ประเทศที่มี “ภาระหนี้สาธารณะ” พุ่งสูงติดอันดับโลก


โดย PPTV Online

เผยแพร่




เปิดอันดับประเทศที่มีภาระหนี้สาธารณะ พุ่งสูงติดอันดับโลก ในปี 2020 พร้อมดูสถานะหนี้สาธารณะของไทยว่าเป็นอย่างไร

ความหมาย หนี้สาธารณะ อธิบายง่ายๆ จากสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ คือ การกู้ยืมเงินของรัฐบาล เพื่อนำเงินมาใช้จ่ายภายในประเทศ ที่เห็นชัดอย่างประเทศไทยช่วงที่มีการแพร่ระบาดของโควิด-19 รัฐบาลไทยกู้เงินตาม พ.ร.ก.กู้เงินโควิด-19 เพื่อนำมาใช้ในการเยียวยาประชาชนที่ได้รับผลกระทบผ่านโครงการต่างๆ เช่น คนละครึ่ง เรารักกัน ฯลฯ

คริปโทฯยอดนิยมคนไทย ผลตอบแทนร่วงหนัก KUB ติดลบเยอะสุด 61%

นายกฯ พอใจ ต่างชาติแห่เที่ยวไทย 1 ล้านคน ฟื้นรายได้ในประเทศ

โรคหลอดเลือดหัวใจตีบตัน หนึ่งในกลุ่ม NCDs ตัวร้ายอันตรายถึงชีวิต

เมื่อสถานการณ์ดีขึ้น เศรษฐกิจกลับมาเติบโต ประชาชนมีรายได้สูงขึ้น  รัฐบาล ก็จะสามารถเก็บภาษีเงินได้จากประชาชนเพิ่มขึ้นเพื่อชําระหนี้คืน

 

รัฐบาลของประเทศต่าง ๆ ทั้งที่พัฒนาแล้ว และกําลังพัฒนาต่างก็มีหนี้สาธารณะอยู่เป็นจํานวนไม่น้อย ซึ่งสามารถมองหนี้สาธารณะได้ 2 ด้านคือ เมื่อรัฐบาลยืมเงินเข้ามาก็จัดเป็นรายรับของรัฐบาลทางหนึ่ง และเมื่อหนี้ถึงกําหนดชําระรัฐบาลก็ต้องตั้งเป็นงบประมาณรายจ่ายเพื่อชําระหนี้การก่อหนี้สาธารณะของรัฐบาลจึงมีผลต่อเศรษฐกิจส่วนรวมของประเทศ

อย่างที่กล่าวไปว่า หลายประเทศมีก้อนหนี้สาธารณะอยู่ไม่น้อยในปี 2020 มีการจัดอันดับประเทศที่มีหนี้สาธารณะสูงไว้ 8 ประเทศที่มีภาระหนี้สาธารณะสูงที่สุดในโลก โดยเวเนซุเอลา รัฐบาลก่อนหนี้พุ่งสูง 3 เท่าของจีดีพี ต่อปี โดยในปี 2020 หนี้สาธารณะของ เวเนซุเอลาเพิ่มขึ้นเป็น 304% ต่อจีดีพี

ญี่ปุ่น หนี้สาธารณะอยู่ระดับ 254% ของจีดีพี ด้วยมูลค่าราว 5 ล้านล้านดอลลาร์ เป็นผลมาจากการเศรษฐกิจที่หยุดชะงักยาวนานหลายทศวรรษ โดยเริ่มจากเหตุการณ์ฟองสบู่แตกในปี 2534 และผลพวงของมันลากยาวมาจนถึงปัจจุบัน และมาเจอวิกฤตการเงินในปี 2550 เหตุการณ์แผ่นดินไหวครั้งใหญ่ที่โทโฮคุในปี 2554 และผลกระทบของการระบาดใหญ่ของโคโรนาไวรัส (โควิด-19)

อันดับ 3-5 เป็นประเทศในยูโรโซน ทั้งหมด คือ กรีซ (211% ต่อจีดีพี) อิตาลี (156% ต่อจีดีพี) โปรตุเกส (135%) ต่อจีดีพี ซึ่งในส่วนของยูโรโซนประสบภาวะชะลอตัวอย่างหนัก ทั้งปัญหาการแพร่ระบาดของ โคโรนาไวรัส (โควิด-19)  

หากย้อนกลับไปก่อนหน้านั้น ยูโรโซนเกิดวิกฤตในปี 2009 ซึ่งมาจากระดับหนี้สาธารณะที่สูง หลังการกู้ยืมเงินเพื่อชดเชยงบประมาณขาดดุลของรัฐบาล โดยจุดเริ่มต้นของวิกฤตได้ก่อตัวขึ้นมาตั้งแต่การปฏิรูประบบเศรษฐกิจใน ค.ศ. 2002 และกรีซประกาศยกเลิกการใช้เงินสกุลดั้งเดิมหันไปใช้เงินสกุลยูโรของกลุ่มสหภาพยุโรปแทน ส่งผลให้ความน่าเชื่อถือของประเทศดีขึ้นสามารถกู้ยืมเงินได้ง่ายขึ้น ทำให้รัฐบาลจึงมีการกู้ยืมเงินจำนวนมากเพื่อมาใช้จ่ายในเรื่องต่างๆ รวมทั้งการจัดมหกรรมกีฬาโอลิมปิกที่กรุงเอเธนส์ในค.ศ. 2004 ที่กรีซเป็นเจ้าภาพ ขณะเดียวกัน หนี้สาธารณะสูงยังก่อตัวในหลายประเทศในสหภาพยุโรป เช่น ไอร์แลนด์ อิตาลี เป็นต้น จนเข้าสู่ภาวะเศรษฐกิจถดถอยในเวลาต่อมา

อันดับที่ 6 คือ สหรัฐอเมริกา ประเทศที่เศรษฐกิจที่ใหญ่เป็นอันดับสองของโลก โดยระดับหนี้สาธารณะอยู่ที่ 134% ของจีดีพี

ส่วน อันดับที่ 7 และ 8 คือ สเปน (120%) ไซปรัส (119%) ต่อจีดีพี

 

ฮุนได ประกาศลงทุน 5,500 ล้านดอลลาร์ สร้างโรงงานผลิตแบตเตอรี่ในสหรัฐฯ

'ประยุทธ์' ยินดีกับ "ชัชชาติ สิทธิพันธุ์' ชนะการเลือกตั้งผู้ว่า กทม.

 

ราชกิจจาฯ ประกาศ ขยายเพดานหนี้สาธารณะไม่เกิน 70% คาด ณ สิ้นเดือน ก.ย. 2565 แตะ 62.69%

สำหรับ ไทย ระดับหนี้สาธารณะอยู่ที่ 58.3% ต่อจีดีพี (อันดับประมาณ 100 กว่า) โดยเพิ่งขยายเพดานหนี้สาธารณะเป็น 70% ต่อจีดีพีในช่วงที่มีการกู้เงินเพื่อช่วยเหลือในช่วงที่มีการแพร่ระบาดของโคโรนาไวรัส (โควิด-19

ตามความเห็นของ นายเมธี สุภาพงษ์ รองผู้ว่าการ ด้านเสถียรภาพการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย ระบุว่า เพื่อเพิ่มความคล่องตัวให้กับการดำเนินนโยบายเพื่อรองรับสถานการณ์การระบาดของโควิด 19 และพยุงการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในระยะข้างหน้า และการขยายเพดานหนี้สาธารณะในครั้งนี้ ไม่ได้หมายความว่า รัฐบาลจะต้องกู้เงินเพื่อให้ถึงเพดานหนี้สาธารณะ แต่เป็นการเพิ่มความคล่องตัวในการดำเนินมาตรการให้กับภาครัฐ เนื่องจากมาตรการทางการคลังยังจำเป็นต้องมีบทบาทต่อเนื่องในการช่วยเสริมรายได้ของประชาชนที่ลดลงมาก เพื่อให้เศรษฐกิจฟื้นตัวกลับมาได้เร็ว

ส่วนของประเทศที่ต้องจับตา คือ "ศรีลังกา" หลังประเทศเผชิญวิกฤตเศรษฐกิจครั้งใหญ่ที่สุดนับตั้งแต่ก่อตั้งประเทศและผิดนัดชำระหนี้  78 ล้านดอลลาร์ ส่งผลทำให้อัตราเงินเฟ้อพุ่งสูงถึง 30% และคาดการณ์ว่าอาจเพิ่มขึ้นถึง 40% โดยหนี้สาธารณะของศรีลังกาอยู่ที่  86% ของจีดีพี และเพิ่มขึ้นเกือบเท่าตัว

 

สรุปเหรียญ ซีเกมส์ 2021 ล่าสุด ประจำวันจันทร์ที่ 23 พ.ค. 65

TOP เศรษฐกิจ
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ