“อัศวิน ขวัญเมือง" ไม่ได้ไปต่อ แต่ !! กรุงเทพต้องไปต่อ


โดย PPTV Online

เผยแพร่




จึงหมายความว่า คนเมืองกรุงยังไม่คลิก กับตัวนโยบายของ ร.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง ใช่หรือไม่

ติดตามผลเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. ได้ที่นี่ >>> คลิก <<<

“กรุงเทพต้องไปต่อ” นี่เป็นวลีแรก ของ พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง หลังตัดสินใจลงสมัคร สู้ศึกเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. ปี 65 ในนามอิสระ  มาถึงตอนนี้ พล.ต.อ.อัศวิน ได้ออกมายอมรับในความพ่ายแพ้เป็นที่เรียบร้อยแล้ว 

ตัวเองมาติดตามผลคะแนนตั้งแต่ตอนบ่าย ซึ่งเรายังตาม นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ อยู่เยอะ 

“กัญชา กัญชง” พ้นบัญชียาเสพติด 9 มิ.ย. นี้ อยากปลูกแจ้งผ่านแอปฯ “ปลูกกัญ”

ก.แรงงาน ลงนาม MOU 3 ม. “มีงาน มีเงิน มีวุฒิ”

นั้นจึงหมายความว่า คนเมืองกรุงยังไม่คลิก กับตัวนโยบายของ พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง ใช่หรือไม่ 

แม้วันนี้จะเป็นเพียง “อดีตผู้ว่าฯ กทม.” ไปแล้ว แต่ตลอดระยะเวลาที่เดินหน้าเสียง เป็นเวลา 90 วัน ได้ชูนโยบายจนหมดแม็ก 

 

เพราะความหมายของการไปต่อ คือ “ไปต่อจากที่ทำไว้แล้ว ” ที่เป็นนโยบายหลัก 8 ด้าน

  1. ไปต่อ เพื่อแก้ไขปัญหาน้ำท่วม เพราะอยากเห็น  “เมืองกรุงเทพฯ” มีจุดเสี่ยงน้ำท่วมที่ลดลง  ซึ่งลดไปแล้วจาก 24 จุด เหลือ 9 จุด และจะลดต่อ ด้วยวิธีที่ตนมีประสบการณ์

 

  1.  ไปต่อ เพื่อสร้างความสะดวกในทุกการเดินทาง เพราะอยากเห็น “คนกรุงเทพฯ คนเดินเท้าปลอดภัย ระบบขนส่งมวลชนสะดวกและสร้างความเชื่อมโยง 

 

  1.  ไปต่อ เพื่อส่งเสริมสุขภาพที่ดีให้กับ “คนเมือง” และระบบการรักษาที่มีคุณภาพมากขึ้น เพราะอยากเห็น “เมืองกรุงเทพฯ” มีที่รักษาพยาบาลใกล้บ้านและครอบคลุมทุกพื้นที่ ดูแลทุกคนอย่างเท่าเทียม

 

  1. ไปต่อ เพื่อสร้างสิ่งแวดล้อมเมืองที่ดี เพราะอยากเห็น “เมืองกรุงเทพฯ”  เพิ่มพื้นที่สีเขียว จัดการขยะที่ต้นทาง มีคลองสวยน้ำใส

 

  1. ไปต่อ เพื่อทำกรุงเทพฯ ให้เป็นเมืองแห่งการเรียนรู้ เพราะอยากเห็น “ลูกหลานและคนกรุงเทพฯ” มีความพร้อมสมบูรณ์ทั้งกายและใจในวัยเด็ก เมื่อโตขึ้น จะได้รับการศึกษาทั้งทักษะอาชีพและความรู้พร้อมกันไป

 

  1. ไปต่อ เพื่อเติมเต็มความปลอดภัยให้กับคนเมือง เพราะอยากเห็น “เมืองกรุงเทพฯ มีอาชญากรรมลดลง และมีการเตรียมพร้อมขจัดภัยพิบัติ

 

  1. ไปต่อ เพื่อเชื่อมกรุงเทพฯ สู่เมืองดิจิทัล เพราะอยากเห็น “คนกรุงเทพฯ” ได้รับบริการจากหน่วยงานราชการของกรุงเทพฯ ที่โปร่งใสเชื่อมโยงและรวดเร็ว

 

  1. ไปต่อ เพื่อดูแลคนทุกกลุ่มทุกวัย เพราะอยากเห็นบริการและสวัสดิการชุมชนทั่วถึง 

 

แม้วันนี้จะไม่ไปต่อ แต่ยังมีผลงาน ให้ชาวกรุงได้เห็นเป็นที่ประจักษ์ โดยตลอดระยะเวลาที่ดำรงตำแหน่งของ ผู้ว่าฯ อัศวิน ตลอดระยะเวลา 5 ปี กทม.เคยอู้ฟู่ถึง 5.4 แสนล้าน

หากย้อนกลับไปพิจารณางบประมาณ กทม. ตลอด 5 ปี นับแต่ปี 2559- 2565 ข้อมูลจากเว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา จำแนกดังนี้

 

ปี 2559 งบประมาณ กทม. 70,424 ล้านบาท

ปี 2560 งบประมาณ กทม. 75,635 ล้านบาท

ปี 2561 งบประมาณ กทม. 79,047 ล้านบาท

ปี 2562 งบประมาณ กทม. 80,445 ล้านบาท

ปี 2563 งบประมาณ กทม. 83,398 ล้านบาท

ปี 2564 งบประมาณ กทม. 76,451 ล้านบาท

ปี 2565 งบประมาณ กทม. 79,885 ล้านบาท

“นายกฯ” ใช้สิทธิเลือกตั้งผู้ว่า กทม. พร้อมเชิญชวนประชาชนมาใช้สิทธิ

ประชาชนตื่นตัว ใช้สิทธิเลือกตั้ง ผู้ว่าฯ กทม.-ส.ก.ในรอบ 9 ปี

ยอมรับสู้ นายชัชชาติ ไม่ได้ เป็นสิ่งที่ประชาชนตัดสินใจเลือก และตัวเองก็ให้เกียรติประชาชนที่เลือกคนที่ถูกใจ และเข้าใจพวกเขา หลังจากนี้เชื่อว่า นายชัชชาติ จะชนะ 100%  ขอขอบคุณทุกคะแนน ทุกแรงใจ

คลองสวย น้ำใส สวนสาธารณะ ปอดใหญ่ของคนกรุง

  1. การพัฒนาพื้นที่คคลองโอ่งอ่าง จากเดิมถูกรุกล้ำทำเป็นตลาดสะพานเหล็ก เมื่อ กทม.เข้าไปพัฒนาพื้นที่นั้นแล้ว จึงได้เปิดเป็นถนนคนเดินคลองโอ่งอ่างยามเย็น ซึ่งเปิดอย่างเป็นทางการในวันลอยกระทง 2563
  2. สวนสาธารณะคลองช่องนนทรี ที่เปิดใช้งาน ธ.ค.64 โดยให้ประชาชนเข้าไปผ่อนหย่อนใน เป็นสวนบนเกาะกลางถนนย่านสาธร
  3. สวนลอยฟ้าเจ้าพระยา ที่ใช้โครงสร้างของรถไฟฟ้าลาวาลินในอดีต มาปรับปรุงให้เป็นสวนขนาบไปกับสะพานพุทธยอดฟ้า เปิดใช้งาน มิ.ย.63

 

กทม. เดินทางฉลุย พัฒนาระบบขนส่งสาธารณะ

  1. กทม.ภายใต้ ผู้ว่าฯ อัศวิน ได้เปิดให้บริการเรือไฟฟ้า เส้นทางคลองผดุงกรุงเกษม  ตั้งแต่ท่าเรือสถานีรถไฟหัวลำโพง ถึงท่าเรือตลาดเทวราช ครอบคลุมเขตพระนครเขตดุสิต เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย และเขตปทุมวัน เปิดใช้งาน พ.ย.65
  2. การเปิดบริการรถไฟฟ้าส่วนต่อขยายสายสีเขียว ช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการ เปิดให้บริการ เม.ย.60 และส่วนต่อขยายสายสีเขียว ช่วงหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต เปิดให้บริการ ธ.ค.63 และโครงการระบบขนส่งมวลชนขนาดรองสายสีทอง ระยะที่ 1 (สถานีรถไฟฟ้ากรุงธนบุรี-สถานีคลองสาน) โดยเปิดให้บริการช่วง ธ.ค.63

 

สายไฟฟ้าลงดิน เพื่อความสวยงามของเมืองหลวง  

                  โครงการนำสายสื่อสารหรือสายไฟฟ้าลงดิน 21 เส้นทาง ถือเป็นอีก 1 ผลงานที่ ผู้ว่าฯ อัศวิน ดำเนินการไว้  อาทิ ถนนราชปรารภ ถนนพหลโยธินและถนนลาดพร้าว ถนนรัชดาภิเษกถึงถนนพระราม 9 ถนนรัชดาภิเษกถึงถนนอโศก ถนนพระราม 4 ถนนพระราม 3 ถนนจรัญสนิทวงศ์ ถนนวิทยุ ถนนนานาเหนือ ถนนชิดลม

 

สร้างแก้มลิง น้ำท่วมกรุง รอการระบาย

             ผู้ว่าฯ อัศวิน ได้ผลักดันโครงการ ก่อสร้างแก้มลิงใต้ดิน Water Bank หรือ ธนาคารน้ำใต้ดินแล้วเสร็จ จำนวน 2 จุด จุดแรกอยู่ที่บริเวณวงเวียนบางเขน อีกจุดอยู่ที่บริเวณปากซอยสุทธิพร 2 ดินแดง ทั้งหมดนี้ เป็นผลงานของ ผู้ว่าอัศวิน ช่วงเวลา 5 ปี 5 เดือน

อย่างไรก็ดี ปัญหา กทม. ที่ผู้ว่าฯ คนใหม่ ต้องเร่งสะสางโดยด่วน !!!

 

“น้ำรอการระบาย” ฝนตกเพียงไม่กี่ชั่วโมง มหานครแห่งนี้ ก็เกิดน้ำท่วมขังเสียแล้ว ทำให้การสัญจรไปมาของประชาชนเป็นไปด้วยลำบาก

 

ถนนไม่เรียบ แผ่นปูนปิดไม่สนิท  ผิวจราจรบนถนนในกรุงเทพมหานครส่วนใหญ่ มักพบว่ามีแผ่นปูนขนาดใหญ่ปิดไม่สนิท ทำให้พื้นผิวไม่เรียบ ถนนบางช่วงมีลักษณะนูนขึ้นมาคล้ายเนิน ทำให้ประชาชนที่สัญจรไปมาต้องเบี่ยงหลบ มีความเสี่ยงที่จะเกิดอุบัติเหตุ ทำให้ผู้ที่สัญจรไปมาต้องใช้ความระมัดระวังเป็นพิเศษ

 

รถติดหนักมาก  ชาวกรุงต้องเผชิญกับปัญหารถติดทุกวัน หลังเลิกงานทุกคนต่างใช้ชีวิติอยู่บนท้องถนน มีรายงานจากเว็บไซต์ “TOMTOM” ได้เผยข้อมูลการจราจร ปี 2564 จาก 404 เมืองทั่วโลก ว่า คนกรุงเทพฯ เสียเวลาบนท้องถนน 71 ชม.ต่อปี ซึ่งเป็นอันดับ 74 ของโลก และอันดับ 17 ของทวีปเอเชีย

 

หาบเร่แผงลอย  ทางเท้าในพื้นที่ กทม. มักเต็มไปด้วยแผงขายสินค้า โดยเฉพาะทางขึ้น-ลง รถไฟฟ้าบีทีเอสและรถไฟใต้ดิน ถือเป็นทำเลทองให้กับพ่อค้าแม่ค้า มาจับของพื้นที่ขายของในช่วงเย็น เนื่องจากผู้คนสัญจรพลุกพล่าน นอกจากนี้ ยังมีแผงขายสินค้า ยังมีวินรถจักรยานยนต์รับจ้างใช้ทางเท้าเป็นที่จอดรถรับ-ส่ง ผู้โดยสาร ซึ่งเป็นอีกหนึ่งปัญหาทางเท้าของ กทม.

ขยะล้นในคลองสาธารณะ   ขยะพลาสติก ที่นอน ของใช้ภายในบ้านเรือน วัชพืชต่างๆ ถูกนำมาทิ้งไว้ตามลำคลอง ส่งผลให้เกิดการกีดขวางการระบายน้ำ หรือท่อตันทำให้เกิดปัญหาน้ำท่วมขัง ส่งกลิ่นเหม็นไปทั่ว กระทบปัญหาสุขภาพชาวกรุงมาเป็นระยะเวลานาน

สายไฟฟ้าระโยงระยาง  สายไฟฟ้ากับสายสื่อสาร ระโยงระยาง จะเห็นได้ว่าสายไฟฟ้าบางจุด พาดผ่านหน้าต่างบ้านเรือนของประชาชน บางจุดมีต้นไม้ปกคลุม นาน ๆ ครั้งเจ้าหน้าที่จะมาตัดต้นไม้ หากสายไฟฟ้ากับสายสื่อสารเสื่อมสภาพ ก็จะเกิดเพลิงไหม้ได้

เพราะคนกรุงเทพอยากไปต่อ ดังนั้นปัญหาทั้งหมดที่เล่ามานี้ ถือเป็นโจทย์ใหญ่ ที่ผู้ว่าฯ กทม.คนใหม่ ต้องเข้ามาแก้ไข พร้อมทั้งต้องทำตามคำมั่นสัญญาที่ให้ไว้ ให้เห็นเป็นที่ประจักษ์แก่สายตาเร็วๆ นี้  

TOP การเมือง
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

ขณะนี้ มีรายการกำลังถ่ายทอดสด คุณสนใจหรือไม่?

POP NEWS

POP NEWS

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ