"ผลของเงินเฟ้อ" รายได้น้อยเจอหนักสุด-มีหนี้สูงสุด


โดย PPTV Online

เผยแพร่




เงินเฟ้อปีนี้อาจมีโอกาสแตะ 4.9% ตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยคาดการณ์ แม้ว่าเศรษฐกิจไทยในภาพรวมอยู่ในช่วงทยอยฟื้นตัวหลังจากผ่านจุดต่ำสุดในปี 2563 ซึ่งในเชิงลึกแล้วเศรษฐกิจไทยต่ละภาคฟื้นตัวแบบไม่เท่าเทียม ซึ่งจะมีผลกระทบต่อคนแต่ละกลุ่มไม่เท่ากันอีกด้วย (double K-shaped)

ครัวเรือนรายได้น้อยเผชิญค่าครองชีพที่สูงขึ้นจากค่าใช้จ่ายหมวดอาหารมากกว่าครัวเรือนรายได้สูง รวมถึงเผชิญกับหนี้ที่สูงกว่ากลุ่มที่มีรายได้น้อยมีหนี้สินคิดเป็น 2 ใน 3 ของจำนวนครัวเรือนกลุ่มรายได้น้อยทั้งหมด โดยเฉพาะอาชีพอิสระและลูกจ้างภาคบริการได้รับผล กระทบจากโควิด-19 ทำให้รายได้ฟื้นตัวไม่เต็มที่

โควิด-19 กับ ตลาดแรงงานไทย

"ธนกร" แจงยิบน้ำมันไทยไม่ได้ราคาแพงที่สุด โชว์เปรียบเทียบราคาในแต่ละประเทศ

ขณะที่อัตราเงินเฟ้อของไทยที่ผ่านมาปรับสูงขึ้นเร็วจากราคาพลังงานและหมวดอาหาร เพิ่มขึ้นทั้งอาหารสดและอาหารสำเร็จรูป  และเมื่อเทียบกันแล้ว ครัวเรือนที่ต้องใช้จ่ายค่าครองชีพหมวดอาหารจะกระทบมากกว่าพลังงาน 

ที่สำคัญคือ เพราะกลุ่มรายได้รายได้น้อยใช้จ่ายหมดอาหารและเครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอล์สูงถึง 46% ของค่าใช้จ่ายทั้งหมด ซึ่งสูงกว่ากลุ่มรายได้สูง (ต่ำกว่า 30%)  แต่ราคาพลังงานกระทบทั้ง 2 กลุ่มไม่ต่างกัน 

MEA เตรียมพร้อมระบบ ดูแลไฟฟ้าช่วงหน้าร้อน

อย่างไรก็ตาม ทั้งปัจจัยเรื่องหนี้สูงและเงินเฟ้อที่ทำให้ราคาสินค้าสูงขึ้น  ล้วนกดดันกำลังซื้อ (purchasing power) ของครัวเรือนโดยเฉพาะ ครัวเรือนกลุ่มรายได้น้อยซึ่งเป็นประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศ (60%ของประชากรไทย) และมีสัดส่วนการบริโภคคิดเป็น 1 ใน 3 ของการบริโภครวม ปัญหาดังกล่าวนอกจากจะส่งผลกระทบต่อค่าครองชีพและคุณภาพชีวิตของครัวเรือนกลุ่มรายได้น้อยแล้ว ยังอาจกดดันการบริโภคภาคเอกชนและฉุดรั้งการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโดยรวมในระยะต่อไปได้

แบงก์ชาติผ่อนเกณฑ์คนไทยทำธุรกรรมเงินตราต่างประเทศ

เรียบเรียงจาก ธนาคารแห่งประเทศไทย

TOP เศรษฐกิจ
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ