"ธรรมนัส" สวน นายกฯ MOUจะนะ ครม.รับรู้ทุกคน


โดย PPTV Online

เผยแพร่




เหตุการณ์การสลายการชุมนุม กลุ่มจะนะรักษ์ถิ่น ช่วงค่ำเมื่อวานที่ (6 ธ.ค.) หน้าทำเนียบรัฐบาลส่งผลให้ มีชาวจะนะ ถูกจับกุมและแจ้งข้อกล่าวหา รวม 36 คน และ ทำให้สังคมวิพากษ์วิจารณการสลายการชุมนุม เพราะ มองว่า การชุมนุมนี้ไม่ใช่การชุมนุมทางการเมือง แต่ถูกสลายการชุมนุมไม่ต่างจากสถานการณ์การเมือง ล่าสุดวันนี้ พล.อ.ประยุทธ์ ประยุทธ์ จันทร์โอชานายกรัฐมนตรี ชี้แจงเหตุผลการสลายชุมนุม โดยระบุว่า ได้รับรายงานมา ว่า มีกลุ่มอื่นเข้ามามั่วสุมรวมตัวกับชาวจะนะ

เหตุการณ์การสลายการชุมนุม กลุ่มจะนะรักษ์ถิ่น ช่วงค่ำเมื่อวานที่ (6 ธ.ค.) หน้าทำเนียบรัฐบาลส่งผลให้ มีชาวจะนะ ถูกจับกุมและแจ้งข้อกล่าวหา รวม 36 คน และ ทำให้สังคมวิพากษ์วิจารณ์การสลายการชุมนุม เพราะ มองว่า การชุมนุมนี้ไม่ใช่การชุมนุมทางการเมือง แต่ถูกสลายการชุมนุมไม่ต่างจากสถานการณ์การเมือง ล่าสุดวันนี้ พล.อ.ประยุทธ์ ประยุทธ์ จันทร์โอชานายกรัฐมนตรี ชี้แจงเหตุผลการสลายชุมนุม โดยระบุว่า ได้รับรายงานมา ว่า มีกลุ่มอื่นเข้ามามั่วสุมรวมตัวกับชาวจะนะ

“นิพนธ์” หนุนสร้างนิคมอุตสาหกรรมจะนะ ชี้ คนในพื้นที่ 90 % เห็นด้วย

โฆษกรัฐบาล ปัดนายกฯ สั่งสลาย “ม็อบจะนะ” ชี้ จนท.ปฏิบัติตามกฎหมาย หลังผู้ชุมนุมฝ่าฝืนพ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ

พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชานายกรัฐมนตรี พูดถึงเหตุผลที่ตำรวจต้องสลายการชุมนุมของกลุ่มจะนะรักษ์ถิ่น ว่า ได้รับรายงานว่ามีคนมาชุมนุมมั่วสุมเพิ่มเติม และตามกฎหมายการชุมนุมจะต้องห่างจากสถานที่ราชการ 150 เมตร แต่กลุ่มจะนะรักษ์ถิ่น ชุมนุมอยู่ติดรั้วทำเนียบรัฐบาลเลย

หากย้อนเหตุผลที่ ชาวจะนะรวมตัวกันปักหลักหน้าทำเนียบรัฐบาล ครั้งนี้ เป็นเพราะ มาทวงสัญญา ที่รัฐบาลเคยให้ไว้ว่าจะ เปิดให้มีการทำประชาพิจารณ์และเรียกร้องให้แก้ปัญหาเรื่องนิคมอุตสาหกรรมจะนะ ตามที่เสนอไป ประเด็นนี้ พล.อ.ประยุทธ์  บอกว่า กระบวนการในพื้นที่อยู่ในขั้นตอนประชาพิจารณ์ ให้หน่วยงานเข้าไปรับฟัง  เมื่อถามย้ำกับพล.อ.ประยุทธ์ ว่า ชาวจะนะ ทวงคำสัญญาที่ทำข้อตกลงกันไว้ 3 ข้อ  พล.อ.ประยุทธ์ จะดำเนินการอย่าง

ปรากฎว่า พล.อ.ประยุทธ์ ถามกลับสื่อมวลชนที่ถามว่า "ใครตกลง" เมื่อบอกว่า การตกลงกันครั้งก่อน คนที่ตกลง คือ "ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า" อดีต รมช.เกษตรและสหกรณ์พล.อ.ประยุทธ์ ถามกลับว่า "ผมตกลงหรือยัง ครม.ตกลงหรือยัง" พร้อมระบุว่า หลังจากนี้จะให้ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ หรือ ศอ.บค. และรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เข้าไปดูแล ว่าเกิดอะไรขึ้นและจะแก้ไขปัญหาอย่างไร

ด้าน ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า อดีต รมช.เกษตรและสหกรณ์ โต้กลับพล.อ.ประยุทธ์ ว่า ตัวเองไม่ได้เป็นคนให้สัญญากับชาวจะนะ แต่ ที่ทำไปทั้งหมด ทำในนาม คณะตรวจสอบข้อเท็จจริงซึ่งพล.อ.ประยุทธ์ เป็นคนแต่งตั้ง ซึ่งเมื่อทำงานจบก็เสนอเรื่องให้พล.อ.ประยุทธ์ รับทราบแล้ว หากจะถามว่า ครม. รับทราบไหม ยืนยันว่ารับทราบ พร้อมย้ำว่า วันที่นำเรื่องเข้าคณะรัฐมนตรี ในที่ประชุมถกเถียงกันเกือบชั่วโมง

อีกคนที่ออกมาพูดเรื่องนี้ หลังการประชุมคณะรัฐมนตรี คือ นายนิพนธ์ บุญญามณี รมช.มหาดไทย โดยวันนี้ตอบทุกคำถาม และประกาศชัดเจนว่า สนับสนุน ให้เกิดนิคมอุตสาหกรรมจะนะ นายนิพนธ์ เปรียบเปรยว่า ตนเองก็เป็นลูกชาวประมง แต่คงไม่มีครอบครัวไหน อยากให้ลูกจบการศึกษาแล้ว เป็นชาวประมงทุกคน และมั่นใจว่า คนส่วนใหญ่ในพื้นที่ อำเภอจะนะ 80 -90 เปอร์เซนต์ เห็นด้วยกับการสร้างนิคม มีเพียงผู้คัดค้านเท่านั้นที่พูดไม่รู้เรื่อง 

 ส่วนข้อครหา ว่า นายนิพนธ์ เป็นนายหน้ารวบรวมที่ดินจะนะ ทำให้สนับสนุนโครงการ วันนี้นายนิพนธ์ ไม่ปฎิเสธ พร้อมระบุว่า เคยแนะนำคนที่อยากซื้อและอยากขายให้ได้เจอกัน  นอกจากนี้ยังย้ำว่า การขายที่ดินทำได้ไม่ผิดกฎหมาย เพราะ ไม่มีการกดดัน หรือ บีบบังคับ

ด้าน น.ส.ไครียะห์ ระหมันยะ เครือข่ายจะนะรักษ์ถิ่น วันนี้อ่านแถลงการณ์ ยืนยัน ข้อเรียกร้อง 3 ข้อ โดระบุว่า ขอให้รัฐบาลตรวจสอบการดำเนินงานของศูนย์อำนวยการบริหารราชการจังหวัดชายแดนใต้ หรือ ศอ.บต. จัดให้มีการศึกษาในเชิงยุทธ์ศาสตร์ หรือ SEA แบบมีส่วนร่วมโดยจะต้องออกแบบคณะศึกษาให้เป็นที่ยอมรับของทุกฝ่ายและ ในระหว่างนี้ขอให้ยุติการดำเนินโครงการนิคมอุตสาหกรรมจะนะจนกว่า ข้อเรียกร้อง 2 ข้อ จะสำเร็จ

 น.ส.ไครียะห์ มองว่า รัฐบาลทำผิดสัญญา เพราะในพื้นที่ ยังมีการเคลื่อนไหวของกลุ่มศอ.บต.และกลุ่มทุน ที่พยายามเดินหน้าในการจัดทำโครงการส่วนการสลายการชุมนุมเมื่อวานนี้ (6 ธ.ค.) น.ส.ไครียะห์ ยืนยันว่า จะเดินหน้าคัดค้านและกลับมาชุมนุมหน้าทำเนียบอีก

สำหรับเหตุการณ์สลายการชุมนุมที่เกิดขึ้น เมื่อวานนี้ ถูกวิจารณ์อย่างหนักว่า เหมือนกับการสลายการชุมนุมทางการเมือง ทั้งที่เรื่องที่ชาวบ้านเรียกร้อง เป็นเรื่องสิ่งแวดล้อมซึ่งหากไล่เรียงเหตุการณ์ พบว่า กลุ่ม จะนะรักษ์ถิ่น อ่านแถลงการณ์ตามสิ่งที่เรียกร้องฉบับที่ 1 ตอน 15.00 น. และปักหลักอยู่ในพื้นที่ จากนั้น 21.00น. มีตำรวจเข้าพื้นที่ พร้อมรถผู้ต้องขัง 2 คัน ผ่านไป 10 นาที มีการประกาศให้สื่อมวลชนและประชาชนที่ไม่เกี่ยวข้องกับการชุมนุมออกนอกพื้นที่ โดย ตร.ใช้ไฟฉาย ส่องมายังสื่อมวลชน และ 21.30น. ตำรวจเข้าสลายการชุมนุม ให้เหตุผลว่า การชุมนุมเข้าข่าย ฝ่าฝืน พ.ร.ก.ฉุกเฉิน

TOP การเมือง
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ