วิธีคิดเงินได้คริปโทแบบ"ซื้อมา-ขายไป" ยื่นภาษีผ่านออนไลน์ถึง 8 เม.ย.


โดย PPTV Online

เผยแพร่




วิธีคิดเงินได้จากการซื้อขายคริปโท ประเภท "ซื้อมา-ขายไป" สำหรับนักเทรด การยื่นภาษีแบบกระดาษตามกำหนดเดิม 31 มี.ค.ของทุกปี แต่หากผ่านออนไลน์ถึง 8 เม.ย.

การยื่นภาษีเงินได้จากคริปโทเคอร์เรนซี และโทเคนดิจืทัล สำหรับบุคคลธรรมดา ต้องยื่นภาษีเงินได้เหมือนกับรายได้จากสินทรัพย์ประเภทอื่น โดยกรมสรรพกรกำหนดเวลาให้ยื่นภายใน 31 มี.ค.ของทุกปี และกรณีที่ยื่นผ่านออนไลน์สามารถยื่นได้ถึงวันที่ 8 เม.ย.

ดังนั้น ต่อไปผู้ที่ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล มีหน้าที่ต้องยื่นภาษีเงินได้ตามเงื่อขไของกรมสรรพากร โดยเฉพาะผู้ที่ "ซื้อมา-ขายไป" บ่อยครั้ง จะต้องทำบัญชีกันอย่างละเอียด 

วิธีคำนวณภาษี "ขุดคริปโทเคอร์เรนซี" เริ่มคิดเมื่อมีจำหน่าย-จ่าย-โอน

ยื่นภาษีคริปโท ยุ่งกว่าที่คิด อย่าเทรดเพลิน จนลืมทำระบบบัญชี

คำนวณภาษีอย่างไร เมื่อได้เงินเดือน-ค่าจ้างเป็น "คริปโท"

 

 

กรมสรรพากรจึงได้จัดทำคู่มือ ประกอบการยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภ.ง.ด.90/91 โดยจะมีเนื้อหาครอบคลุม 

  • การจัดประเภทเงินได้ให้ชัดเจน โดยระบุประเภทเงินได้และผลประโยชน์ให้ครอบคลุมกำไร/รายได้จากการโอน/ผลประโยชน์อื่นใดจากคริปโทเคอร์เรนซี/โทเคนดิจิทัล
  • การคำนวณต้นทุนใช้วิธีมาตรฐานการบัญชีรับรอง โดยสามารถทำได้ 2 วิธี คือ วิธีเข้าก่อนออกก่อน  (FIFO) หรือวิธีต้นทุนถัวเฉลี่ยเคลื่อนที่ (Moving Average Cost) โดยสามารถเปลี่ยนวิธีคำนวณในปีถัดไปได้
  • การวัดมูลค่าคริปโทเคอร์เรนซี/โทเคนดิจิทัล เวลาที่ได้มา หรือราคาถัวเฉลี่ยในวันที่ได้มาเพื่อให้

สำหรับการยื่นภาษีสินทรัพย์ดิจิทัล ในกรณี "ซื้อมา-ขายไป (trading) มีวิธีการคิดง่าย ๆ ดังนี้

กำไร(ขาดทุน) = รายรับ-รายจ่าย

การยื่นภาษี มีการพิจารณาแห่งที่มาของรายได้ ดังนี้

ที่มาของเงินได้: เป็นกำไรจากการขายและแลกเปลี่ยนสินทรัพย์ดิจิทัล 40(4) (ณ)

กำไร หัก ขาดทุน: ผลขาดทุนสามารถนำมาหักกลบกับกำไรในปีภาษีเดียวกันได้ แต่เฉพาะ การซื้อขายผ่าน "ผู้ประกอบการธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล" ภายใต้การกำกับดูแลของสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.)เท่านั้น

ทั้งนี้ หลักการติดหักกลบขาดทุน-กำไร มีดังนี้

  • ให้คำนวณเฉพาะต้นทุนในเหรียญประเภทเดียวกัน
  • ณ สิ้นปี สามารถหักกลบ กำไร/ขาดทุน ระหว่างประเภทเหรียญได้
  • ผู้ประกอบการสินทรัพย์ดิจิทัลที่นอกเหนือจาก ก.ล.ต. กำหนดไม่สามารถนำกำไรหักขาดทุนได้

การคิดรายรับ

คิดจากจุดที่รับรู้มูลค่าสินทรัพย์: โดยคิด ณ เวลาที่ขาย หรือ กรณีซื้อขายหลายครั้ง ให้คิดราคาถัวเฉลี่ยในวันที่ขาย

ทั้งนี้ การยื่นแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด. 90 สำหรับปีภาษีภายในวันที่ 31 มีนาคม (กระดาษ) และภายในวันที่ 8 เมษายน กรณียื่นอินเทอร์เน็ต

รายจ่าย

จุดรับรู้มูลค่าทรัพย์สินเพื่อใช้คำนวณต้นทุน โดยเป็นราคา ณ เวลาที่รับซื้อ หรือ เป็นราคาถัวเฉลี่ยในวันที่ซื้อกรณีที่ซื้อหลายครั้ง

วิธีคำนวณต้นทุน ใช้วิธีเข้าก่อนออกก่อน(FIFO) หรือวิธีต้นทุนเฉลี่ยนเคลื่อนที่ (Moving Average Cost) ซึ่งสามารถเปลี่ยนวิธีการคำนวณในปีถัดไปได้

นอกจากนี้ ยังมีต้นทุนหรือค่าใช้จ่าย คือ มูลค่าต้นทุนของสินทรัพย์ดิจิทัล ได้แก่ ค่าธรรมเนียมและค่าโอน ซึ่งหากไม่มีการจำหน่ายหรือโอนออกไป ก็สามารถนำไปคิดคำนวณเป็นต้นทุนในปีถัดไปได้

TOP หุ้น การลงทุน
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ