รู้จักโควิด-19 กลายพันธุ์ 3 ชนิดที่โลกกำลังจับตามอง


โดย PPTV Online

เผยแพร่




โลกจับตาโควิด-19 พันธุ์กลาย 3 ชนิด คือจากอังกฤษ แอฟริกาใต้ และไนจีเรีย หวั่นระบาดหนัก-ลดประสิทธิภาพวัคซีน หนึ่งในนั้นคือพันธุ์กลาย “B.1.1.7” ซึ่งล่าสุดพบในประเทศไทยแล้วจากครอบครัวชาวอังกฤษ และได้รับการควบคุมอยู่ใน ASQ

อัปเดต สถานการณ์โควิด-19 ล่าสุด 3 ม.ค. 2564

“หมอยง” เผย โควิด-19 สายพันธุ์อังกฤษกลายพันธุ์ พบในไทยแล้ว

ในช่วงไม่ถึงเดือนที่ผ่านมา โลกให้ความสนใจกับการกลายพันธุ์ของโควิด-19 เป็นพิเศษ เพราะอาจส่งผลให้การแพร่ระบาดเป็นไปได้ง่ายขึ้น

และในขณะที่ไทยกำลังกังวลกับการระบาดระลอกใหม่ของโควิด-19 ในต่างประเทศเองก็กำลังกังวลเกี่ยวกับการกลายพันธุ์ของเชื้อโควิด-19 หลังค้นพบโควิด-19 พันธุ์กลายที่ต้องจับตามองถึง 3 สายพันธุ์ คือจากอังกฤษ แอฟริกาใต้ และไนจีเรีย

โควิด-19 พันธุ์กลายอังกฤษ “VOC-202012/01” หรือ “B.1.1.7”

เป็นเชื้อโควิด-19 ที่เกิดการกลายพันธุ์บางส่วน ในความเป็นจริงถูกตรวจพบครั้งแรกตั้งแต่เดือนตุลาคม แต่เริ่มแพร่กระจายอย่างรวดเร็วช่วงกลางเดือนธันวาคมที่ผ่านมา

จากการศึกษาเบื้องต้นพบว่า โควิด-19 พันธุ์กลาย B.1.1.7 นี้ทำให้มีอัตราการติดเชื้อโควิด-19 ที่สูงขึ้นกว่าเดิม หลัก ๆ เกิดจากการกลายพันธุ์ที่ตำแหน่ง N501Y ทำให้โปรตีนหนาม (Spiked Protein) ซึ่งเป็นส่วนของไวรัสที่สัมผัสกับพื้นผิวของเซลล์ในร่างกายของเราเปลี่ยนแปลงไป ไวรัสจึงสามารถเกาะที่เซลล์ของมนุษย์ได้ง่ายขึ้น

นอกจากในอังกฤษที่พบผู้ติดเชื้อโควิด-19 พันธุ์กลายนี้นับพันรายแล้ว ปัจจุบัน หลายสิบประเทศก็พบผู้ติดเชื้อโควิด-19 พันธุ์กลาย B.1.1.7 แล้วเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็น เดนมาร์ก เนเธอร์แลนด์ สเปน สวิตเซอร์แลนด์ อิตาลี ออสเตรเลีย อิตาลี ฝรั่งเศส ฟินแลนด์ สวีเดน เยอรมนี แคนาดา เลบานอน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ อินเดีย และสิงคโปร์

พบโควิด-19 “B.1.1.7” การกลายพันธุ์ครั้งใหม่ในอังกฤษ

ญี่ปุ่น-ฝรั่งเศส พบผู้ติดเชื้อโควิด-19 พันธุ์กลายจากอังกฤษ

โควิด-19 พันธุ์กลายแอฟริกาใต้ “501.V2”

เมื่อวันที่ 18 ธันวาคม ที่ผ่านมา กระทรวงสาธารณสุขแอฟริกาใต้ประกาศว่า นักวิทยาศาสตร์ได้ค้นพบโควิด-19 พันธุ์กลายใหม่ที่เรียกว่า 501.V2

โดยจากการศึกษาเบื้องต้นพบว่า โควิด-19 พันธุ์กลายตัวนี้สามารถจู่โจมคนหนุ่มสาวที่อาจมีสุขภาพไม่ดีได้ง่ายขึ้น และบางรายแสดงอาการเจ็บป่วยรุนแรงขึ้น

สาธารณสุขแอฟริกาใต้เชื่อว่า โควิด-19 พันธุ์กลาย 501.V2 เป็นสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดการระบาดระลอกสองในประเทศ โดย 9 วันที่ผ่านมา จำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่ในแอฟริกาใต้เพิ่มสูงขึ้นถึง 100,000 ราย ทำให้จำนวนผู้ติดเชื้อสะสมทะลุ 1 ล้านคนในที่สุด

นักวิทยาศาสตร์ตั้งข้อสังเกตว่า พันธุ์กลาย 501.V2 มีการกลายพันธุ์ที่ตำแหน่ง N501Y คล้ายกับตัวพันธุ์กลายอังกฤษ นอกจากนี้ยังมีการกลายพันธุ์ที่ตำแหน่ง E484K ซึ่งอยู่ที่ส่วนที่ใช้ในการยึดเกาะเซลล์มนุษย์เช่นกัน ทำให้มนุษย์ติดเชื้อง่ายขึ้น

ปัจจุบันพบโควิด-19 พันธุ์กลายนี้มากที่สุดในแอฟริกาใต้ แต่ไม่มีการเปิดเผยจำนวนที่แน่ชัด และยังพบในประเทศอื่น ๆ คือ อังกฤษ ออสเตรเลีย ฟินแลนด์ และล่าสุดคือที่ญี่ปุ่น ซึ่งทำให้ทางการญี่ปุ่นตัดสินใจปิดประเทศทันที เพื่อป้องกันไม่ให้เชื้อโควิด-19 พันธุ์กลายเข้ามาในประเทศมากกว่านี้ รวมถึงอินโดนีเซียที่แม้ยังไม่พบโควิด-19 พันธุ์กลายเลย แต่ก็ตัดสินใจปิดพรมแดนไม่ต้อนรับผู้ที่เดินทางจากต่างประเทศเช่นกัน

อังกฤษพบโควิดกลายพันธุ์เพิ่มอีกชนิด

โควิด-19 พันธุ์กลายไนจีเรีย “P681H”

เป็นโควิด-19 พันธุ์กลายที่ยังไม่เป็นที่พูดถึงมากนัก เนื่องจากยังระบาดอยู่แต่ในไนจีเรีย โดยพบผู้ติดเชื้อเพียง 2 ราย ในเดือนสิงหาคมและตุลาคม ถูกตั้งชื่อว่า “P681H” เป็นการกลายพันธุ์ที่ต่างจากในอังกฤษและแอฟริกาใต้

ศูนย์ควบคุมโรคติดต่อแอฟริการะบุว่า ขณะนี้กำลังอยู่ระหว่างการศึกษาข้อมูลของโควิด-19 พันธุ์กลายตัวดังกล่าว ยังคงมีข้อมูลที่จำกัด แต่พบการกลายพันธุ์ที่ตำแหน่ง 501 คล้ายตัวพันธุ์กลายแอริกาใต้ แต่มีศักยภาพในการกระจายเชื้อต่ำกว่า

หลังจากนี้ยังคงต้องติดตามกันต่อไปว่า เชื้อโควิด-19 เหล่านี้จะพัฒนาตัวไปเรื่อย ๆ จนสร้างความเสียหายให้กับมนุษยชาติได้หรือไม่ หรือจะถูกควบคุมไว้ได้ รวมถึงยังคงต้องมีการปฏิบัติตามมาตรการป้องกันโควิด-19 อย่างสม่ำเสมอ เพราะหากการ์ดตกเพียงนิด เชื้อโควิด-19 อาจเจอช่องโหว่ในร่างกายของเรา จนสามารถกลายพันธุ์ให้แกร่งกว่า ร้ายกว่า น่ากลัวกว่าเดิมได้

อัปเดต สถานการณ์โควิด-19 ล่าสุด 29 ธ.ค. 2563

เปิดใจคนไทยในสหรัฐฯ ได้รับวัคซีนโควิด-19 ไฟเซอร์

36ข่าวแห่งปี : วัคซีนโควิด-19 กับสงครามที่ยังไม่สิ้นสุด

นายกฯ วอนปชช.อย่ารีบฉีดวัคซีนโควิดเอง ชี้ต้องผ่าน อย.ทุกตัวก่อนนำเข้าไทย

เรียบเรียงจาก Aljazeera / Business Insider / Kyodo / Reuters / WHO

TOP ต่างประเทศ
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ