไม่มีอาการมาก่อนได้หรือที่เรียกว่า Asymptomatic COVID โดยอาการและระยะเวลานั้นจะแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับสุขภาพเดิมของแต่ละบุคคล เช่น โรคประจำตัวอายุระดับอาการขณะป่วย เป็นต้น ภาวะลองโควิดนี้เราจะพบได้มากถึง 1 ใน 3 ของผู้ป่วยโควิด 

อาการลองโควิด (Long Covid) มีวิธีรักษาอย่างไร? แล้วรักษาหายหรือไม่?

แนะวิธีรักษาฟื้นฟูร่างกาย เมื่อมีอาการ "ลองโควิด" (Long COVID) 

อาการของภาวะลองโควิดที่พบได้บ่อย ได้แก่
1. หายใจเหนื่อย หายใจสั้น
2. เหนื่อยง่าย อ่อนเพลีย
3. สับสนหรือมีความคิดช้าลง
4. ไอเจ็บหน้าอก ปวดศรีษะ ใจสั่น
5. ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อหรือปวดตามข้อ
6. เจ็บตามผิวหนังเหมือนมีเข็มทิมตำ
7. ท้องเสีย
8. นอนไม่หลับ
9. ไข้เรื้อรัง
10. บางคนมองเห็นภาพซ้อนหรือเห็นแสงวูบวาบ
11. มีผื่น
12. อารมณ์ไม่คงที่ 
13. มีการเปลี่ยนแปลงของการได้กลิ่นหรือรสชาติเปลี่ยนไป
14. ประจำเดือนมาไม่ปกติ

แนะอาหารผู้ป่วย "ลองโควิด" (Long COVID) เสริมวิตามินแร่ธาตุฟื้นฟูร่างกาย

LONG COVID  มีผลแค่ไหนกับโรคสมองและระบบประสาท

จะเห็นว่าอาการเหล่านี้เป็นอาการที่ไม่จำเพาะเจาะจงและวินิจฉัยได้ยาก จากการสำรวจของสถาบันทางการแพทย์ในสหรัฐอเมริกาพบว่า ภาวะลองโควิดมักเกิดในผู้หญิงที่มีอายุมากกว่า 40 ปี และมักเกิดขึ้นหลังติดเชื้อประมาณ 2 เดือน อาการที่พบบ่อยได้แก่ อ่อนเพลียมากถึง 17% อาการหายใจเหนื่อย สูญเสียการได้กลิ่น สูญเสียการรับรสพบประมาณ 13% มีอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อและปวดตามข้อประมาณ 11%

เนื่องจากโรคโควิดเป็นโรคอุบัติใหม่และมีข้อมูลเกี่ยวกับโรคนี้ค่อนข้างน้อย อาการของลองโควิดยังมีอีกมากมายที่เรายังไม่ทราบในเวลานี้ ดังนั้นวิธีป้องกันภาวะลองโควิดที่ดีที่สุด คือ การป้องกันไม่ให้ติดโรคโควิดตั้งแต่แรกเริ่มหรือป้องกันการเกิดอาการรุนแรง โดยการฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิดและอัปเดตข้อมูลเกี่ยวกับวัคซีนอย่างสม่ำเสมอ สวมหน้ากากอนามัยเมื่อต้องออกจากบ้านหรือเมื่อต้องทำกิจกรรมในพื้นที่ที่มีบุคคนพลุกพล่าน หากท่านหรือคนใกล้ตัวท่านเกิดภาวะลองโควิดสิ่งที่สามารถทำได้คือทำความเข้าใจกับอาการที่เกิดขึ้นและไปพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยเพิ่มเติมศึกษาหาข้อมูลจากแหล่งข้อมูลที่เชื่อถือได้ และต้องเข้าใจว่าในแต่ละบุคคลอาจมีอาการแตกต่างกันไป

หากเกิดความเครียดระหว่างติดเชื้อโควิดหรือเกิดภาวะลองโควิด แนะนำให้พักจากการดูการอ่านและฟังข่าวต่างๆที่เกี่ยวข้องกับภาวะลองโควิดลงบ้าง เสพข่าวแต่พอดี ไม่จำเป็นต้องติดตามข่าวต่างๆทุกชั่วโมงหรือทุกวินาทีของชีวิต ควรหาเวลาไปทำกิจกรรมอื่นๆ นอกจากการใช้โซเชียลมีเดียจะเป็นการช่วยให้เราคลายเครียดได้เป็นอย่างดี

 

ที่มา : บริษัท กรุงเทพดุสิตเวชการ จำกัด(มหาชน) : BDMS

กรมการแพทย์เผยถึง ภาวะ MIS-C (มิสซี) ในเด็ก พร้อมสังเกตอาการ

เสริมแกร่งร่างกาย ด้วย 7 วิตามินสร้างภูมิคุ้มกันต้านโควิด-19

TOP สุขภาพ
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ