บีโอไอ อนุมัติ ฮอริษอน พลัส บริษัทลูก ปตท. ผลิตรถยนต์ EV 3.6 หมื่นล้านบาท


โดย PPTV Online

เผยแพร่




บอร์ดบีโอไอ อนุมัติการลงทุนกว่า 2 แสนล้านบาท รวมถึง บริษัทลูก ปตท. ฮอริษอน พลัส เพื่อผลิตรถยนต์ไฟฟ้า 3.6 หมื่นล้านบาท

การประชุมคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บอร์ดบีโอไอ) ครั้งที่ 3/2565 รวมมูลค่า 209,478 ล้านบาท คือ 

ปตท.ตั้งบริษัทร่วมทุน HORIZON PLUS คาดอีก 2 ปี เริ่มจำหน่ายรถยนต์ไฟฟ้า

ปตท. กางแผน 5 ปี อัดงบ 9.4 แสนล้านบาท รุกธุรกิจไฟฟ้าหมุนเวียน-รถยนต์ EV

  • กิจการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าแบบแบตเตอรี่ ของบริษัท ฮอริษอน พลัส จำกัด บริษัทลูกของ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) หรือ PTT บริษัทลูกของ มูลค่า 36,100 ล้านบาท 
  • โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน ของบริษัท เอเชีย เอรา วัน จำกัด มูลค่า 162,318 ล้านบาท 
  • กิจการผลิตเส้นใยและกิจการผลิตผ้าที่มีคุณสมบัติพิเศษของกลุ่มบริษัท คิงบอร์ด โฮลดิ้งส์ มูลค่ารวม 8,230 ล้านบาท 

และอีก 2,830 ล้านบาท  ขยายกิจการผลิตไฟฟ้าระบบโคเจนเนอเรชั่น ของบริษัท ไออาร์พีซี คลีน พาวเวอร์ จำกัด  

นอกจากนี้ ที่ประชุมมีมติเห็นชอบเพิ่มสิทธิประโยชน์เพื่อจูงใจให้เกิดการลงทุนผลิตแบตเตอรี่ยานพาหนะไฟฟ้า (อีวี) ที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูงในการผลิตแบตเตอรี่ระดับเซลล์ (BATTERY CELL) ระดับโมดูล (BATTERY MODULE) และกิจการผลิตแบตเตอรี่ที่มีความจุสูง (HIGH ENERGY DENSITY BATTERY) โดยเพิ่มระยะเวลาการให้สิทธิและประโยชน์ลดหย่อนอากรขาเข้าวัตถุดิบและวัสดุจำเป็น ในกรณีที่ผลิตจำหน่ายในประเทศ จาก 2 ปี เป็น 5 ปี ส่วนกรณีโครงการที่ยื่นขอและได่รับการส่งเสริมและอนุมัติไปแล้ว  สามารถแก้ไขโครงการเพื่อขอรับสิทธิประโยชน์ใหม่นี้ได้เช่นกัน

อย่างไรก็ตาม ปัจจุบัน มีโครงการได้รับส่งเสริมการลงทุนจากบีโอไอ ในกิจการผลิตแบตเตอรี่สำหรับยานพาหนะไฟฟ้า จำนวน 16 โครงการจาก 10 บริษัท รวมเงินลงทุน 4,820 ล้านบาท และมีโครงการที่ได้รับส่งเสริมการลงทุนในกิจการผลิตแบตเตอรี่ที่มีความจุสูง (HIGH ENERGY DENSITY BATTERY) รวม 3 โครงการ มูลค่าเงินลงทุน 6,746.1 ล้านบาท

ขุมทรัพย์ธุรกิจสถานีชาร์จรถไฟฟ้า 1.7 แสนล. เอเชียครองรายได้สูงสุดในโลก

4 อุตสาหกรรมเจอผลกระทบ "ค่าบาทอ่อน"

พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เป็นประธานการประชุม ย้ำถึงการปรับปรุงสิทธิและประโยชน์ตามมาตรา 30 ของประเภทกิจการผลิตแบตเตอรี่ซึ่งเป็นเรื่องที่มีความสำคัญตามนโยบายของรัฐบาลในการส่งเสริมการใช้และการผลิตยานยนต์ไฟฟ้าให้ได้อย่างน้อยร้อยละ 30 ภายในปี ค.ศ. 2030 โดยขณะนี้รัฐบาลกำลังเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันในการผลิตรถไฟฟ้าพร้อมส่วนประกอบต่าง ๆ ในประเทศไทย ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญของต้นทุนการผลิตรถไฟฟ้า เช่น ตัวถัง มอเตอร์ แบตเตอร์รี่ ฯลฯ

โดยให้ดำเนินการตั้งแต่ต้นทางอย่างครบวงจร ซึ่งจะเป็นการส่งเสริมให้คนใช้รถไฟฟ้าได้มากขึ้น รวมถึงการส่งเสริมการลงทุนต่าง ๆ อย่างครบวงจรในประเทศ ตลอดจนการพัฒนาสถานีบริการอัดประจุไฟฟ้าและการบริหารจัดการแบตเตอรี่อย่างเป็นระบบประสิทธิภาพ รองรับรถไฟฟ้าด้วย โดยขอให้ทุกคนร่วมมือกันดำเนินการให้เกิดผลสำเร็จให้ได้ตามเป้าหมาย

ยอดคนใช้รถไฟฟ้าบีทีเอสพุ่งทะลุ 10 ล้านเที่ยว มากสุดรอบ 2 ปีนับแต่โควิด

สธ.ย้ำผู้ประกอบการแสดงรายการอาหารที่มี "กัญชา" แนะใช้ 1-2 ใบสดต่อเมนู

PR - ตารางคะแนน-2_B PR - ตารางคะแนน-2_B
TOP เศรษฐกิจ
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ