นอกจากไทย ใครอีกบ้างซื้อวัคซีนโควิด-19 “ซิโนแวค”


โดย PPTV Online

เผยแพร่




วัคซีนโควิด-19 “ซิโนแวค” กำลังจะเดินทางมาถึงประเทศไทยในวันที่ 24 ก.พ. นี้แล้ว อัปเดตกันว่า ประเทศใดอีกบ้างที่สั่งซื้อวัคซีนโควิด-19 เจ้าเดียวกับเรา

"บิ๊กตู่" อาสา ฉีดเข็มแรก วัคซีนโควิด-19 แต่ไม่ใช่ล็อตถึงไทย 24ก.พ.!

วัคซีนมาแล้ว "อนุทิน" โชว์ภาพ "ซิโนแวค" ถึงไทย 24ก.พ.ย้อนแผนรับ -​ ฉีดวัคซีนโควิด

“ตู้แช่วัคซีนโควิด-19” ฝีมือคนไทย

“ซิโนแวค” เป็นหนึ่งในบริษัทผู้พัฒนาวัคซีนโควิด-19 สัญชาติจีน โดยวัคซีนที่พัฒนาขึ้นมาใช้ชื่อว่า “โคโรนาแวค” อย่างไรก็ตาม มีหลายประเทศกังขาถึงประสิทธิภาพของวัคซีนโควิด-19 ตัวดังกล่าว เนื่องจากผลการทดสอบทางคลินิกที่ยังไม่ชัดเจน บ้างก็ว่า 50% บ้างก็ว่า 90% ทำให้หลายประเทศยังคงลังเลในการสั่งซื้อวัคซีนโควิด-19 ซิโนแวค

กระนั้น ปัจจุบันมีอยู่ 17 ประเทศที่บรรลุข้อตกลงซื้อขายวัคซีนโควิด-19 ซิโนแวคเป็นที่เรียบร้อย บ้างได้รับวัคซีนและเริ่มฉีดให้กับประชาชนหรือบุคลากรการแพทย์ไปแล้ว บ้างกำลังอยู่ระหว่างการขนส่ง

เริ่มกันที่ จีน ประเทศซึ่งเป็นสถานที่ตั้งของบริษัทซิโนแวค ย่อมไม่พลาดที่จะนำวัคซีนโควิด-19 ที่พัฒนาขึ้นในประเทศของตัวเองมาใช้ ทางหนึ่งคือได้วัคซีนมาใช้อย่างรวดเร็ว แต่อีกทางก็อาจมองว่าเป็นการประกาศศักดาความสามารถของชาติตนก็เป็นได้

แรกเริ่มจีนอนุมัติให้ใช้วัคซีนโควิด-19 ซิโนแวคในกรณีฉุกเฉินเฉพาะกับบุคลากรการแพทย์หรือกลุ่มเสี่ยงเท่านั้น ต่อมาในเดือน ก.พ. 2021 ได้อนุมัติให้ใช้ได้เป็นการทั่วไป แต่ทั้งนี้ไม่มีรายงานที่แน่ชัดว่าจีนเมแดวัคซีนโควิด-19 ซิโนแวคตั้งแต่เมื่อใด และฉีดให้ประชาชนไปแล้วกี่คน ทราบแต่เพียงว่า จำนวนผู้ได้รับวัคซีนโควิด-19 ทั้งหมดในจีนอยู่ที่ราว 40.5 ล้านคน หรือร้อยละ 2.8 ของประชากรทั้งประเทศ

ด้าน บราซิล เป็นหนึ่งในประเทศที่เป็นฐานการทดลองทางคลินิกวัคซีนโควิด-19 ของซิโนแวค ทำให้ได้รับวัคซีนมาลองใช้อย่างรวดเร็วตั้งแต่วันที่ 19 พ.ย. 2563 โดยสั่งมาทั้งสิ้น 120 ล้านโดส แต่เพิ่งได้รับและฉีดให้ประชากรกลุ่มเสี่ยงอย่างเป้นทางการเมื่อวันที่ 18 ม.ค. ที่ผ่านมานี้เอง และไม่พบข้อมูลว่าได้รับวัคซีนล็อตแรกมาเท่าไร และฉีดให้ประชากรไปแล้วกี่คน

บราซิล ยัน วัคซีนโควิด “ซิโนแวค” มีประสิทธิภาพป้องกันไวรัสกลายพันธุ์

อินโดนีเซีย อีกหนึ่งประเทศที่เป็นสถานที่ทดลองทางคลินิกวัคซีนโควิด-19 ไฟเซอร์ ได้รับวัคซีนล็อตแรกอย่างรวดเร็วเช่นกัน ตั้งแต่วันที่ 6 ธ.ค. 2563 โดยสั่งไว้ทั้งหมด 140 ล้านโดส ทำให้กระบวนการจัดส่งต้องแบ่งออกเป็นหลาย ๆ ล็อตและปัจจุบันจัดส่งล็อตที่สี่เรียบร้อยแล้ว มีประชากรมากกว่า 500,000 ได้รับวัคซีนตัวนี้แล้ว

เช่นเดียวกับบราซิลและอินโดนีเวีย ตุรกี ได้รับวัคซีนโควิด-19 ซิโนแวคมาทำการทดลองทางคลินิกตั้งแต่ปลายปี 2563 และนำมาใช้งานจริงกับประชากรกลุ่มเสี่ยงเมื่อต้นปีที่ผ่านมา โดยตุรกีเชื่อมั่นในผลการทดลองทางคลินิกภายในประเทศที่สูงถึง 91% ทำให้สั่งจองไปทั้งสิ้น 100 ล้านโดส ปัจจุบันมีประชากรมากกว่า 3 ล้านคนได้รัวัคซีนโควิด-19 ตัวนี้แล้ว คิดเป็นเกือบครึ่งหนึ่งของผู้ได้รับวัคซีนทั้งหมดในประเทศ

ต่อกันที่ อาเซอร์ไบจาน ปิดดีลไปเงียบ ๆ รู้อีกทีคือได้รับวัคซีนโควิด-19 ล็อตแรกไปตั้งแต่วันที่ 14 ม.ค. 2564 โดยสั่งไว้ 4 ล้านโดส ฉีดให้ประชากนในประเทศไปแล้ว 65,000 คน

ส่วน ชิลี เพิ่งได้รับวัคซีนโควิด-19 ซิโนแวคล็อตแรก 28 ม.ค. 2564 ที่ผ่านมา สั่งจองไปทั้งหมด 20 ล้านโดส ฉีดให้ประชากรไปแล้วถึง 2.87 ล้าน หรือร้อยละ 15 ของประชากรทั้งประเทศ

ต่อมาเป็นประเทศที่เพิ่งได้รับวัคซีนโควิด-19 ซิโนแวคสด ๆ ร้อน ๆ นั่นคือ ฮ่องกงเม็กซิโก และโคลอมเบีย

วัคซีนโควิด-19 ซิโนแวคมาถึงฮ่องกงเมื่อวันที่ 19 ก.พ. โดยฮ่องกงสั่งไว้ 7.5 ล้านโดส มาถึงเม็กซิโกวันที่ 20 ก.พ. สั่งไว้ 10 ล้านโดส และมาถึงโคลอมเบียวันที่ 21 ก.พ. สั่งไว้ 2.5 ล้าน ทั้งสามประเทศเพิ่งได้รับวัคซีนมาจึงยังอยู่ระหว่างเตรียมการฉีดวัคซีนให้ประชาชน

สุดท้ายเป็นกลุ่มประเทศที่ยังไม่ได้รับวัคซีนเลยแม้แต่โดสเดียว ได้แก่

ฟิลิปปินส์ วัคซีนจะมาถึงวันพรุ่งนี้ (23 ก.พ.) สั่งไว้ทั้งหมด 25 ล้านโดส ไทย วัคซีนจะมาถึงวันที่ 24 ก.พ. สั่งไว้ 2 ล้านโดส ล็อตแรกจะส่งมาก่อน 200,000 โดส ส่วนเพื่อนบ้านเราอย่าง มาเลเซีย จะได้รับวัคซีนล็อตแรก 27 ก.พ. จากทั้งหมด 12 ล้านโดส

ส่วน ยูเครน และอุรุกวัย ยังไม่มีกำหนดวันส่งมอบที่ชัดเจน แต่คาดว่าอยู่ระหว่างปลายเดือน ก.พ. ถึงต้นเดือน มี.ค. นี้ และสั่งไว้ปริมาณพอ ๆ กัน คือราว 1.8 ล้านโดส

นอกจากนี้ ยังมีอยู่ 3 ประเทศที่ตกลงสั่งซื้อวัคซีนโควิด-19 ซิโนแวค แต่ยังอยู่ระหว่างการตรวจสอบเพื่อรับรองให้ใช้งานได้ในประเทศ นั่นคือ โบลิเวีย สิงคโปร์ และซิมบับเว

รวมแล้วจึงมีทั้งหมด 17 ประเทศทั่วโลกที่สั่งซื้อวัคซีนโควิด-19 จากซิโนแวค แต่จากการสังเกตเบื้องต้นพบว่า ประเทศในแถบยุโรปจะไม่ค่อยให้ความเชื่อมั่นในวัคซีนตัวนี้ และหันไปเลือกไฟเซอร์ โมเดอร์นา หรือแอสตราเซเนกามากกว่า แม้ยังไม่พบรายงานผลข้างเคียงหรือผลเสียจากการใช้ที่ร้ายแรงก็ตาม

“วัคซีนโควิด-19” ปัญหาการเมืองระดับมหาอำนาจโลก

ส่องวัคซีนโควิด-19 รอบบ้านอาเซียน

เรียบเรียงจาก BBC / Global Times

ภาพจาก AFP

TOP ต่างประเทศ
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ