“ภูมิใจไทย” จี้ ก.คลัง รับหลักการร่างพ.ร.บ.กยศ.


โดย PPTV Online

เผยแพร่




“ภูมิใจไทย” ตั้งกระทู้สด ทวงถามร่างพ.ร.บ.กยศ. เผย กระทรวงศึกษาและกระทรวงอุดมศึกษา เห็นด้วยหมดแล้ว จี้ กระทรวงการคลัง รับหลักการค่อยมาแก้ไขวาระที่ 2

นายภราดร ปริศนานันทกุล สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จ.อ่างทอง พรรคภูมิใจไทย ตั้งกระทู้ถามสดถามนายกรัฐมนตรี เกี่ยวกับปัญหาเรื่องกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) โดยนายกรัฐมนตรีได้มอบหมายให้นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เป็นผู้ตอบกระทู้

“ภูมิใจไทย” ลั่น ไม่ถอยอีกแล้ว ย้ำ ต้องแก้รัฐธรรมนูญ ม.256 

โดยนายภราดร ตั้งคำถามว่า เนื่องจากกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา  เป็นปัญหามาอย่างยาวนาน ทำให้ผู้กู้ยืม และผู้ค้ำประกันได้รับความเดือดร้อน นอกจากนี้ทำให้รัฐบาลต้องเสียงบประมาณในการติดตามทวงหนี้ปีละประมาณกว่า 1 พันล้านบาท จากปัญหาดังกล่าว จึงมีความต้องการถามถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ว่า  

1.ทราบถึงปัญหาดังกล่าวหรือไม่ และมีแนวทางที่จะแก้ไขปัญหาอย่างไร

ทั้งนี้ นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รมว.คลัง กล่าวว่า กยศ. เปิดโอกาสให้ผู้กู้ยืมที่เรียนจบออกมาใช้เงินกู้ในระยะเวลา 15 ปี  หากไม่มีการชำระหนี้ให้กองทุนนั้น  ก็ต้องดำเนินคดีตามอายุความ และให้โอกาสทำสัญญาประนีประนอมความผ่อนชำระต่ออีก 9-15 ปี หากไม่มีการชำระ ก็จะมีการดำเนินคดี เพื่อไม่ให้หมดอายุความตามกำหนด โดยกองทุนจะงดการขายทอดตลาด และขยายให้ผ่อนชำระอีก 6 ปี และท้ายสุดหากไม่ชำระหนี้ได้ กองทุนก็จะขยายเวลาจนกว่าจะชำระหนี้ได้เสร็จสิ้น

นายภราดร ตั้งคำถามอีกว่า แนวทางปฏิบัติเดิม ๆ ของ กยศ. ทำให้เกิดปัญหาทางปฏิบัติให้รัฐต้องใช้เงินปีละเป็นพันล้านบาท เพื่อดำเนินคดีกับ ลูกหนี้ กยศ. มันใช่เรื่องหรือไม่ การแก้ปัญหาแบบต่อครั้ง ไม่สามารถแก้ปัญหาเชิงโครงสร้างได้ ปัญหาคือ พ.ร.บ. กยศ. เมื่อวันที่ 3 ธันวาคม 2562 ส.ส.พรรคภูมิใจไทย เสนอแก้ไขกฎหมาย 5 ประเด็น คือ 1.ดอกเบี้ยต้องเป็น 0% 2.ปลอดภาระผู้ค้ำประกัน ให้ผู้กู้ค้ำประกันตนเองได้  3.แปลงหนี้สินเป็นทุนการศึกษา ในกรณีที่ผู้กู้มีการเรียนเกียรตินิยมอันดับ1

เท่ากับเรียนฟรี  4.ทำงานให้รัฐ แลกกับเงินที่กู้มา เป็นระยะเวลาเท่าไหร่ก็ตกลงกัน และ5.หากจบการศึกษาในคณะที่เป็นศาสตร์พิเศษ ให้เรียนฟรีได้ ไม่ต้องชำระเงินกู้ให้ กยศ. จึงอยากทราบว่ากระทรวงการคลังมีหลักคิดอย่างไร

โดยนายอาคม ชี้แจงว่า ร่างกฎหมาย ที่พรรคภูมิใจไทย นำเสนอไปที่นายกรัฐมนตรี และยังไม่ได้พิจารณา เนื่องจากมีหลายประเด็น ซึ่งการแก้ไขปัญหาเรื่องหนี้ค้างชำระ ดอกเบี้ย หรือประโยชน์อื่น กองทุน กยศ.สามารถดำเนินการได้โดยแก้ไขระเบียบของกองทุนให้สอดคล้องกับพระราชบัญญัติ

“ขณะที่นายกฯ ยังไม่ลงนามให้การรับรอง เนื่องจากมีเหตุผลว่า 1.การแปลงหนี้เป็นเงินทุนเพื่อการศึกษา อาจจะส่งผลกระทบต่อการเงินของกองทุนกยศ. อาจจะต้องกลับไปพึ่งพางบประมาณแผ่นดิน 2.การมุ่งเน้นการแปลงหนี้เฉพาะผู้กู้ยืมเงินที่ศึกษาในระดับอุดมศึกษาอาจจะส่งผลให้เกิดความเหลื่อมล้ำกับผู้กู้ยืมเงินที่ศึกษาในระดับอื่นด้วย  ซึ่งในเรื่องนี้ คือการสร้างวินัยให้กับเด็กและเยาวชน 3.ส่วนที่ให้ทำงานกับรัฐ ควรจะคำนึงถึงรายได้ที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตหรือไม่ ไม่ใช่ทำงานเพื่อชดใช้หนี้เพียงอย่างเดียว และ พ.ร.บ. กยศ. ปี 2560 ได้ให้อำนาจคณะกรรมการกองทุน  ดำเนินการตามความยืดหยุ่นและเหมาะสม จึงยังไม่มีความจำเป็นที่จะต้องแก้ไขเพิ่มเติม พ.ร.บ. กยศ.” นายอาคม กล่าว

นายภราดร ถามอีกว่า หากยกหนี้ให้ทำให้เกิดปัญหากับกองทุน เพราะเป็นทุนหมุนเวียน ซึ่งทางเราไม่ได้สนับสนุนให้เบี้ยวหนี้ แต่เราบอกว่าอัตราดอกเบี้ยที่คิด 1%  มากเกินไป ไม่จำเป็นต้องคิดดอกเบี้ย เป็นบริการสาธารณะ และเรื่องการแปลงหนี้ เราต้องการแก้ไขให้เสมอภาค  การที่บอกว่ากลัวสถานะทางการเงินของกองทุน แต่เรื่องที่ใช้เงิน 1 พันล้านบาทต่อปี ไปฟ้องร้องคนกู้เงิน แบบนี้ไม่ใช่การใช้เงินฟุ่มเฟือยของกองทุน เมื่อเทียบกับการให้ทุนสำหรับผู้เรียนดี หรือนี่เป็นการสะท้อนแนวคิดกระทรวงการคลัง

“ขณะนี้มีหนังสือตอบกลับมาจาก สภาผู้แทนราษฎร ถึงพรรคภูมิใจไทย มี 4-5 หน่วยงานแล้ว เป็นเรื่องน่ายินดีว่า ได้ถามนอกรอบกับกระทรวงงศึกษาธิการ ตอบกลับมาว่าไม่ขัดกับตัวร่าง พ.ร.บ.ฉบับนี้ เพียงแต่มีเงื่อนไขบางประเด็นเท่านั้น ไม่มีปัญหาเลย รับในหลักการก่อน แล้วเข้าสู่ชั้นกรรมาธิการ ค่อยมาแก้ไขกัน กระทรวงอุดมศึกษาก็ไม่ขัดข้องเช่นเดียวกัน ทางกฤษฎีกา ก็บอกว่า แล้วแต่หน่วยงานอื่นจะเห็นอย่างไร วันนี้ต้องถาม กระทรวงการคลัง เพราะเหลือท่านเพียงกระทรวงเดียวแล้ว ว่าท่านเห็นความสำคัญของเรื่องนี้มากน้อยแค่ไหน ขอความกรุณาให้ความเห็นชอบ แล้วประเด็นที่ไม่ตรงกัน ให้มาแก้ไขที่นี่ ท่านเห็นใจประชาชนด้วย โควิดก็เข้ามาเล่นงานพวกเขา ขณะนี้ว่างงานไม่รู้กี่ล้านตำแหน่ง”

นายอาคม ชี้แจงสั้น ๆ เพียง ว่า ร่าง พ.ร.บ.กยศ. ของพรรคภูมิใจไทย นั้น มีความเห็นของแต่ละหน่วยงานมีข้อสังเกตที่จะต้องทำความเข้าใจ สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ให้ความเห็นว่า เป็นเรื่องของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และทางสมาชิกส่งร่างนี้มาที่กระทรวงการคลัง เพิ่งได้รับเมื่อไม่กี่วันนี้เอง กระทรวงการคลังต้องมีการหารืออีกครั้ง ระหว่างหน่วยงาน กระทรวงการคลัง ขอรับไปเพื่อดูความเห็นของหน่วยงานต่าง ๆ

“บิ๊กตู่” คาด เศรษฐกิจจะฟื้นตัว หลังโควิด-19 ยุติลง

 

 

 

TOP การเมือง
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ