เปิดทุกมิติทุจริตไทย มากสุดมาจากไหน และใครอำนาจอนุมัติสูงสุด ?


โดย PPTV Online

เผยแพร่




เนื้อร้ายคอร์รัปชั่นในสังคมไทยไม่ใช่ปัญหาของคนเฉพาะกลุ่ม และจะกลายเป็นชนวนทำลายประเทศชาติได้ในอนาคต

คอร์รัปชั่นในสังคมไทยไม่ใช่ปัญหาของคนเฉพาะกลุ่ม และจะกลายเป็นชนวนทำลายประเทศชาติได้ในอนาคต หากไม่ช่วยกันป้องกัน สอดส่อง  พบเห็นแล้วนิ่งเฉย หรือยอมได้ถ้าโกงแต่ก็ทำประโยชน์ให้ประเทศ ซึ่งเรื่องการทุจริตคอร์รัปชั่นที่เกิดขึ้นทุกวันนี้ ได้พอกพูนขึ้นและหนึ่งในช่อโหว่ให้เกิดการทุจริตได้ง่าย คือ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ซึ่งมีงบประมาณลงไปในพื้นที่ต่อปี ราว 8 แสนล้านบาท

ป.ป.ช. แก้ปัญหาทุจริตภายใต้กรอบเอเปค ปี 65

ป.ป.ช.ดึงเอกชนสร้างเครือข่ายปราบโกง

ตรวจหวย - ผลสลากกินแบ่งรัฐบาล งวดวันที่ 1 สิงหาคม 2565 ลอตเตอรี่ 1/8/65

 

ช่องโหว่ “งบประมาณทำโครงการ อปท.” จุดวิกฤตทุจริตคอร์รัปชั่น

ดร.มานะ นิมิตรมงคล เลขาธิการองค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน (ประเทศไทย) เล่าถึงประเด็นที่สามารถทำให้เกิดทุจริตได้ว่า เนื่องจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีอำนาจมาก ทำให้เกิดช่องโหว่การโกงกินในพื้นที่ตัวเอง จนกลายเป็นวิกฤตอยู่ในปัจจุบัน คือ การสมรู้ร่วมคิดกับผู้ที่มาประมูลงานโครงการ ในลักษณะจ่ายใต้โต๊ะ ฮั้วะประมูล แต่ที่ร้ายแรงกว่านั้น คือ กรณีที่ผู้ที่มีอำนาจในระดับสูงมีส่วนเกี่ยวข้องชี้เป้าลดลัดขั้นตอนการประมูลโครงการ โดยใช้มีอิทธิพลอยู่เบื้องหลัง ยกตัวอย่างคดีที่มีมูลค่าสูงเช่น คดีฟุตซอล คดีเกี่ยวกับโซล่าเซลล์ ซึ่งมีส่วนน้อยมากที่โครงการจะถูกวางแผนเพื่อตอบสนองความต้องการของชุมชนในท้องถิ่นอย่างแท้จริง

 

พบ 1 ใน 3 จาก 8 – 9 พันเรื่อง คนร้องทุจริตในองค์กรปกครองท้องถิ่น

ดร.มานะ รู้สึกถึงความกังวลใจ ในการคอรัปชั่นเมื่อดูจากข้อมูลการร้องเรียนเข้ามาสำนักงานคณะกรรมการป้องกัน และปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ  (ป.ป.ช.)  พบว่า การคอรัปชั่นในส่วนของท้องถิ่นมีตัวเลขที่ร้องเรียน อยู่ที่ 8 – 9 พันเรื่อง โดย 1 ใน 3 ของการร้องเรียน เป็นเรื่อง การทุจริตในองค์กรปกครองท้องถิ่น ดร.มานะ ย้ำว่าประเด็นที่ทำให้เกิดการร้องเรียนมากที่สุด คือ การทำผิดกฏหมาย ของเจ้าหน้าที่ ที่ปฏิบัติหรือหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ รองลงมาคือการทุจริตในโครงการจัดซื้อจัดจ้าง ดร.มานะ ย้ำว่า “ เพราะฉะนั้นพฤติกรรมคอร์รัปชันในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจึงมีเยอะ และก็มีหลากหลายรูปแบบ เป็นที่รู้เห็นกันทั่วไป ”

 

พฤติกรรมพบบ่อยสุด ใช้เงินหลวงในกิจกรรมส่วนตัว

 ‘นำเงินหลวงไปใช้ส่วนตัว’ ผ่านขั้นตอนกระบวนการที่เรียกว่า ‘โครงการจัดซื้อจัดจ้าง’ กลยุทธ์ที่มักจะพบบ่อย เป็นช่องโหว่ที่ง่ายที่สุด  ซึ่งมาในรูปแบบ นำใบเสร็จมูลค่าเกินจริง ทำการส่งเบิก

"ศรีสุวรรณ" ร้อง กกต.ยุบพรรคเล็ก รับเงินลงมติซักฟอก

ขึ้นแล้ว แก๊สหุงต้ม กิโลกรัมละ 1 บาท ด้านค่าไฟรอลุ้นเคาะราคาใหม่

 

งบประมาณปีละ 8 แสนล้าน ของ อปท. อำนาจอยู่ที่ใคร ?

แม้ว่าการทุจริตมีหลายรูปแบบและซับซ้อนที่แตกต่างกัน ในส่วนของระบบงานภายในท้องถิ่น ซึ่งมีงบประมาณสูงถึง 8 แสนล้านบาทต่อปี  และ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท) มีอำนาจ อนุมัติในการลงทุนของเอกชน จึงกลายเป็นก้อนงบประมาณที่ใช้ในการรีดไถ เรียกรับ ส่วย สินบน เงินใต้โต๊ะจำนวนมหาศาล ส่งผลให้มีกลุ่มเอกชนจำนวนไม่น้อย พยายามขอใบอนุญาตเพื่อให้ได้มีส่วนร่วมในโครงการจัดซื้อจัดจ้างท้องถิ่น และเข้าไปมีส่วนในงบประมาณ 8 แสนล้านบาทนี้ ซึ่งกลยุทธ์ของเอกชน คือ เพิ่มต้นทุนของวัสดุอุปกรณ์ที่แพงกว่าความเป็นจริงระบุเข้าไปในรายละเอียดเพื่อให้ได้อยู่ในโครงการจัดซื้อจัดจ้างที่จะเสนอ ซึ่งพบว่าทั่วประเทศใช้วิธีการนี้ คิดออกมาเป็นต้นทุนที่บวกเข้าไปรวมๆ แล้ว  ราว 240,000 ล้านบาท หรืออยู่ที่ 30%  โดยกระจายไปอยู่ทุกส่วนของหน่วยงานที่มีการอนุมัติให้ภาคเอกชนดำเนินการ “ตัวเลขนี้มันกระจายกันไปทั่วประเทศ แต่ตัวเลขที่ไม่เห็น คืออำนาจในการออกใบอนุญาตอนุมัติที่หน่วยงานต่างๆ

 

ผลกระทบของระบบอุปถัมป์และการใช้อำนาจเพื่อแต่งตั้งโยกย้าย

นอกจากการจัดซื้อจัดจ้างจะเป็นปัญหาที่พบได้ง่ายในการทุจริตแล้ว ยังมีอีกหนึ่งชนวนสำคัญของการคอรัปชั่น คือ พฤติกรรมวิ่งเต้นเส้นสาย  ใช้อำนาจในการแต่งตั้งโยกย้ายเพื่อให้ได้รับการบรรจุเป็นบุคลลากรภายใน บ่อเกิดให้บุคคลกรเหล่านั้นมาแสวงหาผลประโยชน์จากโครงการของรัฐ ไม่ว่าจะเป็นการก่อสร้างถนนที่ไร้คุณภาพ การบริหารจัดการขยะส่วนท้องถิ่นที่ด้อยประสิทธิภาพ และกระทบต่อประชาชนโดยตรง

 “เงินสินบนเหล่านี้ที่เกิดขึ้น สุดท้ายมันทำให้คนกระทำผิด หรือถ้าคนที่ไปค้าขายกับหน่วยเหล่านี้ ไปสร้างถนน สร้างสะพาน พวกนี้จะไปทำให้ประชาชนได้ของไม่มีคุณภาพ ได้ของไม่ดี”   ดร.มานะทิ้งท้าย

 

ปราบคอร์รัปชันอันดับหนึ่งต้องอาศัยผู้นำ

“จะปราบคอร์รัปชันอันดับหนึ่งต้องอาศัยผู้นำ ผู้นำต้องจริงใจในการที่จะแก้ไขปัญหาคอร์รัปชัน และตัวหลักต้องไม่ใช่กฎหมาย เพราะมีกฎหมายมากเท่าไหร่ พวกกลโกงเขาก็จะสามารถเล็ดลอด หาช่องว่าง หาอภินิหารของกฎหมายมากเท่านั้น”

 

ให้ประชาชนตื่นตัวและมีส่วนร่วมในการ “ตรวจสอบ”

ดร.มานะ จึงเสนอทางแก้เพิ่มเติมว่า การให้ประชาชนมีส่วนร่วมของการตรวจสอบ ส่งเสริมความรู้ และความตื่นตัวในภาคประชาชนจะช่วยได้  เนื่องจากระบบราชการไทยคือความล้าสมัยไม่ได้เปิดเผยข้อมูลอย่างแท้จริงนำมาซึ่งความสับสนในขั้นตอนของการตรวจสอบ ซึ่งยังเป็นปัญหาใหญ่

อ่วม! ฝนตกหนัก น้ำท่วม รพ.อ่างทอง ญาติผู้ป่วยลุยน้ำทุลักทุเล

ตรวจสลากออมสินพิเศษ 2 ปี และสลากออมสินพิเศษดิจิทัล 2 ปี งวดวันที่ 1 สิงหาคม 2565

ประเทศไทยจะมีหน่วยงานที่รับหน้าที่ตรวจสอบ อย่าง สตง. หรือ ป.ป.ช. แต่ด้วย จำนวนทุจริตและข้อจำกัดของหน่วยงานก็มีมากเช่นกัน หากระบบราชการไทยเริ่มใช้เทคโนโลยีทำให้โครงสร้างและกลไกโปร่งใส ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการตรวจสอบ ตอนนั้นประเทศไทยจะสามารถควบคุมคอรัปชั่นได้

 

TOP การเมือง
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ