"สุทธิชัย หยุ่น" วิเคราะห์ การทูตไทย บนจอเรดาร์โลก เมื่อสหรัฐฯมองข้าม ชี้โอกาสกู้แบรนด์การทูตไทย


โดย PPTV Online

เผยแพร่




การทูตไทย บนจอเรดาร์โลก : "สุทธิชัย หยุ่น" วิเคราะห์ ภาพลักษณ์การทูตไทย ที่เปลี่ยนไปในสายตาโลก ไทยกำลังตกขอบจอเรดาร์โลก หรือไม่ 24 เม.ย.นี้ เวทีอาเซียน กู้แบรนด์การทูตไทย!

"สุทธิชัย หยุ่น" วิเคราะห์ "การทูตไทย บนจอเรดาร์โลก"

การทูตไทยต่อประเทศเพื่อนบ้าน

ราชวงศ์อังกฤษร่วมพิธีฝังพระศพเจ้าชายฟิลิป

มีคำเตือนจาก “นายไมเคิล จอร์จ ดีซอมบรี” อดีตเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย ชี้ว่า ดูเหมือนว่าตอนนี้รัฐบาลสหรัฐฯภายใต้การนำของ "ประธานาธิบดี โจ ไบเดน" จะมองข้ามความสำคัญของไทย

"ดีซอมบรี" อ้างว่าเขา อ่านเอกสารภายในว่าด้วยยุทธศาสตรสหรัฐต่ออินโดแปซิฟิก ในนั้นพูดถึง สิงคโปร์ นิวซีแลนด์ เวียดนาม แต่ไม่เอ่ยถึงไทยแลนด์ ทำให้ท่านทูตกังวล

อดีตทูตสหรัฐฯ เกิดความกังวงว่า สหรัฐภายใต้การนำของ "โจ ไบเดน" มองเห็นความสำคัญของประเทศไทยหรือไม่

นั่นก็เป็นหนึ่งในสัญญาณเตือนว่า "สหรัฐ" กำลังมองข้ามพันธมิตรที่เก่าแก่ที่สุดของสหรัฐฯในอาเซียนหรือไม่

ในวันที่ 24 เมษายน 64 จะมีการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียน ณ กรุงจาการ์ตา อินโดนีเซีย ถกเรื่องวิกฤตเมียนมา โดยยังไม่มีคำยืนยันจากรัฐบาลไทยว่า "พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา" นายกรัฐมนตรีของไทย จะไปเองหรือไม่ แต่มีคำยืนยันจากนายกรัฐมนตรี ฮุน เซน ของกัมพูชา ว่าเตรียมฉีดวัคซีนโควิด-19 เข็มที่ 2 เพื่อไปจาการ์ตา

บทบาทของไทยในการทูตระหว่างประเทศนั้นสำคัญยิ่งขึ้นทุกวัน จากกรณีการรัฐประหารในเมียนมา

แต่ถ้ามองดูว่าอเมริกา มองเอเซีย ให้ความสำคัญกับไทยมากน้อยแค่ไหน ต้องดูว่าวันที่ 22 เมษายน นี้ ที่ "ไบเดน" ประชุมออนไลน์ผู้นำ 40 ประทศทั่วโลก ว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ หรือ "ไคลเมท เชนจ์" ประเทศไทยไม่ได้รับเชิญ

บางคนว่าไทยอาจอยู่อันดับ 41 หรือ 42 หรือเปล่า แต่เราไม่ควรรอยู่ระดับต่ำกว่านั้น?!

เมื่ออดีตทูตฯเปิดเผยว่าในเอกสารยุทธศาสตร์ของ "โจ ไบเดน" ไม่มีไทย การผระชุมไคลเมทประชุม "ไคลเมท เชนจ์" ที่สหรัฐฯเป็นตัวตั้งตัวตี ไม่มีไทย

"เราเองก็รู้ ว่าช่วงหลังนี้การทูตไทยหายไปจากจอเรดาร์ของการเมืองระหว่างประเทศหรือไม่ นี่คือคำเตือนที่เราจะต้องกระตือรือร้น อย่างหนักหน่วง"

อดีตทูตสหรัฐฯ ชี้ว่า ไทย คือประเทศแรก ลงนามในข้อตกลงสร้างความเป็นมิตรกับสหรัฐฯ เมื่อปี ค.ศ.1833 ต่อมาในปี ค.ศ. 1954  จับมือสหรัฐฯ ลงนามในสนธิสัญญามะนิลา ก่อตั้งสนธิสัญญา SEATO( ซีโต้ ) ประเทศในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ เป็นปราการ ป้องกันคอมมิวนิสต์ในสมัยนั้น

ไทย กับ สหรัฐ ร่วมซ้อมรบกันมายาวนาน อาทิโคบร้าโกลด์ ที่ยืนยาวจนวันนี้ เราคือพันธมิตรสหรัฐในสงครามเวียดนาม

"วันนี้อย่าให้การทูตไทยเป็นประเทศที่ถูกมองข้าม ทำไมสหรัฐฯมองสิงคโปร์ เวียดนาม นิวซีแลนด์ สำคัญกว่าไทย หรือเขาลืม หรือเพื่อนซี้กันไม่ต้องพูดถึงก็ได้"

"ดังนั้นเมื่อเกิดวิกฤตพม่าเราต้องมองตัวเอง ว่าบทบาทสำคัญยิ่งของไทย เราคือสะพานเชื่อมทางการทูตที่สำคัญมาตลอดในประวัติศาสตร์ ต้องกลับมามีความคึกคักอีกครั้ง อย่าให้เพื่อนอาเซียนกลุ่มนึง อินโดนีเซีย มาเลเซีย สิงคโปร์ ฟิลิปปินส์ มองไทยไม่คึกคักเรื่องสะพานเชื่อมเรื่องการแก้ปัญหาเมียนมา

อย่าให้เพื่อนเราอีกกลุ่ม เวียดนาม กัมพูชา สปป.ลาว มองว่าไทยเราไม่แข็งแกร่งพอในเรื่องเมียนมา"

เราจะต้องแสดงบทบาท ในฐานะเป็นคนกลาง ในฐานะประเทศที่ทุกฝ่ายไว้วางใจ เพราะเราไม่ได้เป็นคู่กรณีใคร

"ตรงนี้แหละ จะทำให้เราไม่หลุดจากจอเรดาร์ของการทูตระหว่างประเทศ ซึ่งสำคัญยิ่ง เพราะว่าถ้าเรามีบทบาท มีภาพลักษณ์ที่ใครๆก็ต้องให้ความสำคัญ ในฐานะประเทศเชื่อมต่อทุกประเทศได้ เป็นประเทศที่สามารถประสาน10ทิศได้ มันไม่เพียงทำให้บทบาททางการเมืองการทูตเราดีขึ้น ยังมองไปสู่ความมั่นคงที่เหนียวแน่นและแม่นยำขึ้น มันมีผลเศรษฐกิจการค้า การลงทุนไทย

ดังนั้นอย่าให้ประเทศไทยเรา การทูตยี่ห้อแบรนด์ประเทศไทยเรา หลุดออกจากจอเรดาร์การเมืองระหว่างประเทศเป็นอันขาด"

ยิ่ง "โจ ไบเดน" ขึ้นมา กำลังเผชิญหน้า กับ  "สี จิ้นผิง " ประธานาธิบดีสาธารณรัฐประชาชนจีน

ยิ่งรัสเซียกับจีน จับมือกันเพื่อคานอำนาจสหรัฐฯ สหภาพยุโรป และแน่นอน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ 

ประเทศไทยเราต้องอยู่ตรงกลาง ที่สามารถเชื่อมโยงทุกประเทศ

พิสูจน์ด้วยครั้งนี้ ในการ ประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียน ที่จาการ์ตา ไทยเราต้องมีข้อเสนอ ที่จะหาทางออกให้เพื่อนบ้านอย่างเมียนมา พิสูจน์กันในสัปดาห์ที่จะถึงนี้เลย!!

TOP ต่างประเทศ
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ