"ชัยวุฒิ" เผย คุมเนื้อหาเพื่อกำจัดข่าวปลอม


โดย PPTV Online

เผยแพร่




รมว.ดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ที่ย้ำว่า ไม่ได้ต้องการปิดกั้นสื่อมวลชน แต่ต้องการจัดการข้อมูลข่าวสารที่เป็นเท็จ มองว่า การทำงานในยุคโควิดต้องรวดเร็ว ข้อกำหนดที่ออกโดยกฎหมายพิเศษจะทำให้การทำงานเร็วมากขึ้น

พีพีทีวี สัมภาษณ์พิเศษ นายชัยวุฒิ  ธนาคมานุสรณ์ รมว.ดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) อธิบายสาเหตุของการออกข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 พระราชกำหนดบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 (ฉบับที่ 29) ที่ถูกมองว่าเป็นยาแรงคุมสื่อ โดยบอกว่า จุดประสงค์ของการออกข้อกำหนดนี้ คือ ต้องการจัดการกับสื่อออนไลน์ หรือ บุคคล ที่มีการส่งต่อข้อมูลที่ไม่ตรงข้อเท็จจริง และ ข้อมูลเท็จ

กสทช. ยัน ข้อกำหนด ฉ.29 ไม่ปิดกั้น ไม่คุกคามเสรีภาพ เล่นโซเชียลได้ คุมแต่ข่าวสารโควิดบิดเบือน

“นายกฯ” สั่ง “ดีอีเอส” ตรวจสอบข่าวปลอมระบาด แนะ เช็กก่อนแชร์

 เช่น สร้างข่าวว่ามีคนตายข้างถนน หรือกล่าวหา นำเสนอข้อมูล วัคซีนบางยี่ห้อไม่ดี โดยไม่เสนอแง่บวก จนทำให้ประชาชนไม่ออกมาฉีดวัคซีน ซึ่งถือเป็นสิ่งไม่ดีและไม่เหมาะสม

ส่วนสาเหตุที่ต้องออกข้อกำหนดแยกมา เป็นเพราะ หากใช้ขั้นตอนปกติ จะทำให้ล่าช้า เนื่องจาก ต้องส่งเรื่องให้ ศาล ซึ่งใช้เวลา 1-2 สัปดาห์ เนื่องจากตามกฎหมายเปิดโอกาสให้ผู้เสียหายสามารถยื่นอุธรณ์ได้มองว่า ในสถานการณ์เร่งด่วน ต้องการปิดกั้นข้อมูลที่ไม่เหมาะสมทางอินเทอร์เน็ต การใช้อำนาจพิเศษจะทำให้ดำเนินการได้เร็วขึ้น

ส่วนประเด็นที่  6 องค์กรสื่อ มีการตั้งข้อสังเกตว่าการที่รัฐบาลออกข้อกำหนดนี้ ปิดกั้นการสื่อสารและต้องการควบคุมการสื่อสาร นายชัยวุฒิ ย้ำว่า  ไม่มีจุดประสงค์ปิดกั้นการทำงานของสื่อมวลชน ให้เหตุผลว่า ไม่มีรัฐบาลไหนอยากทะเลาะกับสื่อ แต่ที่ผ่านมามีการเผยแพร่ข้อมูลที่ไม่เหมาะสม ทำให้เกิดความตื่นตระหนก ทำให้ รัฐบาลดำเนินมาตรการควบคุมโรคได้ยาก จึงต้องยกระดับมาตรการ ส่วนจะใช้หรือไม่จะพิจารณาเป็นรายกรณี

สำหรับขอบเขตของคำว่า “ทำให้ประชาชนหวาดกลัว” ที่ถูกตั้งคำถามอย่างมากว่า ตีความได้กว้าง หมายถึงเรื่องใดบ้าง  นายชัยวุฒิ ยอมรับว่าอธิบายยากเพราะตอนนี้ยังไม่มีกรณีตัวอย่าง แต่ที่ชัดเจนที่สุด คือ การสร้างข่าวว่ามีคนตายข้างถนน ทั้งที่ความจริงไม่ตาย อันนี้อาจเข้าข่าย  ส่วนที่มีอาสากู้ภัย หรือ ประชาชน เผยแพร่ภาพข้อมูลช่วยเหลือคนป่วย หรือ กรณีพบคนป่วยข้างถนน นายชัยวุฒิ บอกว่า แบบนี้ทำได้ เพราะ  ประชาชนเดือดร้อน เป็นการช่วยเหลือ

กสทช.ยันไม่ก้าวก่ายสิทธิปชช.เล่นโซเชียล ตรวจเข้มเฉพาะข่าวบิดเบือน

พีพีทีวี สำรวจความเห็นของประชาชนกลุ่มหนึ่งย่านอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ สอบถามความเห็นเบื้องต้น เกี่ยวกับ ประเด็นความหวาดกลัวของประชาชน ว่าหากประชาชนพูดถึงความหวาดกลัวตอนนี้ กลัวอะไร

วินจักรยานยนต์รับจ้างย่านราชเทวี บอกว่า ความหวาดกลัวตอนนี้ คือ โรคโควิด และการขาดรายได้จากการล็อคดาวน์และยังเข้าไม่ถึงสิทธิ์เยียวยา ส่วนแม่ค้าขายยำที่อนุสาวรีย์ชัยสมภูมิบอกว่า ความหวาดกลัวคือ กลัวไม่มีเงินใช้จ่ายให้ครอบครัว และ กลัวโควิด เพราะที่อนุสาวรีย์ชัยสมภูมิ มีคนเสียชีวิตจากโควิดริมถนนมาหลายคนแล้ว

ขณะที่พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ช่วงนี้ไม่ค่อยให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนแบบเจอหน้ากัน เพราะ การประชุมทั้งหมดเป็นการประชุมออนไลน์ แต่เมื่อคืนที่ผ่านมา พล.อ.ประยุทธ์ อัดคลิปสัมภาษณ์ ตอบคำถามสื่อที่ส่งไปให้ ช่วงหนึ่งพล.อ.ประยุทธ์ ย้ำว่า ฝากถึงสื่อมวลชน ว่า ไม่เคยมีปัญหาอะไรกับสื่อทั้งสิ้น พร้อมย้ำว่า ตอนนี้ไม่คิดถอดใจลาออก หรือยุบสภา รวมถึงบอกอีกว่า นายกฯไม่เคยทิ้งงาน ทำทุกเรื่องไม่เฉพาะเรื่องโควิด  ยินดีที่จะทำงานตรงนี้ให้ดีที่สุด

6 องค์กรสื่อฯ ชี้ ข้อกำหนดการบริหารสถานการณ์ฉุกเฉิน กระทบต่อเสรีภาพสื่อ-ปชช.

สำหรับสาระสำคัญ ของการยื่นหนังสือ คือ องค์กรวิชาชีพสื่อมวลชน มองว่า ข้อความในข้อกำหนด เขียนไว้อย่างกว้าง ทำให้เกิดการตีความได้อย่างแพร่หลาย คือ การระบุว่า

เจ้าหน้าที่รัฐสามารถเอาผิดได้ หากพบว่า ข้อความใดอาจทำให้ประชาชนเกิดความหวาดกลัว ปราศจากหลักเกณฑ์หรือขอบเขตของการใช้อำนาจที่ชัดเจนมีการถกเถียงว่าหากข้อความที่นำเสนอเป็นข้อเท็จจริงแต่เกิดความหวาดกลัว จะเข้าข่ายความผิดด้วยใช่หรือไหม รวมถึงมองว่า การพิจารณาความหวาดกลัวต้องใช้วิจารณญาณ ซึ่งเจ้าหน้าที่รัฐแต่ละคนอาจตีความไม่เหมือนกัน

แนะ 6 วิธี ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม Work from home ลดเสี่ยงเป็นออฟฟิศซินโดรม

โปรแกรมถ่ายทอดสด โอลิมปิก 2020 ประจำวันที่ 31 กรกฎาคม 2564

TOP การเมือง
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ