ย้อนอดีตผู้ว่าฯ กทม. 5 สมัย กับเรื่อง "พื้นที่สีเขียว"


โดย กทม. ในมุมมองคนรุ่นใหม่

เผยแพร่




ส่องนโยบาย “พื้นที่สีเขียว” ของอดีตผู้ว่าฯ กทม. 5 สมัย มีผลงานอะไรบ้าง มีสวนสาธารณะเพิ่มขึ้นกี่แห่ง และปรับแต่งอะไรไปบ้าง

“พื้นที่สีเขียว” นับเป็นเรื่องสำคัญที่หลายคนจับตามองกันมากขึ้น โดยเฉพาะในกรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็นเมืองใหญ่ที่มีผู้คนอาศัยอยู่กันมากและหนาแน่นที่สุดในประเทศ เพราะพื้นที่สีเขียวเปรียบเสมือนกับ “ปอดใหญ่ของเมือง” ทำให้เราได้สูดอากาศสะอาด ได้สัมผัสธรรมชาติมากขึ้น นอกจากนี้ยังช่วยลดความร้อน และมลพิษต่าง ๆ ได้ด้วย ดังนั้นยิ่งมีมากขึ้น ก็ยิ่งดี

ทำไม“พื้นที่สีเขียว”ถึงเป็นปัญหาสำคัญ ที่คนกรุงอยากให้ผู้ว่าฯเร่งแก้ไข

ส่องนโยบายพัฒนาพื้นที่สีเขียว ผู้ลงสมัครผู้ว่าฯ กทม.

แต่เมื่อพูดถึง พื้นที่สีเขียว และ ผู้ว่าฯ กทม. จะต้องนึกถึง 5 บุคคลเหล่านี้ที่มีผลงานเกี่ยวกับพื้นที่สีเขียวมากที่สุดตั้งแต่ผู้ว่ารุ่นที่ 11 ตั้งแต่ปี 2535 จนถึงผู้ว่ารุ่นที่ 16 คนปัจจุบัน ในปี 2565 มีสวนสาธารณะเพิ่มมากขึ้นกี่แห่ง ปรับแต่งอะไรในกรุงเทพมหานครไปบ้าง ทีมข่าวนิวมีเดียพีพีทีวี ร่วมกับ  คณะนิเทศศาสตร์ สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ ได้รวบรวมข้อมูลมา ดังนี้

 

1. ร.อ.กฤษฎา อรุณวงษ์ ณ อยุธยา

ดำรงตำแหน่ง : วันที่ 2 มิถุนายน 2539 – 1 มิถุนายน 2543

  • สร้างสวนสาธารณะเพิ่ม
  • สร้างสวนป่าที่เป็นธรรมชาติแท้ 8 แห่ง
  • สร้างสวนสร้าง โดยหน่วยงาน กทม. 3 แห่ง
  • สร้างสวนสร้าง โดยหน่วยงาน กทม. และอื่น ๆ อีก  5  แห่ง

2. นายพิจิตต รัตตกุล

ดำรงตำแหน่ง : วันที่ 2 มิถุนายน 2539 – 1 มิถุนายน 2543

  • สร้างสวนสาธารณะ
  • ปลูกต้นไม้ 400,000 ต้น
  • สร้างสวนเฉลิมพระเกียรติฯ ร่วมกับหน่วยงานอื่น

3. นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน

ดำรงตำแหน่ง : วันที่ 29 สิงหาคม 2547-28 สิงหาคม 2551 และ วันที่ 9 ตุลาคม 2551-19 พฤศจิกายน 2551

  • เปลี่ยนที่รกร้างเป็นสวนสาธารณะ
  • ปลูกต้นไม้ 10 ล้านต้น
  • สร้างสวนสาธารณะทั้งหมด 9 แห่ง

4. ม.ร.ว.สุขุมพันธ์ บริพัตร

ดำรงตำแหน่ง : วันที่ 14 มกราคม 2552-9 มกราคม 2556 และ วันที่ 29 มิถุนายน 2556 – 18 ตุลาคม 2559

  • เพิ่มสวนสาธารณะขนาดใหญ่
  • สร้างสวนสาธารณะ 13 แห่ง
  • เพิ่มพื้นที่สีเขียว 5,000 ไล่

5. พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง

ดำรงตำแหน่ง : วันที่ 18 ตุลาคม 2559 – 24 มีนาคม 2565

  • ถนนต้นไม้อัตลักษณ์ด้วยพันธุ์ไม้ 9 สายหลัก
  • เพิ่มพื้นที่สีเขียวในสวนสาธารณะ รถไฟฟ้า ริมทาง 10 ตารางเมตร/คน

จากนโยบายพื้นที่สีเขียวของอดีตผู้ว่าฯ กทม. ทั้งหมด ทำให้ผลสำรวจในปี 2564 กทม.มีพื้นที่สวนสาธารณะ ในความรับผิดชอบของสำนักสิ่งแวดล้อม และสำนักงานเขตต่าง ๆ รวม 8,644 แห่ง มีขนาด 40,296,782.42 ตารางเมตร

โดยมีสวนสาธารณะที่มีพื้นที่ใหญ่ที่สุด 5 อันดับแรก ได้แก่

  1. สวนศูนย์กีฬาบึงหนองบอน ถนนเฉลิมพระเกียรติ ร.9 แขวงหนองบอน เขตประเวศ 644 ไร่
  2. สวนหลวง ร.9 ถนนเฉลิมพระเกียรติ ร.9 แขวงหนองบอน เขตประเวศ 500 ไร่
  3. สวนวชิรเบญจทัศ ถนนกำแพงเพชร 3 แขวงลาดยาว 375 ไร่
  4. สวนลุมพินี ถนนพระราม 4 แขวงวังใหม่ 360 ไร่
  5. สวนเสรีไทย ถนนเสรีไทย แขวงคลองกุ่ม 208 ไร่

อย่างไรก็ตาม เมื่อคิดอัตราส่วนพื้นที่สีเขียวทั้งหมดต่อประชากรจำนวน  5,666,264 คน จะมีอัตราส่วนอยู่ที่ 7.11 ตารางเมตร/คน แต่หากนับรวมประชากรแฝงด้วย จะเหลือ 3.54 ตารางเมตร/คน เท่านั้น ซึ่งต่ำกว่าที่องค์การอนามัยโลก (WHO) กำหนดไว้ 9 ตารางเมตร/คน

คงจะต้องติดตามต่อไปว่า เมื่อผู้ว่าฯคนใหม่ “ชัชชาติ สิทธิพันธุ์” เข้ามาดำรงตำแหน่งแล้ว คนกรุงจะได้มีพื้นที่สีเขียวผ่านเกณฑ์มาตรฐานโลกหรือไม่ เพราะนโยบายที่ของเขา ทั้งการเน้นการพัฒนาพื้นที่ร่วมกับภาคเอกชน โดยใช้มาตรการทางภาษีที่ดิน และสาธารณะต้องเดินถึงภายใน 15 นาที และการเพิ่มการมีส่วนร่วมกับภาคเอกชน ประชาชน หาพื้นที่ว่างให้ประชาชนช่วยกันปลูกต้นไม้ โดยจะตั้งเป้าให้ช่วยกันปลูกล้านต้น ต่างน่าสนใจไม่ใช่น้อย

 

ขอบคุณข้อมูลจาก : คณะนิเทศศาสตร์ สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์

 

214 นโยบาย "ผู้ว่าฯ ชัชชาติ" ว่าที่พ่อเมืองคนใหม่ของคน กทม.

รู้หรือไม่! อำนาจหน้าที่ของ “ผู้ว่าฯ กทม.-ส.ก.” ต่างกันอย่างไร

TOP การเมือง
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ