ธนาคารโลกร่วมกับ COVAX เร่งหาวัคซีนให้ประเทศกำลังพัฒนา


โดย PPTV Online

เผยแพร่




ขณะนี้นานาชาติกำลังเร่งฉีดวัคซีนให้ประชาชนเพื่อยุติการระบาดของไวรัสโควิด-19 โดยประเทศที่มีอัตราการฉีดวัคซีนสูงส่วนใหญ่คือประเทศร่ำรวย ขณะเดียวกันประเทศที่มีรายได้ปานกลางและรายได้ต่ำกำลังประสบปัญหาขาดแคลนวัคซีน โดยตอนนี้มีประชากรในประเทศยากจนเพียงร้อยละ 1.1 เท่านั้นที่ได้รับวัคซีนแล้วอย่างน้อยหนึ่งโดส ล่าสุดธนาคารโลกเตรียมสนับสนุนโครงการ COVAX เพื่อกระจายวัคซีนให้ประเทศกำลังพัฒนา

เมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา ธนาคารโลก และ โครงการ COVAX โครงการแจกจ่ายวัคซีนขององค์การอนามัยโลกได้ประกาศว่า ทั้งสองหน่วยงานจะใช้กลไกการจัดหาเงินทุนรูปแบบใหม่เพื่อเร่งจัดหาวัคซีนป้องกันโควิด-19 ให้ประเทศยากจน

กลไกดังกล่าวมีชื่อว่า COVID-19 Vaccines Advance Market Commitment หรือ COVAX AMC ซึ่งเป็นข้อตกลงที่จะช่วยประเทศที่มีรายได้ปานกลางและรายได้ต่ำทั้งหมด 92 ประเทศสามารถเข้าถึงวัคซีนป้องกันโควิด-19 เพิ่มเติม นอกเหนือจากวัคซีนที่ประเทศนั้นๆ ได้รับบริจาคผ่านโครงการ COVAX

1 ใน 4 ของประชากรโลกต้องรอวัคซีนโควิด-19 ไปจนถึง 2022

รู้จักโครงการโคแวกซ์ (COVAX) เสาหลักของการกระจายวัคซีน

โดย COVAX จะสามารถใช้เงินทุนจากธนาคารโลกเพื่อซื้อวัคซีนล่วงหน้าตามความต้องการของประเทศต่างๆ ซึ่งวิธีนี้จะช่วยให้บรรดาประเทศยากจนเห็นภาพชัดมากขึ้นเกี่ยวกับวัคซีนที่มีอยู่ ปริมาณที่มีอยู่ และการกำหนดส่งมอบวัคซีนในอนาคต

นอกจากนั้น กลไกนี้ยังจะช่วยให้ประเทศยากจนได้รับวัคซีนเร็วขึ้น สามารถเตรียมและดำเนินการตามแผนการฉีดวัคซีนให้ประชาชนได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นด้วย

เดวิด มัลพาส ประธานธนาคารโลกเปิดเผยในแถลงการณ์ว่า กลไกนี้จะช่วยให้โครงการ COVAX สามารถจัดสรรวัคซีนให้ประเทศยากจนได้มากขึ้น พร้อมระบุว่า การเข้าถึงวัคซีนป้องกันโควิด-19 ยังคงเป็นความท้าทายสำคัญของประเทศที่กำลังพัฒนาในการป้องกันประชาชนจากผลกระทบทางสุขภาพ สังคม และเศรษฐกิจ ที่เกิดจากการระบาดของโควิด-19

WHO ค้านชาติร่ำรวยสั่งวัคซีนโควิดเข็มสาม

ประธานธนาคารโลกยังระบุว่า นอกจากกลไกดังกล่าวจะช่วยเร่งจัดสรรวัคซีนเพิ่มเติมและช่วยเร่งการซื้อวัคซีนของประเทศต่างๆ แล้ว กลไกนี้ยังจะทำให้การเข้าถึงวัคซีนโปร่งใสมากขึ้น ทั้งในแง่ปริมาณ ราคา และกำหนดการจัดส่ง ซึ่งทั้งหมดคือข้อมูลที่สำคัญสำหรับรัฐบาลของประเทศต่างๆ ในการดำเนินการตามแผนการฉีดวัคซีน

นี่เป็นการจัดหาและขยายเงินทุนเพิ่มในการจัดซื้อวัคซีน

ความกังวลว่าประเทศที่ร่ำรวยกว่าจะกักตุนวัคซีน และทำให้ประเทศยากจนเข้าไม่ถึงวัคซีน ส่งผลให้องค์การอนามัยโลกจึงริเริ่มโครงการโคแวกซ์ ขึ้นมา

เป้าหมายสูงสุดคือให้ทั้งประเทศร่ำรวยและยากจนได้แบ่งวัคซีนกันอย่างเท่าเทียมและเป็นธรรมมากที่สุด

ก่อนหน้านี้ไม่ถึงสัปดาห์ ไทยเป็นเพียง 5 ประเทศในโลกที่ไม่ได้เข้าร่วมในโครงการ ส่วนอีก 4 ประเทศได้แก่ เอริเทรีย, บุรุนดีม คิวบา และเบลารุส แต่ล่าสุดรัฐบาลไทยกลับลำแล้ว

“กานา”รับมอบวัคซีน “โคแวกซ์”ชาติแรกของโลก

โครงการนี้คืออะไร? เหตุใดทั่วโลกจึงเข้าร่วม?

โครงการโคแวกซ์ซึ่งก่อตั้งขึ้นเมื่อเดือนเมษายนปีที่แล้ว ในช่วงที่โลกในรับผลกระทบจากการระบาดระลอกแรกของโควิด และหลายประเทศ หลายบริษัทเริ่มตั้งต้นในการพัฒนาและผลิตวัคซีนโรคระบาดที่รุนแรงที่สุดในรอบ 100 ปีนี้

องค์การอนามัยโลกในฐานะองค์กรด้านสาธารณสุขของโลกเป็นผู้นำ จับมือกับองค์กรพันธมิตรเพื่อวัคซีนที่ก่อตั้งโดยบิลและเมลินดา เกตส์ และกลุ่มพันธมิตรความร่วมมือด้านนวัตกรรมเพื่อรับมือโรคระบาด รวมถึงยังได้รับความช่วยเหลือทางการเงินจากมูลนิธิและธุรกิจชั้นนำต่างๆ

โคแวกซ์ ย่อมาจาก Covid-19 Vaccines Global Access Facility หรือโครงการเพื่อการเข้าถึงวัคซีนโควิด-19 ระดับโลก

สมาชิกมีทั้งหมด 190 ประเทศ มีทั้งประเทศร่ำรวย รายได้ปานกลางและยากจน แต่ละประเทศมีบทบาทและเหตุผลการเข้าร่วมโครงการที่ต่างกัน

สำหรับประเทศร่ำรวย นอกจากเพื่อเป็นส่วนหนึ่งของโลกในการแก้ปัญหาโรคระบาดด้วยการบริจาคทั้งเงินและวัคซีนแล้ว จุดประสงค์ของการเข้าร่วมอีกอย่างหนึ่งคือ เพื่อการมียุทธศาสตร์วัคซีนที่มั่นคง โดยเฉพาะความร่วมมือด้านการวิจัยพัฒนาวัคซีนระหว่างประเทศ เพื่อให้ได้วัคซีนที่หลายหลาย ไม่จำกัดอยู่เฉพาะวัคซีนที่ประเทศของตนพัฒนาหรือผลิตได้เอง

สำหรับประเทศรายได้ปานกลางและยากจน นี่คือโอกาสในการเข้าถึงวัคซีน ทั้งในรูปของการรับบริจาคและการสั่งซื้อด้วยการใช้เงินทุนของตัวเอง

ในกลุ่มประเทศอาเซียนแบ่งเป็น 2 แบบ ที่ใช้วิธีการรับบริจาคคือ

- 1. สั่งจองหรือซื้อวัคซีนด้วยเงินทุนของตัวเองที่เรียกว่า Self Financing Paticiapant หรือ SFP ได้แก่มาเลเซีย สิงคโปร์ และบรูไน

ประเทศเหล่านี้เข้าร่วมโครงการแม้ว่าจะสามารถเจรจาซื้อกับผู้ผลิตได้โดยตรง เนื่องจากเพื่อเป็นหลักประกันขั้นต้นว่า พวกเขาจะมีวัคซีนให้ประชากรตนเองแน่ๆ หากการเจรจาระดับรัฐบาลกับบริษัทผู้ผลิตไม่เป็นผลหรือเกิดอุบัติเหตุที่ทำให้ข้อตกลงล่าช้า

 - 2. ส่วนอีกกลุ่มประเทศอย่าง กัมพูชา อินโดนีเซีย ลาว เมียนมา ฟิลิปปินส์ และเวียดนาม ประเทศเหล่านี้ได้ทำสัญญาจองล่วงหน้า ที่เรียกว่า Advance Market Commitment หรือ AMC

ซึ่งโคแวกซ์จะดูว่า เข้าเกณฑ์ในการรับบริจาคหรือไม่ หากไม่เข้าเกณฑ์ก็ต้องใช้งบประมาณซื้อวัคซีนโควิด-19 ในราคาที่ตกลงได้

การจัดสรรวัคซีนโควิด-19 จะคำนวณตามสัดส่วนประชากรเป็นหลัก ประเมินว่า ประเทศในอาเซียนทั้ง 9 ประเทศที่เข้าโครงการไปก่อนหน้าจะได้รับวัคซีนโควิด-19 ตามจำนวนที่ระบุไว้ นั่นคือ เมียนมา 4,224,000 โดส , ลาว 564,000 โดส , เวียดนาม 4,886,400 โดส,กัมพูชา 1,296,000 โดส ,ฟิลิปปินส์ 5,617,800 โดส , อินโดนีเซีย 13,708,800 โดส,มาเลเซีย 1,624,800 โดส ,สิงคโปร์ 288,000 โดส และบรูไน 100,800 โดส

โดยวัคซีนที่ในโครงการ COVAX เป็นวัคซีนที่ WHO อนุมัติใช้ฉุกเฉิน ทั้ง แอสตร้าเซนเนก้า  ไฟเซอร์ โมเดอร์นา จอห์นสัน แอนด์ จอห์นสัน รวมถึงวัคซีนซิโนฟาร์ม และซิโนแวคจากจีนด้วย อย่างไรก็ตามวัคซีนที่ถูกแจกจ่ายผ่านจากโคแวกซ์โดยส่วนใหญ่เป็นแอสตร้าฯ และไฟเซอร์  (ข้อมูล BBC มิ.ย. 2021 )

สำหรับไทยถือเป็นเป็นประเทศเดียวในอาเซียนที่ไม่เข้าร่วมโครงการโคแวกซ์ โดยก่อนหน้านี้นายอนุทิน ชาญวีรกุล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีสาธารณสุข ระบุว่า ไทยได้เจรจากับโคแวกซ์มาตลอด แต่ไม่อยู่ในเกณฑ์ที่ได้รับวัคซีนฟรี เนื่องจากโคแวกซ์ให้สิทธิแก่ประเทศยากจน 92 ประเทศที่องค์การอนามัยโลกให้การสนับสนุน

แต่ไทยไม่เข้าข่ายเนื่องเป็นประเทศฐานะปานกลาง หากจะร่วมกับโคแวกซ์ ไทยต้องซื้อวัคซีนในราคาแพงกว่าการซื้อกับผู้ผลิตโดยตรง และไม่สามารถเลือกวัคซีนได้ว่าจะรับจากผู้ผลิตรายใด ซึ่งทำให้เกิดความไม่แน่นอน ทั้งชนิด จำนวน และราคา รวมทั้งต้องจ่ายเงินล่วงหน้า

อย่างไรก็ตามหลังถูกกดดันจากสถานการณ์การระบาดที่คุมไม่อยู่ ไทยตัดสินใจกลับลำเข้าร่วมโครงการนี้แล้ว โดยระบุว่าเป็นเข้าร่วมตอนนี้ เพื่อบริหารความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นในปีหน้า

คำถามสำคัญคือ ถ้าเข้าโคแวกซ์แล้ว ไทยต้องเสียเงินเท่าไหร่? และเมื่อไหร่จึงจะได้วัคซีน?

ประเด็นค่าใช้จ่ายในฐานะประเทศปานกลางนั้น ถ้าเข้าร่วมโคแวกซ์มีทางเลือกให้สองทาง คือ 1. ทำสัญญาซื้อขายแบบมีทางเลือก โดยจ่ายค่าวัคซีนในอัตราที่สูงกว่า แต่สามารถเลือกวัคซีนได้

และ 2. ทำสัญญาซื้อขายแบบผูกมัด โดยเป็นการจ่ายค่าวัคซีนในอัตราที่ต่ำกว่า แต่จะไม่สามารถเลือกวัคซีนได้

โดยทั้งสองสัญญากับโคแวกซ์ไม่ได้จำกัดว่าให้ประเทศนั้นๆ ทำสัญญาและรับวัคซีนจากโคแวกซ์เสียงทางเดียว แต่ยังสามารถตกลงกับวัคซีนเจ้าอื่นๆ ได้ เรียกได้ว่า โคแวกซ์เป็นทางเลือกเสริมที่ช่วยประกันการเข้าถึงวัคซีน ซึ่งหากไม่ได้วัคซีนตามนัดก็สามารถขอเงินคืนได้อีกด้วย

ตัวอย่างจากประเทศคือแอฟริกาใต้ จ่ายเงินให้โคแวกซ์ไป 283 ล้านแรนด์ หรือคิดเป็นเงินไทยราว 625 ล้านบาท แต่เพิ่งจะได้รับวัคซีนล็อตแรกจากโคแวกซ์ เมื่อปลายเดือนมิถุนายนที่ผ่านมานี้เอง และได้รับเพียง 1.4 ล้านโดสเท่านั้น จากที่ตกลงไว้ 10.6 ล้านโดสในปีนี้

ความล่าช้าคืออีกหนึ่งปัญหาของโคแวกซ์ ดังนั้นหากถามว่าเมื่อไทยเข้าร่วมแล้วจะได้รับวัคซีนเมื่อใด ยากที่จะตอบได้ เนื่องจากทุกประเทศประสบปัญหาการส่งมอบวัคซีนล่าช้า

อย่างไรก็ตามโคแวกซ์ตั้งกรอบเวลาว่า จะแจกจ่ายวัคซีนให้ได้ 2,000 ล้านโดสภายในปีนี้

เป็นเป้าหมายที่ยังห่างไกล เพราะปัจจุบันข้อมูลของวันที่ 23 กรกฎาคมที่ผ่านมา โครงการแจกจ่ายไปเพียง 138 ล้านโดส ใน 136 ประเทศเท่านั้น

บางประเทศได้วัคซีนเพียงแค่หลักแสน เช่น กัวเตมาลา ได้รับจากโคแวกซ์แล้ว

750,000 โดส

ผลวิจัยใหม่แอนติบอดีลดหลังฉีดซิโนแวค 2 เข็มนาน 6 เดือน

โปรแกรมแข่งขันกีฬา โอลิมปิก 2020 ประจำวันที่ 28 กรกฎาคม 2564

TOP ต่างประเทศ
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ