ครม.เคาะงบสนับสนุนวิจัยพัฒนาวัคซีนโควิด ChulaCov19


โดย PPTV Online

เผยแพร่




ครม.เคาะงบสนับสนุนวิจัยพัฒนาวัคซีนโควิด ChulaCov19 และ วัคซีนใบยา ฝีมือคนไทย

น.ส.รัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 4 พ.ย. 2564 ว่า ครม.อนุมัติโครงการวิจัยและพัฒนาวัคซีนโควิด19 ChulaCov19 mRNA เพื่อทำการทดสอบทางคลินิกระยะที่ 3 และการผลิตเพื่อขึ้นทะเบียนวัคซีน เพื่อใช้ในภาวะฉุกเฉิน กรอบวงเงิน 2,316 ล้านบาท และเห็นชอบในหลักการโครงการวิจัยและพัฒนาวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 (Baiya) กรอบวงเงิน 1,309 ล้านบาท ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ และนวัตกรรม (อว.)

จุดเด่นวัคซีน ChulaCov-19 และ 4 แนวทางไทยมีวัคซีนอย่างน้อยหนึ่งชนิดของตนเองก่อนสงกรานต์ 65

วัคซีนจุฬาฯ ประสิทธิภาพใกล้เคียง “ไฟเซอร์-โมเดอร์นา”

โดยใช้จ่ายจากเงินกู้ภายใต้พระราชกำหนดกู้เงินเพิ่มเติมฯ พ.ศ.2564 มีรายละเอียดดังนี้

1.โครงการวิจัยและพัฒนาวัคซีนโควิด-19 “ChulaCov19 mRNA” กรอบวงเงิน 2,316 ล้านบาท มีวัตถุประสงค์เพื่อดำเนินการทดสอบวิจัยในอาสาสมัครระยะที่ 3 เพื่อใช้ในการขึ้นทะเบียนตามเกณฑ์ที่องค์การอาหารและยา (อย.) กำหนด และเพื่อการผลิตวัคซีนสำหรับทดสอบระยะที่ 3 และเตรียมการผลิตสำหรับขึ้นทะเบียนรับรองจาก อย.  ซึ่งจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการช่วยสร้างโครงสร้างพื้นฐานของการผลิตวัคซีนชนิด mRNA อย่างครบวงจร ทำให้ไทยสามารถผลิตวัคซีนโควิด-19 ใช้ได้เอง และสามารถต่อยอดเทคโนโลยีนี้สู่การผลิตวัคซีนสำหรับป้องกันโรคอื่นๆ รวมถึงโรคอุบัติใหม่ที่อาจเกิดขึ้นอีกในอนาคต ทั้งนี้ ที่ประชุมมอบหมายให้จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยดำเนินการกำหนดกลไกการกำกับติดตามและประเมินผลการดำเนินโครงการ เพื่อให้เกิดความโปร่งใสและสามารถตรวจสอบได้

วันหยุดปี 2565 รวมวันหยุดราชการ - วันหยุดธนาคาร เพิ่ม 4 วันหยุดพิเศษ ยังไม่มีวันหยุดประจำภาค

ส่องประวัติ "คูมธีคูมจิ" คู่จิ้นนักการเมืองที่กำลังมาแรงในด้อมคนรุ่นใหม่

2.โครงการวิจัยและพัฒนาวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 (Baiya (ผลิตจากใบยา) กรอบวงเงิน 1,309 ล้านบาท มีวัตถุประสงค์เพื่อวิจัยและพัฒนาวัคซีนโควิด-19 ในส่วนของการทดสอบในมนุษย์ระยะที่ 3 อาสาสมัครอย่างน้อย 10,000 คน ตามหลักเกณฑ์ของ อย. ซึ่งมีเป้าหมายหลักเพื่อให้ไทยสามารถผลิตวัคซีนโควิด-19 ได้ตั้งแต่ต้นน้ำด้วยตัวเอง และสามารถฉีดกระตุ้นภูมิให้ประชาชนคนไทยได้อย่างน้อย 60 ล้านโดสต่อปี โครงการนี้จะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการพัฒนาวัคซีนโควิด-19 ที่ผลิตในไทยและผ่านการทดสอบในระยะต่างๆ ตามเกณฑ์มาตรฐานสากล ส่งผลให้ไทยมีข้อมูลการวิจัยและพัฒนาวัคซีนในประเทศที่น่าเชื่อถือตามมาตรฐานสากล ทั้งนี้ ที่ประชุมมอบหมายให้จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเร่งจัดทำรายงานผลการทดสอบในมนุษย์ระยะที่ 2 ของวัคซีนใบยา เสนอสำนักงานสภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เพื่อเป็นข้อมูลเพิ่มเติมประกอบการพิจารณาอนุมัติงบประมาณตามขั้นตอนต่อไป

TOP การเมือง
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ