เปิดไทม์ไลน์ก่อนวันเลือกตั้งผู้ว่าฯกทม. ครั้งแรกในรอบ 9 ปี


โดย PPTV Online

เผยแพร่




ปฎิทินการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ที่ครั้งนี้คนกรุงเทพฯรอคอยมานานกว่า 9 ปี

นับเป็นครั้งแรกในรอบ 9 ปี ที่คนกรุงเทพมหานครจะได้ออกมาใช้สิทธิ์เลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร และสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร (ส.ก.) ในวันอาทิตย์ที่ 22 พ.ค. 2565 ที่จะถึงนี้  เราย้อนไปครั้งสุดท้ายที่คนกรุงเทพฯ ได้หย่อนบัตรเลือกตั้ง คือ เมื่อวันที่ 3 มี.ค. 2556 ครั้งนั้นเราได้ผู้ว่าฯ กทม. ชื่อ ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ตัวแทนจากพรรคประชาธิปัตย์ ชนะการเลือกตั้งเป็นสมัยที่ 2 ด้วยคะแนนเสียงที่ 1,256,349 คะแนน เป็นผู้ว่าฯ กทม.คนที่ 15

เปิดสโลแกน 5 ว่าที่ผู้สมัครเลือกตั้งผู้ว่าฯกทม.

กกต.เคาะวันเลือกตั้ง “ผู้ว่าฯกทม.-นายกฯเมืองพัทยา” 22 พ.ค.นี้

 

แต่ก่อนจะครบวาระสมัยที่สอง กลับถูก พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้า คสช.ใช้อำนาจ ม.44 ออกคำสั่งปลด "ม.ร.ว.สุขุมพันธ์" พร้อม 4 รองผู้ว่าฯ กทม. และตั้ง "พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง" ทำหน้าที่แทนมีผลทันที เมื่อ 18 ต.ค. 2559 จากนั้นคนกรุงเทพฯ ก็ว่างจากการเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม.มายาวนาน

"ชัชชาติ สิทธิพันธุ์" ผู้สมัครอิสระ ชูนโยบาย PDGE แก้ปัญหากทม.

ประวัติ “สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์” จากอธิการบดีสจล. กระโดดสู่สนามเลือกตั้งผู้ว่าฯกทม.

วันนี้เราไปไล่เรียงไทม์ไลน์ในการเลือกตั้งกรุงเทพมหานครในครั้งนี้  เมื่อวันที่ 8 มี.ค. 2565 ที่ผ่านมา ที่ประชุม ครม.มีมติเห็นสมควรอนุมัติการเลือกตั้งกรุงเทพมหานคร จากนั้น 25 มีนาคม กกต.ประกาศให้มีการจัดการเลือกตั้ง ต่อมาวันที่ 28 มีนาคม ผอ.กกต.ท้องถิ่น ประกาศให้มีการเลือกตั้ง และในวันนี้ 31 มี.ค. – 4 เม.ย. กำหนดให้เป็นวันรับสมัครรับเลือกตั้ง 

จากนั้นวันที่ 11 เม.ย.จะเป็นวันประกาศรายชื่อผู้สมัครทั้งหมด ตามมาตรา 52 วันที่ 26 เม.ย. ประกาศบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้ง 6 พ.ค. จะเป็นวันสุดท้ายส่งหนังสือแจ้งเจ้าบ้าน 11 พ.ค. วันสุดท้ายในการเพิ่มชื่อ ถอนชื่อ

ส่วนวันที่ 15-21 พ.ค.จะเป็นวันแจ้งเหตุที่ไม่อาจไปใช้สิทธิเลือกตั้ง ซึ่งจะเป็นการแจ้งก่อนการเลือกตั้งจริง โดยวันอาทิตย์ที่ 22 พ.ค.จะเป็นวันที่ผู้มีสิทธิ์ออกมาใช้สิทธิ์เลือกตั้ง ตั้งแต่เวลา 08.00 – 17.00 น. เมื่อปิดหน่วยเลือกตั้งแล้ว จะทำการนับคะแนนที่หน่วยเลือกตั้ง และส่งผลการนับคะแนนไปให้ กกต.ประจำท้องถิ่นกรงเทพมหานคร รวบรวมรายงานผู้อำนวยการ กกต.ประจำกรุงเทพมหานคร สำหรับผู้ที่ไม่ได้ไปสิทธิ์เลือกตั้งสามารถแจ้งอีกครั้งหลังวันเลือกตั้งได้ในวันที่ 23-29 พ.ค.

สำหรับการแบ่งเขตเลือกตั้ง กทม. ใช้เขตกรุงเทพฯ เป็นเขตเลือกตั้งทั้งหมด 50 เขต รวม ส.ก. 50 คน และมี ผู้ว่าฯ กทม. 1 คน การลงคะแนนเลือกตั้งครั้งนี้ ไม่เพียงแต่เลือกผู้ว่าฯ กรุงเทพ แต่ยังมีการเลือกสมาชิกสภากรุงเทพมหานครด้วย โดยจะใช้บัตรลงคะแนน 2 ใบ เป็นบัตรลงคะแนนเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. 1 ใบ และลงคะแนนเลือก ส.ก. 1 ใบ โดยใช้สีบัตรแตกต่างกัน

ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครจะมีวาระอยู่ในตำแหน่งคราวละ 4 ปี นับแต่วันเลือกตั้ง แต่จะดำรงตำแหน่งติดต่อกันไม่เกิน 2 วาระ กรณีดำรงตำแหน่งไม่ครบ 4 ปี ก็ให้ถือว่าเป็น 1 วาระ และเมื่อดำรงตำแหน่ง 2 วาระติดต่อกันแล้ว จะดำรงตำแหน่งได้อีกเมื่อพ้นระยะเวลา 4 ปี นับแต่วันพ้นตำแหน่ง สำหรับอายุของสมาชิกสภากรุงเทพมหานครมีกำหนดคราวละ 4 ปี นับแต่วันเลือกตั้ง

ประวัติ “วิโรจน์ ลักขณาอดิศร” ทิ้งเก้าอี้ส.ส.ลงชิงผู้ว่าฯกทม.

ประวัติ “รสนา โตสิตระกูล” อดีตส.ว. เปิดตัวลงสนามชิงเก้าอี้ผู้ว่าฯกทม.

ใครที่มีสิทธิ์ในการเลือกตั้งครั้งนี้ก็อย่าลืมออกไปใช้สิทธิ์ เราไม่ได้เลือกตั้งมายาวนานถึง 9 ปีแล้ว ครั้งนี้จะเป็นการวัดพลังคนกรุงเทพฯ ว่า ยังศรัทธาผู้สมัครที่มาจากพรรคการเมือง หรือจะเลือกผู้สมัครอิสระที่ครั้งนี้ ต่างคนต่างมีนโยบายมาแก้ปัญหาฝันร้ายของคนกรุงที่สะสมมานาน ท่องไว้ให้ขึ้นใจ 22 พ.ค.นี้ อย่าลืมไปใช้สิทธิ์ให้คุ้มค่ากับที่รอคอย

PR - ตารางคะแนน-2_B PR - ตารางคะแนน-2_B
TOP การเมือง
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ