"การควบรวมกิจการ" วิถีการขยายธุรกิจให้เติบโตในช่วงวิกฤต


โดย PPTV Online

เผยแพร่




เมื่อพูดถึงการควบรวมกิจการ ในเวลานี้ปฏิเสธไม่ได้ว่า เรื่อง ทรู-ดีแทค น่าจะมาเป็นอันดับหนึ่ง แต่เคยสงสัยไหมว่าทำไมธุรกิจใหญ่อย่าง 2 ค่ายมือถือยักษ์ใหญ่ถึงต้องควบรวกิจการวันนี้เราจะมาขยายความให้ฟังกัน

ก่อนที่เราจะมาทำความเข้าในเรื่อง "การควบรวมกิจการ" เราต้องเข้าใจก่อนว่าในการทำธุรกิจแทบทุกกิจการเมื่อถึงจุดๆหนึ่งที่เรียกว่า จุดอิ่มตัว ซึ่งจะส่งผลกต่อการขยายงาน หรือการพัฒนาธุรกิจ ประกอบกับความท้าทายทางด้านเศรษฐกิจ ที่มีการผันผวนตลอดเวลาอีกทั้งยังมีคู่แข่งใหม่เกิดขึ้น หากไม่ดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่งก็จะกลายเป็นว่าต้องรอวันที่บริษัทปิดตัวลงในสักวันหนึ่ง

กรณี ทรู ควบรวม ดีแทค จะมีผลกระทบผู้บริโภคด้านใดบ้าง

สรุปดีลยักษ์วงการโทรคมนาคม "ทรู-ดีแทค" ดันผู้ใช้หมายเลขขึ้นเบอร์หนึ่ง 51.3 ล้านหมายเลข

ดังนั้นการที่จะอยู่รอดในสถานการณ์ดังกล่าว หลายบริษัทต้องออกกลยุทธ์ในการประคับ ประคองบริษัทให้อยู่รอด จึงทำให้เกิดกลยุทธ์ Mergers and Acquisitions หรือ “M&A”  การควบรวมกิจการ 

โดย Mergers นั้นหมายถึง การที่บริษัทตั้งแต่ 2 บริษัทขึ้นไป ทำการควบรวมกิจการเข้าด้วยกัน เป็นผลให้ทั้งบริษัทเหล่านั้น ถูกยุบรวมและเหลือเพียงแค่บริษัทใหม่เกิดขึ้น และบริษัทเดิมทั้งสอง (หรือมากกว่า 2) ก็จะเป็นเจ้าของบริษัทใหม่ร่วมกัน ตัวอย่างที่เห็นได้ในปัจจุบัน ก็คือ การควบรวมกิจการระหว่างธนาคารทหารไทย และธนาคารธนชาต จนกลายมาเป็น ธนาคารทหารไทยธนชาต จำกัด (มหาชน) หรือ TTB

ส่วนคำว่า Acquisitions นั้นหมายถึง การที่บริษัทหนึ่งเข้าไปซื้อกิจการของอีกบริษัทหนึ่ง สามารถแบ่งได้เป็น 2 กรณี คือ
    กรณีแรกคือ Share Acquisition คือ บริษัท A เข้าซื้อกิจการบริษัท B และได้รับหุ้นเป็นส่วนแบ่ง บางส่วนหรือทั้งหมด โดยที่บริษัท A จะสามารถเข้าไปนั่งร่วมในการประชุมผู้ถือหุ้นและมีสิทธิ์ในการออกเสียง หรือมีสิทธิ์ควบคุมการตัดสินใจของกิจการที่ถูกซื้อ อย่างเช่น การเข้าซื้อหุ้น INTUCH ของ GULF

    กรณีที่ 2 คือ Asset Acquisition หรือ Business Acquisition  โดยกรณีนี้คือการที่บริษัท A เข้าซื้อสินทรัพย์ หน่วยธุรกิจบางส่วนหรือทั้งหมด ของกิจการ B ซึ่งตัวอย่างที่เกิดขึ้นเร็ว ๆ นี้ก็เช่น กรณีที่ MAKRO รับโอนกิจการทั้งหมดของ LOTUS แล้วออกหุ้นเพิ่มทุนให้กับเจ้าของเดิมที่เป็นบริษัทในเครือซีพี เพื่อชำระเป็นค่าโอนกิจการ

ซึ่งข้อดีของการควบรวมกิจการจะส่งผลให้ธุรกิจมีความเข้มแข็งมากยิ่งขึ้นจากความสามารถในการเพิ่มมูลค่าของกิจการ , เพิ่มอำนาจด้านการตลาด ด้านการค้าที่สูงขึ้น  , ดึงดูดนักลงทุนจากตลาดต่างประเทศให้มาร่วมลงทุน และสามารถขยายกิจการให้เข้าสู่ธุรกิจใหม่ลดความเสี่ยงในการประกอบธุรกิจปัจจุบัน

ทรู-ดีแทค ปิดดีลควบรวมกิจการสู่เทคโนโลยีฮับ

สรุปภาวะ "หุ้นไทย" 22 พ.ย.64 แรงหนุนหุ้นกลุ่มสื่อสารจาก ทรู-ดีแทค ควบรวมกิจการ

ส่วนวิธีการควบรวม สามารถทำได้ 3 รูปแบบคือ 
1. การควบรวมกิจการแบบแนวนอน (Horizontal Integration)
    เป็นการควบรวมกิจการที่ทำธุรกิจเหมือนกัน หรืออยู่ในอุตสาหกรรมเดียวกัน ซึ่งผลประโยชน์จากการควบรวมแบบนี้คือ เกิดการประหยัดต่อขนาด (Economies of Scale) จากการที่สามารถเพิ่มกำลังการผลิต เพิ่มส่วนแบ่งตลาด ลดคู่แข่ง รวมไปถึงการเกิดผลประโยชน์ทางธุรกิจเพิ่มขึ้น และเพื่อให้เกิดจากการแชร์เทคโนโลยี ทรัพยากร และบุคลากรร่วมกัน
ตัวอย่างดีลแบบนี้ ก็เช่น The Walt Disney ที่มีส่วนธุรกิจผลิตภาพยนตร์และรายการโทรทัศน์รายใหญ่ ได้เข้าซื้อกิจการของ 21st Century Fox สตูดิโอผลิตภาพยนตร์ชื่อดัง ด้วยมูลค่ากว่า 2.3 ล้านล้านบาท ในปี 2019

2. การควบรวมกิจการแบบแนวตั้ง (Vertical Integration)
    เป็นการควบรวมของธุรกิจที่มีห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain) เดียวกัน เพื่อลดต้นทุนการผลิต และจัดการกระบวนการผลิตได้ง่ายขึ้น เช่น ในปี 2012 Google ได้เข้าซื้อกิจการของ Motorola Mobility ที่แยกตัวออกมาจาก Motorola และเป็นหนึ่งในผู้พัฒนาสมาร์ตโฟน Android ด้วยมูลค่ากว่า 406,000 ล้านบาท อย่างไรก็ตามดีลนี้ของ Google ไม่ประสบความสำเร็จเท่าไรนัก เพราะตลาดโทรศัพท์มือถือมีการแข่งขันกันที่รุนแรง

3. การควบรวมกิจการที่ไม่มีความสัมพันธ์กัน (Conglomerate Integration)
    เป็นการควบรวมของธุรกิจที่แตกต่างจากเดิมโดยสิ้นเชิง ทั้งนี้เพื่อ สร้างการเติบโตจากธุรกิจใหม่ รวมไปถึงความต้องการที่จะกระจายความเสี่ยงเพื่อไม่ให้กิจการมีรายได้หลักมาจากธุรกิจเดิมเท่านั้น ตัวอย่างของบริษัทที่เกิดจาก Conglomerate Integration เช่น กลุ่มไทยเจริญคอร์ปอเรชั่น หรือ TCC Group ของคุณเจริญ สิริวัฒนภักดี  ที่มีการควบรวมกิจการต่าง ๆ ที่ไม่เกี่ยวข้องมาอยู่ในเครือมากมาย เช่น ธุรกิจอาหาร เครื่องดื่ม อสังหาริมทรัพย์ ประกัน การเงิน และธุรกิจการเกษตร

ของขวัญปีใหม่ เตรียมเปิดลงทะเบียน บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ หรือ บัตรคนจน รอบใหม่ 15 ล้านคน เพิ่มหลักเกณฑ...

คนตกงาน 870,000 คน สูงสุดตั้งแต่เกิดโควิด

กลยุทธ์ M&A จึงถือเป็นกลยุทธ์สำคัญทางธุรกิจ ที้จะถูกงัดออกมาใช้เพื่อรักษาเสถียรภาพ และรักษาศักยภาพของบริษัทให้ยังอยู่รอดต่อไปในสนามธุรกิจที่มีการแข่งขันสูงในปัจจุบัน อีกทั้งยังเป็นการขยายธุรกิจให้ไปสู่ระดับโลกได้อีกด้วย

“พัคชินฮเย – ชเวแทจุน” เตรียมวิวาห์ปีหน้า เผยข่าวดีตั้งครรภ์ลูกคนแรก

ที่มา
- ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย 
- ลงทุนแมน
 

TOP เศรษฐกิจ
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ