กางนโยบายอดีตผู้ว่าฯกทม. กับการจัดสรรงบเพื่อเยาวชนและปัญหาที่ยังกวนใจ?


โดย กทม. ในมุมมองคนรุ่นใหม่

เผยแพร่




ส่องนโยบายอดีตผู้ว่า ฯ กทม. 3 สมัย จัดสรรงบประมาณเพื่อเยาวชนอย่างไร พร้อมเผยผลสำรวจปัญหากวนใจที่อยากให้ผู้ว่าฯคนใหม่ เร่งแก้ไขมากที่สุด

ผ่านมาแล้ว กับเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร และ สมาชิกสภากรุงเทพมหานคร (ส.ก.) ซึ่งครั้งนี้มีกลุ่ม New Voter ที่เป็นกลุ่มเยาวชน Gen Z ราว ๆ 6-7 แสนคน คิดเป็นร้อยละ 16 ของผู้มีสิทธิเลือกตั้งทั้งหมด นับว่าเป็นอีกกลุ่มหนึ่งที่สำคัญไปไม่น้อยกว่ากลุ่มอื่น ๆ เพราะต้องยอมรับว่ากลุ่มนี้ก็เป็นกำลังสำคัญของกรุงเทพมหานคร

แต่เดิมนั้น กลุ่มเยาวชนในกรุงเทพมหานคร ได้รับการจัดสรรงบประมาณในเรื่องใดบ้าง และยังมีปัญหากวนใจใดที่อยากให้ผู้ว่าฯ คนใหม่เร่งแก้ไข 

ย้อนอดีตผู้ว่าฯ กทม. 5 สมัย กับเรื่อง "พื้นที่สีเขียว"

“นายกฯ” ขอคนไทยช่วยกันประหยัดพลังงาน ใช้รถยนต์ส่วนตัวเท่าที่จำเป็น

 

ทีมข่าวนิวมีเดียพีพีทีวี ร่วมกับ คณะนิเทศศาสตร์ สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ ได้รวบรวมข้อมูลที่น่าสนใจ มาดังนี้

ฐานข้อมูลการเลือกตั้ง บนเว็บไซต์ wevis.info ระบุถึงนโยบายของ 3 อดีต ผู้ว่าฯ กทม. ที่ใช้ดูแลกลุ่มเยาวชน ซึ่งมีความแตกต่างกัน 

'ธรรมนัส' เผย พรรคไม่แตก-จ่อนั่งหัวหน้าพรรคเศรษฐกิจไทย

ที่ปรึกษาอนามัยโลกคาด “ฝีดาษลิง” อาจระบาดหนักเพราะ “เพศสัมพันธ์”

สมัย นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน

ดำรงตำแหน่ง : วันที่ 29 สิงหาคม 2547-28 สิงหาคม 2551 และ วันที่ 9 ตุลาคม 2551-19 พฤศจิกายน 2551

โดย สมัยนายอภิรักษ์ มุ่งส่งเสริมการเรียนรู้ให้กับเยาวชนที่มีทักษะในด้านกีฬา และชอบออกกำลังกาย โดยจัดตั้งศูนย์เยาวชนกีฬา กทม. 3 แห่ง ได้แก่ 1.) โรงเรียนวิชูทิศ เขตดินแดง 2.) โรงเรียนนาหลวง เขตทุ่งครุ และ 3.) โรงเรียนกีฬาแห่งที่ 3 ณ ศูนย์กีฬาเฉลิมพระเกียรติ 72 พรรษา

สมัย หม่อมราชวงศ์สุขุมพันธ์ บริพัตร

ดำรงตำแหน่ง : วันที่ 14 มกราคม 2552-9 มกราคม 2556 และ วันที่ 29 มิถุนายน 2556 – 18 ตุลาคม 2559

ถัดมาอีกสมัยเป็นของ หม่อมราชวงศ์สุขุมพันธุ์ บริพัตร มีนโยบายที่มุ่งพัฒนาให้กับเยาวชน คือ มุ่งสร้าง และส่งเสริมพื้นที่ให้กับเยาวชนได้มีพื้นที่สำหรับการแสดงออก และโชว์ ความสามารถ เช่น หอศิลป์ เพื่อส่งเสริมให้เยาวชนเห็นความสำคัญของศิลปวัฒนธรรมไทย และเป็นแหล่งเรียนรู้ทางด้านต่าง ๆ ปัจจุบันตั้งอยู่ที่สี่แยกปทุมวัน กรุงเทพฯ

รวมไปถึงบ้านหนังสือ ซึ่งเป็นห้องสมุดขนาดเล็ก ที่ให้เยาวชนเข้ามาศึกษาแหล่งเรียนรู้ใน ชุมชนได้อย่างทั่วถึง ปัจจุบันเปิดให้บริการแล้ว 116 แห่ง จำนวน 8 ชุมชน ได้แก่ 1.) ชุมชนทรัพย์สินใหม่ 2.) ชุมชนริมคลองพลับพลา 3.) ชุมชนท่าน้ำสามเสน4.) ชุมชนสิตาราม 5.) ชุมชนหลังตลาดเก่าวัดพระยาไกร 6.) ชุมชนวัดอินทร์บรรจง 7.) ชุมชนทรัพย์สินพัฒนา และ 8.) ชุมชนหลัง ตลาดเจริญนคร

สมัย พลตำรวจเอกอัศวิน ขวัญเมือง

ดำรงตำแหน่ง : วันที่ 18 ตุลาคม 2559 – 24 มีนาคม 2565

ปิดท้ายด้วยคนล่าสุดอย่าง พลตำรวจเอกอัศวิน ขวัญเมือง มีนโยบายในการดูแลเยาวชน คือ มุ่งพัฒนาสวัสดิภาพด้านการศึกษา โดยเพิ่มค่าอาหารกลางวันโรงเรียน กทม. ทุกแห่ง ในระดับชั้นอนุบาล ถึงมัธยมศึกษาปีที่ 6 วันละ 40 บาท อีกทั้งได้เพิ่มค่าอาหารกลางวันให้เด็ก นักเรียนในสังกัดจำนวน 437 แห่ง คนละ 25 บาทต่อวัน และนักเรียนระดับชั้นอนุบาล ถึง ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จัดสรรค่าอาหารกลางวันสมทบเพิ่มอีกคนละ 4 บาท/วัน จาก ที่ได้รับเงินอุดหนุนรัฐบาล 21 บาท รวมเป็น 25 บาท/วัน

นอกจากนี้ยังเพิ่มหลักสูตรฝึกอาชีพในโรงเรียน เช่น ช่างเสริมสวย อาหารว่าง แฟชั่น ดีไซน์ รวมไปถึงโครงการทุนเอราวัณ ที่เป็นทุนการศึกษาเรียนฟรีในระดับปริญญาตรีเพื่อ จบกลับมาบรรจุเป็นครู กทม. พร้อมกับเปิดหลักสูตรภาควิชาบรรเทาสาธารณภัย มหาวิทยาลัยนวมินราธิราช เด็ก และเยาวชนกับพื้นที่สร้างสรรค์ใน กทม.

 

พื้นที่สร้างสรรค์” ความสนใจที่แท้จริงของเยาวชน

แต่สิ่งที่เยาวชนในปัจจุบันมีความสนใจ แท้คือ พื้นที่สร้างสรรค์ หรือพื้นที่ศิลปะ ซึ่งเป็นพื้นที่ที่สามารถให้เยาวชนเข้ามาแสดงตัวตน รวมไปถึงการแสดง ความสามารถที่ตัวเองชอบ เช่น การเล่นกีฬา เล่นดนตรี เต้น Cover Dance แสดงผลงานด้านศิลปะ พบปะสังสรรค์ และอื่น ๆ

 เนื่องจากวัยนี้เป็นวัยที่กล้าแสดงออก ชอบในความท้า ทายสิ่งใหม่ ๆ อยู่ตลอดเวลา หากมีพื้นที่เหล่านี้ จะเปิดโอกาสให้เยาวชนเข้าถึงพื้นที่ สร้างสรรค์เพิ่มมากขึ้น จากนโยบายของผู้ว่าทั้ง 3 สมัยย้อนหลังพบว่า ยังไม่มีใครที่ให้ความสำคัญเกี่ยวกับพื้นที่สร้างสรรค์มากนัก

ส่องงบประมาณปี 65 ของเยาวชนในเมืองใหญ่

ในการจัดสรรงบประมาณ ล่าสุดของกรุงเทพมหานครในปี 2565 ในการสร้างพื้นที่ แสดงออก หรือพื้นที่กิจกรรมเพื่อเยาวชน พบว่า งบประมาณกรุงเทพมหานครในปีนี้ได้ถูกจัดสรรเกี่ยวกับพื้นที่สร้างสรรค์ให้กับเยาวชน ซึ่งอยู่ในแผนงานส่งเสริมวัฒนธรรรม จำนวนเงิน 86,258,232 บาท โดยมีส่วนที่เกี่ยวข้องและส่งเสริมกับเยาวชน 2 ส่วน ดังนี้

1. ในด้านส่งเสริมศิลปะ และอนุรักษ์วัฒนธรรมไทย จำนวนเงิน 24,151,817

  • โครงการร่วมชมและเชิดชูคุณค่างานศิลปวัฒนธรรมอุดมศึกษา ครั้งที่ 20 เพื่อให้นักศึกษา และบุคลากร ภาคภูมิใจในแบบแผนวัฒนธรรมอันดีงามของไทย คงสืบสานไว้ในคุณค่าและความสำคัญ แห่งสุนทรียภาพด้านศิลปวัฒนธรรม
  • โครงการดูแลรักษามรดกศิลปวัฒนธรรมของชาติ เพื่อสร้างจิตสำนึกความเป็นเจ้าของวัฒนธรรม และร่วมกันปกป้อง พัฒนา โบราณสถาน หรือแหล่งมรดกทางศิลปวัฒนธรรมที่มีคุณค่าให้คงอยู่ต่อไป
  • หอศิลป์กรุงเทพมหานคร จำนวนเงิน 1,204,285 บาท โดยมีโครงการสนับสนุนพื้นที่การแสดงสำหรับศิลปินสาขาศิลปะการแสดง ที่หอศิลปกรุงเทพฯ (PAP 2021) เพื่อให้เยาวชนที่เข้ามาแสดงผลงาน รวมไปถึงเยาวชนหรือประชาชนที่เข้ามาชม เข้ามาพบปะ แลกเปลี่ยน ซึ่งนับเป็นการถ่ายทอดและการเรียนรู้วิธีหนึ่ง
  • โครงการนิทรรศการ CITY ADAPTATION Lab เพื่อนำเสนอความคิดทางด้านศิลปะ ที่จัดขึ้นในหลากหลายรูปแบบ เป็นการสะท้อนถึงปัญหาและการปรับตัวในด้านต่าง ๆ ต่อมา

2. ในส่วนของแผนงานส่งเสริมนันทนาการและการกีฬา จำนวนเงิน 1,111,287,848 บาท โดยมีส่วนที่เกี่ยวข้องและส่งเสริมกับเยาวชน 3 ส่วน ดังนี้

ส่วนที่หนึ่ง ศูนย์กีฬา ศูนย์เยาวชน และลานกีฬา จำนวนเงิน 471,008,414 บาท โดยมีโครงการลานกิจกรรม “Outdoor For Activities” ส่งเสริมการออกก าลังกาย ลดเครียด ช่วงโควิด-19 เพื่อส่งเสริมให้เยาวชนหันมาออกกำลังกาย และผ่อนคลายความเครียดในช่วง ที่มีโรคระบาด ผ่านการทำกิจกรรมต่าง ๆ ในลานกิจกรรมที่ได้จัดสรรไว้

ส่วนที่สอง ส่งเสริมการเรียนรู้ตามอัธยาศัย จำนวนเงิน 224,652,170 บาท โดยมีโครงการส่งเสริมนิสัยรักการอ่าน เตรียมพร้อมหอสมุดเมืองกรุงเทพฯ และห้องสมุดเพื่อการ เรียนรู้ดุสิต เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต ส่งเสริมการอ่านและค้นคว้าด้วยตัวเอง รวมทั้งเป็นแหล่งส่งเสริมความบันเทิง การอ่านจึงเป็นการส่งเสริมคุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชน

ส่วนที่สาม ส่งเสริมกิจกรรมเด็ก เยาวชนและประชาชน จำนวนเงิน 104,636,730 บาท โดยมีโครงการส่งเสริมเยาวชนดีเด่นกรุงเทพมหานคร (ประกายเพชร) ครั้งที่ 17 เพื่อ เปิดโอกาสให้เยาวชนที่มีผลงานหรือกิจกรรมที่ดีเด่น ได้ส่งผลงานเข้ามาเพื่อถูกคัดเลือกให้เป็นเยาวชนดีเด่นของกรุงเทพมหานคร

ดังนั้นแล้ว กทม. ควรจะพิจารณาให้งบประมาณในการสนับสนุนอย่างเหมาะสม เพื่อให้เกิดพื้นที่สร้างสรรค์และพื้นที่แสดงออกของเยาวชน ที่เปิดพื้นที่ให้เข้าถึงได้อย่างแท้จริง เป็นการสนับสนุนศักยภาพในด้านต่าง ๆ ของเยาวชนทำให้คนรุ่นใหม่ได้ลองเรียนรู้ เริ่มต้นในสิ่งที่ชอบ

 

ทางเท้า-ค่าครองชีพ-อาชญากรรม” อีกปัญหาที่เยาวชนอยากให้เร่งแก้

ทีมข่าวนิวมีเดียพีพีทีวี ร่วมกับคณะนิเทศศาสตร์ สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ ได้จัดทำแบบสำสำรวจความคิดเห็นคน Gen Z เกี่ยวกับการใช้งบประมาณของกรุงเทพมหานคร ว่าต้องการนำงบไปพัฒนาในส่วนไหนมากที่สุด พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามทั้ง 400 คน ในช่วงอายุ 18-25 ปี มีความเห็นว่า นอกจากปัญหาพื้นที่สร้างสรรค์หรือพื้นที่แสดงความสามารถยังมีปัญหาอื่น ๆ ที่เยาวชนอยากให้เร่งแก้ไขมากที่สุด 3 อันดับ ได้แก่

1. ปัญหาทางเท้า เห็นด้วยจำนวน 326 คน

สาเหตุหลักเกิดจากทางเท้าไม่เรียบ ซึ่งหากเดินไม่ระวังอาจจะมีการสะดุดล้มได้ หรือบางกรณียัง พบเห็นรถจักรยานยนต์สัญจรบนทางเท้า ซึ่งอาจเป็นจุดเสี่ยงที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุได้

2. ปัญหาค่าครองชีพ เห็นด้วยจำนวน 312 คน

เนื่องจากค่าใช้จ่ายที่เพิ่มสูงขึ้น แต่ฐานรายได้ยังคงที่หรืออาจปรับเพิ่มไม่มากนัก ทำให้ผู้คนต้องหันมาตระหนักกับการใช้จ่าย และอาจกลายเป็นปัญหาที่กระทบต่อเศรษฐกิจในระยะยาวได้

3. ปัญหาอาชญากรรม เห็นด้วยจำนวน 300 คน

แม้ว่าจะมีการติดตั้งกล้องวงจรปิด มีไฟฟ้าส่องสว่าง แต่ก็ยังมีบางพื้นที่เกิดเหตุอาชญากรรมอยู่บ่อยครั้ง เพราะเป็นจุดอับสายตา ไฟฟ้าเข้าไม่ถึง หรือเป็นซอยเปลี่ยว ทำให้เกิดอันตรายได้ทุกเมื่อ

ทั้งนี้ ความคิดเห็นของผู้ตอบแบบสอบถาม จำนวน 153 คน จาก 400 คน ยังไม่เชื่อมั่นในผู้ว่าฯกทม.คนใหม่ ว่าจะสามารถเข้ามาช่วยแก้ไขปัญหาด้านต่าง ๆ ได้จริง ส่วนอีก 112 คน ยังเชื่อมั่นต่อผู้ว่าฯ กทม.คนใหม่ ขณะที่ 135 คน ยังมีความรู้สึกเฉย ๆ กับการเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม.ในครั้งนี้

เยาวชนจะได้มีพื้นที่แสดงออกหรือทำกิจกรรมของตัวเอง และกรุงเทพมหานครจะเปลี่ยนไปเป็น “กรุงเทพฯที่น่าอยู่” สำหรับทุกคนได้หรือไม่นั้น คงจะต้องติดตามกันต่อไปว่าผู้นำความหวังคนใหม่ “ชัชชาติ สิทธิพันธุ์” จะทำให้คนกรุงกลับมามีความหวังได้หรือไม่

รู้หรือไม่! อำนาจหน้าที่ของ “ผู้ว่าฯ กทม.-ส.ก.” ต่างกันอย่างไร

ย้อนประวัติ “ชัชชาติ สิทธิพันธุ์” ว่าที่ผู้ว่าฯ กทม.คนที่ 17

TOP การเมือง
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ