
"ธนาธร"ประกาศล้มบ้านใหญ่"คุณปลื้ม"
เผยแพร่
โค้งสุดท้ายศึกชิงนายก อบจ.ทั่วประเทศแล้ว หลายพื้นที่โหมหาเสียงใหญ่ด้วยการปราศรัย ครั้งสุดท้าย ที่ จ.ชลบุรี เป็นอีกสนามที่ถูกจับตามอง เพราะ 2 ตระกูลการเมืองใหญ่ สู้กันเดือด ขณะที่นักวิชาการสถาบันพระปกเกล้า เชื่อ เลือกตั้งท้องถิ่นครั้งนี้ ตื่นตัวที่สุดในประวัติศาสตร์ด้วยหลายปัจจัย ส่วน รอง ผบ.ตร.สั่งจับตา 10 จังหวัดแข่งขันดุเดือด
ศึกชิง นายกอบจ.ชลบุรี ภารกิจล้มบ้านใหญ่ “คุณปลื้ม”
ศึก 2 ตระกูล"สิงห์โตทอง-คุณปลื้ม"ชิงนายก อบจ.ชลบุรี
ศึกเลือกตั้งนายก อบจ.ชลบุรี มีการปราศรัยใหญ่ครั้งสุดท้ายของผู้สมัคร สปอร์ตไลต์จับไปที่สองกลุ่มการเมืองใหญ่คือคณะก้าวหน้าที่ส่งคนในตระกูล"สิงห์โตทอง" ชงชิงเก้าอี้จากกลุ่ม"คุณปลื้ม" โดยนายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ ประธานคณะก้าวหน้า พูดถึงสนามเลือกตั้งนี้ว่า เป็นอีกจังหวัดที่มีตระกูลทางการเมืองที่ผูกขาด คณะก้าวหน้า ส่ง น.ส.พลอยลภัสร์ สิงห์โตทอง ลูกสาวนายจิรวุฒิ สิงห์โตทอง อดีต ส.ส.หลายสมัยลงแข่งขัน ซึ่งแกนนำคณะก้าวหน้าลงพื้นที่ช่วยหาเสียงหลายครั้งและต่อเนื่อง
นายธนาธรประกาศว่า จะต้องล้มบ้านใหญ่ให้ได้ เพราะจังหวัดชลบุรี ไม่ควรเป็นของตระกูลใดตระกูลหนึ่ง พร้อมอ้างว่าตระกูลคุณปลื้ม ได้รับผลโยชน์จากคณะรัฐประหาร เช่น คสช. ใช้ ม.44 ตั้ง 'สนธยา คุณปลื้ม' นั่งนายกเมืองพัทยา และยังตั้งเป็นที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีด้านการเมืองอีกด้วย
ขณะที่กลุ่มเรารักชลบุรี นำโดย นายวิทยา คุณปลื้ม ผู้สมัครนายก อบจ.ชลบุรี ปราศรัยใหญ่ที่ สนามกีฬาเทศบาลเมืองชลบุรี ชูผลงานที่ผ่านมาในการหาเสียงพีพีทีวีสัมภาษณ์พิเศษก่อนที่ นายวิทยาจะขึ้นเวที ยอมรับว่า การแข่งขันครั้งนี้เข้มข้นอ่่างมาก เพราะคณะก้าวหน้าจับมือกับอีกตระกูลการเมืองลงชิงชัย แต่ส่วนตัวเชื่อว่า การเมืองท้องถิ่น แตกต่างกับการเมืองสนามใหญ่ เพราะนอกจากความสามารถแล้ว ยังต้องใช้การประสานงานอีก
นายวิทยายังกล่าวถึงกรณีที่นายธนาธร กล่าวหาว่า เขาคือบ้านใหญ่เป็นตระกูลผู้มีอิทธิพลว่า ไม่เป็นความจริง เพราะทุกครั้งที่ชนะคือการได้รับความไว้วางใจจากประชาชนมายาวนาน
สำหรับการเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด 20 ธันวาคมนี้ ถือเป็นการเลือกตั้งในรอบเกือบ 8 ปี ทำให้พลวัตทางการเมืองหลายอย่างเปลี่ยนไป จากการสัมภาษณ์พิเศษ รศ.อรทัย ก๊กผล รองเลขาธิการสถาบัน พระปกเกล้า ของทีมข่าวพีพีทีวีพบว่า ประชาชนตื่นตัวเป็นอย่างมาก เพราะไม่ได้เลือกตั้งท้องถิ่นมานาน แต่กฌยังไม่เต็มที่ เพราะมีปัจจัยหลายจากการรัฐที่ไม่เอื้ออำนวยให้ประชาชนกลับไปเลือกตั้ง
รศ.อรทัย ก๊กผล รองเลขาธิการสถาบันพระปกเกล้า ยังวิเคราะห์ปัจจัยที่ทำให้การเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนท้องถิ่น และ สมาชิกองค์การบริหารส่วนท้องถิ่นครั้งนี้ ประชาชนตื่นตัวมากกว่าในอดีตไว้ 4 ปัจจัย แต่ผู้บริหารประเทศไม่มีแนวคิดสนับสนุนการกระจายอำนาจอย่างชัดเจน
1.เลือกนายก อบจ.ส.อบจ.พร้อมกันททั่วประเทศเป็นครั้งแรก
2.อดีต ส.ส อดีตรัฐมนตรี ลงสมัครมากกว่าทุกครั้ง
3.พรรคการเมือง กลุ่มการเมือง ส่งผู้สมัครและและเชื่อมโยงกับนโยบายพรรค
4.“นิว โหวตเตอร์” มีส่วนร่วมทางการเมืองในรอบท้องถิ่น 8 ปี
ส่วน 4 ปัจจัยที่ทำให้ประชาชนตื่นตัวทางการเมือง คือ
1.เป็นครั้งแรกที่ การเลือกนายกอบจ.เลือกพร้อมกันทั้งหมดทั่วประเทศ
2.อดีต ส.ส อดีตรัฐมนตรี ลงสมัครแข่งขัน นายกอบจ. มากกว่าในอดีต
3.เป็นครั้งแรก พรรคการเมือง กลุ่มการเมือง ส่งผู้สมัครในในสังกัด และเชื่อมโยงกับนโยบายพรรค
4.เป็นครั้งแรกที่เยาวชน “นิว โหวตเตอร์” มีส่วนร่วมทางการเมืองในรอบท้องถิ่น 8 ปี
รศ.อรทัยมองว่า ที่ทำการแข่งขันครั้งนี้เข้มข้น ส่วนหนึ่ง เพราะคณะก้าวหน้า อีกส่วนมาจากรัฐธรรมนูญที่ทำให้ทุกคะแนนเสียงมีความหมาย
ด้าน พล.ต.อ.ดำรงศักดิ์ กิตติประภัสร์ รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ เปิดเผยว่า ได้จัดกำลังตำรวจ 120,000 นาย และชุดเคลื่อนที่เร็ว ในการรักษาความปลอดภัยดูแลการเลือกตั้งสมาชิกองค์การบริหารส่วนจังหวัด หรือ อบจ. จำนวน 97,000 คูหาทั่วประเทศ
เบื้องต้นได้รับรายงานการทำผิดเล็กน้อยใน จ.ชุมพร คือโพสต์จูงใจให้เลือกผู้สมัคร และ ที่จ.ตรัง พบการทำลาย ป้ายหาเสียง โดยทั้ง 2 พื้นที่ได้มีการแจ้งความดำเนินคดีแล้ว
ส่วนจังหวัดที่มีการแข่งขันสูง เนื่องจากมีผู้สมัครเป็นบุคคลมีชื่อเสียง และนักการเมืองหน้าเก่า ได้แก่ นนทบุรี, ปทุมธานี, เชียงใหม่, นครราชศรีมา, สกลนคร, น่าน, พิจิตร, กาญจนบุรี, นครศรีธรรมราช และ ตรัง จึงกำชับให้ตำรวจภูธรแต่ละจังหวัดเฝ้าติดตามสถานการณ์เป็นพิเศษ
อัปเดตข่าวล่าสุดก่อนใคร Add friend ได้ที่ @PPTVOnline