สหรัฐฯ จับตา จรวดจีน “ลองมาร์ช 5บี” ร่วงพื้นโลกควบคุมไม่ได้ คาดตกใส่ นิวยอร์ก-มาดริด-ปักกิ่ง


โดย PPTV Online

เผยแพร่




หน่วยบัญชาการอวกาศของสหรัฐฯ เฝ้าติดตาม จรวดจีน “ลองมาร์ช 5บี” ตกสู่พื้นโลกไร้การควบคุมปลายสัปดาห์นี้ นักฟิสิกส์ คาดอาจตกแถว นิวยอร์ก มาดริด และปักกิ่ง

“จิสด้า” จับตา จรวด “ลองมาร์ช 5บี” โหม่งโลก คาดตกวันที่ 9 พ.ค. เผยโคจรผ่านไทยทุกวัน

นาซาทดสอบจรวดทรงพลังที่สุดในโลกสำเร็จ

"สเปซเอ็กซ์" ปล่อยจรวด ส่ง 4 นักบินนาซา ขึ้นสู่อวกาศสำเร็จ

สำนักข่าวรอยเตอร์ รายงานว่า หน่วยบัญชาการอวกาศของสหรัฐฯ กำลังเฝ้าติดตามชิ้นส่วนขนาดใหญ่ของจรวดจีน ลองมาร์ช 5 ที่กำลังจะพุ่งตกสู่พื้นโลกปลายสัปดาห์นี้ ซึ่งไม่สามารถควบคุมได้  

โดยจรวด ลองมาร์ช 5บี (Long March 5B) ถูกยิงขึ้นจากฐานปล่อยจรวดบนเกาะไหหลำ ประเทศจีน เมื่อวันที่ 29 เม.ย. ที่ผ่านมา เพื่อปฏิบัติภารกิจขนส่งโมดุล Tianhe ซึ่งเป็นตู้พักอาศัยสำหรับลูกเรือ บนสถานีอวกาศจีน นับเป็นการปล่อยจรวดครั้งแรก จากทั้งหมด 11 ภารกิจ ในโครงการสร้างสถานีอวกาศแบบถาวรของจีน

 

 

หน่วยบัญชาการอวกาศของสหรัฐฯ  ระบุว่า ไม่สามารถกำหนดจุดที่แน่นอนของชิ้นส่วนจรวดได้ในอวกาศ จนกว่าจะเข้าสู่ชั้นบรรยากาศโลกคาดว่าประมาณวันที่ 8 พ.ค. นี้

จรวดต้นแบบ “สตาร์ชิป” ของสเปซเอ็กซ์ ลงจอดสำเร็จโดยไม่ระเบิด เป็นครั้งแรก!

 

ด้าน นายโจนาธาน แม็กดาวเวลล์ นักฟิสิกส์ดาราศาสตร์ จากฮาวาด มองว่า เศษซากของจรวดดังกล่าว มีความเป็นไปได้ว่าอาจหลุดรอดจากการเผาไหม้ หลังจากผ่านชั้นบรรยากาศที่ความเร็วเหนือเสียง แต่ก็มีโอกาสตกสู่พื้นทะเล เนื่องจากพื้นที่ 70% ของโลกเป็นน้ำทะเล

ทั้งนี้ แม็กดาวเวลล์ กล่าวต่อว่า แกนหลักของจรวดคาดว่ามีน้ำหนักประมาณ 21 ตัน อาจจะแตกออกเป็นเศษเล็กเศษน้อยก่อนตกลงน้ำ เทียบเท่ากับเครื่องบินขนาดเล็กตก ซึ่งจากเส้นทางวงโคจรปัจจุบัน เศษซากน่าจะตกที่ไหนสักแห่งไปทางเหนือ เช่น นิวยอร์ก มาดริด และปักกิ่ง อาจไปไกลถึงทางตอนใต้ของชิลีและเวลลิงตัน นิวซีแลนด์ หรือที่ใดก็ได้ในระหว่างนี้

แม็กดาวเวลล์  ระบุอีกว่า หลายประเทศส่วนใหญ่ได้พยายามออกแบบยานอาวกาศ ป้องกันการสูญเสียการควบคุม เพื่อไม้ให้เหตุการณ์ซ้ำรอยเมื่อครั้งตอน สถานีอวกาศนาซ่า Skylab หลุดวงโคจรโลกเมื่อปี 1979 และลงจอดในประเทศออสเตรเลีย

“มันทำให้เห็นว่า นักออกแบบยานอวกาศของจีนประมาท ซึ่งพวกเขาไม่ได้คำนึงถึงเรื่องนี้เลย” แม็กดาวเวลล์ กล่าว

 

Photo : STR / AFP

 

TOP ต่างประเทศ
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ